Category: ความรู้สู่ประชาชน
ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ด้านวิจัย พัฒนา และ บริการ ของ วว. ในเรื่อง นวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ นวัตกรรมอาหารสุขภาพ นวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร ความหลากหลายทางชีวภาพ นวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม นวัตกรรมวัสดุ และ นวัตกรรมหุ่นยนต์และเครื่องจักรกลอัตโนมัติ เพื่อสนับสนุนให้เยาวชน ประชาชน ภาคธุรกิจ ภาคอุตาหกรรม เกิดแนวคิดความรู้ ความเข้าใจ จนสามารถนำไปต่อยอด เพื่อใช้ประกอบการดำเนินชีวิต การประกอบอาชีพ และสร้างนวัตกรรมได้
บัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ (ปีงบประมาณ 68)
สำหรับหน่วยงานราชการ หน่วยงานกำกับของรัฐ หรือ รัฐวิสาหกิจ ที่ต้องมีการจัดซื้อจัดหาครุภัณฑ์ เพื่อใช้ในการสนับสนุนให้การดำเนินงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายสำเร็จลุล่วงนั้น จำเป็นต้องมีการวางแผนงบประมาณประจำปี และจำเป็นต้องรับทราบถึงเกณฑ์ราคามาตรฐานครุภัณฑ์ เพื่อช่วยให้หน่วยงานต่าง ๆ มีกรอบในการจัดซื้อจัดหาครุภัณฑ์ อันนำมาซึ่งความคุ้มค่าในการลงทุน และเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันทางราคา จึงมีการกำหนดเกณฑ์ราคามาตรฐานของครุภัณฑ์ขึ้น ซึ่งเกณฑ์ราคามาตรฐานล่าสุดต่าง ๆ มีดังนี้
- เกณฑ์ราคาพื้นฐาน สำหรับอุปกรณ์และระบบคอมพิวเตอร์ ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประกาศเมื่อ มีนาคม 2566 โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.mdes.go.th/
- เกณฑ์ราคาพื้นฐาน สำหรับกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประกาศเมื่อ มิถุนายน 2564 โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.mdes.go.th/
- อัตราราคางานต่อหน่วย ตามที่สำนักมาตรฐานงบประมาณ สำนักงานประมาณ ประกาศเมื่อ ธันวาคม 2567 โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.bb.go.th/
- บัญชีราคามาตรฐานสิ่งก่อสร้าง ตามที่สำนักมาตรฐานงบประมาณ สำนักงานประมาณ ประกาศเมื่อ ธันวาคม 2567 โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.bb.go.th/
- บัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ ตามที่สำนักมาตรฐานงบประมาณ สำนักงานประมาณ ประกาศเมื่อ ธันวาคม 2567 โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.bb.go.th/
- หลักเกณฑ์ อัตราค่าใช้จ่าย และแนวทางการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี การฝึกอบรม สัมมนา การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การจ้างที่ปรึกษา คชจ.การเดินทางไปต่างประเทศ ตามที่สำนักมาตรฐานงบประมาณ สำนักงานประมาณ ประกาศเมื่อ ธันวาคม 2567 โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.bb.go.th/
- หลักเกณฑ์ และอัตราค่าใช้จ่าย ประกอบการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี ที่เบิกจ่ายในลักษณะค่าตอบแทน ใช้สอย วัสดุ และค่าสาธารณูปโภค ตามที่สำนักมาตรฐานงบประมาณ สำนักงานประมาณ ประกาศเมื่อ ธันวาคม 2567 โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.bb.go.th/
ผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (in vivo)
การทดสอบในสัตว์ทดลอง (in vivo) เป็นขั้นตอนสำคัญในกระบวนการวิจัยและพัฒนา เพื่อ ประเมินความปลอดภัย (Safety) และประสิทธิภาพ (Efficacy) ของผลิตภัณฑ์ ก่อนที่จะนำไปใช้กับมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นตอนการศึกษาพรีคลินิก (Preclinical studies) ซึ่งเป็นข้อกำหนดของหน่วยงานกำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพทั่วโลก เช่น อย., FDA, EMA
กลุ่มผลิตภัณฑ์หลักที่จำเป็นต้องทดสอบในสัตว์ทดลอง:
- ยาและวัคซีน (Pharmaceuticals & Vaccines): กลุ่มที่จำเป็นที่สุด เพื่อทดสอบฤทธิ์การรักษาและประเมินความเป็นพิษในทุกมิติ ก่อนเข้าสู่การทดลองในมนุษย์
- เครื่องมือแพทย์และวัสดุชีวภาพ (Medical Devices & Biomaterials): โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่ต้องฝังหรือสัมผัสร่างกายโดยตรง เช่น ข้อเข่าเทียม รากฟันเทียม เพื่อทดสอบความเข้ากันได้ทางชีวภาพและการกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ
- ผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอาหารเสริมชนิดใหม่ (Herbal Products & Novel Foods): โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่กล่าวอ้างสรรพคุณเชิงรักษา หรือใช้ส่วนประกอบใหม่ที่ยังไม่มีข้อมูลความปลอดภัยเพียงพอ
- สารเคมีในอุตสาหกรรมและการเกษตร (Chemicals & Industrial Substances): เพื่อประเมินความเป็นพิษต่อมนุษย์จากการสัมผัสและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- สารออกฤทธิ์ใหม่และนาโนเทคโนโลยี (New Active Ingredients & Nanotechnology): สารที่พัฒนาขึ้นใหม่ทั้งหมดจำเป็นต้องมีข้อมูลความปลอดภัยครบถ้วน
ตัวอย่างการทดสอบที่ใช้สัตว์
- การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลัน (Acute Toxicity Test): ประเมินผลกระทบจากการได้รับสารในปริมาณสูงเพียงครั้งเดียว
- การทดสอบความเป็นพิษเรื้อรัง (Sub-chronic / Chronic Toxicity Test): ประเมินผลกระทบจากการได้รับสารซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลานาน
- กึ่งเรื้อรัง (Sub-chronic): โดยทั่วไป 28–90 วัน
- เรื้อรัง (Chronic): มากกว่า 90 วัน
- การทดสอบผลต่อระบบสืบพันธุ์และพัฒนาการของตัวอ่อน (Reproductive and Developmental Toxicity Test): ประเมินผลกระทบต่อการเจริญพันธุ์ของพ่อแม่ และพัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์
- การทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา (Pharmacological Activity Test): ประเมินประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ เช่น:
- ฤทธิ์ต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory Test)
- ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด (Antidiabetic Test)
- ฤทธิ์ต้านมะเร็ง (Anticancer Test)
- การทดสอบทางพิษวิทยาเฉพาะทาง (Specialized Toxicological Tests): ประเมินความปลอดภัยในมิติที่เฉพาะเจาะจง เช่น
- การก่อภูมิแพ้ที่ผิวหนัง (Skin Sensitization Test)
- การระคายเคืองต่อผิวหนังหรือดวงตา (Irritation Test)
- ความเป็นพิษต่อระบบภูมิคุ้มกัน (Immunotoxicity Test)
หากคุณต้องการทดสอบผลิตภัณฑ์ด้านเภสัชและพิษวิทยา (Pharmacology & Toxicology) ซึ่งมักจำเป็นต้องมีการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ โดยมีดำเนินการภายใต้แนวทางจริยธรรมที่เข้มงวด และเป็นไปตามหลักการที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) หรือ Thailand institute of Scientific and Technological Research (TISTR) ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร (InnoHerb) ของ วว. ให้บริการและวิจัยทั้งในระดับเซลล์ในหลอดทดลอง (in vitro) และในสัตว์ (in vivo) ณ อาคารเภสัชวิทยาและพิษวิทยา ซึ่งการดำเนินการทั้งหมดอยู่ภายใต้แนวทางด้านจริยธรรมและสวัสดิภาพสัตว์ทดลองอย่างเคร่งครัด พร้อมการรับรองมาตรฐานระดับสากล ได้แก่
- AAALAC International: การรับรองระบบการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ทำให้มั่นใจในกระบวนการที่ถูกต้องตามหลักจรรยาบรรณการใช้สัตว์
- OECD GLP: การรับรองหลักการปฏิบัติที่ดีในห้องปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ และผลการทดสอบที่น่าเชื่อถือ
สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ดร.ศรัญญา เหล่าวิทยางค์กูร โทร 0 2577 9012 หรือ E-mail : tox_service@tistr.or.th
หรืออ่านรายละเอียดการให้บริการเพิ่มเติมของ InnoHERB Testing ที่ https://www.tistr.or.th/Bio-Industries/rdb/herbalproducts/129/