tistrname
วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วว.
พรินต์จากเว็บไซต์ของ วว.  (https://www.tistr.or.th/)
Online e-Book

เปิดอ่านออนไลน์แบบ flip e-book

สนับสนุนโดย   ISSUU
45 read
= เรื่องเด่นจากปกฉบับนี้

ปีที่ 38 ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม-มีนาคม 2566
วารสารเพื่อการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ วว.
Download PDF รายบทความ คลิกที่ชื่อเรื่องนั้นread
เลิฟ@เฟิสต์ไซน์ :การพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม เป็นเทคโนโลยีที่ยั่งยืนของชุมชน
อรุณี ชัยสวัสดิ์
15
คุยเฟื่องเรื่องวิทย์ :Gen.ใหม่ กับการขับเคลื่อนวิจัยในอุตสาหกรรมชีวภาพ วว. บทสัมภาษณ์ ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการด้านวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพ วว.
ศิระ ศิลานนท์ และสลิลดา พัฒนศิริ
49
ดิจิทัลปริทัศน์ :ChatGPT แชตบอตปัญญาประดิษฐ์สนั่นวงการ
ชนะ ปรีชามานิตกุล
40
อินโนเทรนด์ :กลิ่นและรสจากสาหร่ายขนาดเล็ก
มยุรี ตั้งธนานุวัฒน์ และขวัญจิต ควรดี
35
วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต :ก๊อกน้ำกับโลหะหนัก
พิจิตรา เกิดผล ศุภวรรณ โนนสืบเผ่า และอธิปัตย์ รัตนะ
29
เกร็ดเทคโน :การพัฒนาวัสดุต้านทานการสึกหรอและสารหล่อลื่นด้วยการใช้เทคนิคการทดสอบการสึกหรอ
รุจีภรณ์ นาคขุนทด
33
แวดวงวิจัย/บริการ ว และ ท :กระบวนการผลิตหน่อหวายในน้ำเกลือและหน่อหวายในน้ำใบย่านาง ตอนที่ 1
จิตตา สาตร์เพ็ชร์ และมยุรา ล้านไชย
12
นานานิวส์ :วว. วิจัยพัฒนาเครื่องคัดขนาดเมล็ดหมากเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต ประหยัดพลังงาน
กองประชาสัมพันธ์
9
หรือ ดาวน์โหลดทั้งฉบับ pdf47
จากกองบรรณาธิการ
วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วว. ปีที่ 38 ฉบับที่ 1 นี้กำ ลังอยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนฤดูกาล อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ที่มีทั้งลมหนาว ลมฝนพายุ และลมร้อนเข้ามา อยู่ในช่วงไตรมาสเดียวกันนี้ หรือในบางวันถึงกับมีครบทั้งสามฤดูในวันเดียวก็มี แม้จะดูเหมือนรับมือยาก เช้าหนาว สายร้อน เย็นฝน แต่ความที่อุณหภูมิและความชื้นของเขตร้อนเหนือเส้นศูนย์สูตรและติดทะเลแบบประเทศไทยเรานี้ มีช่วงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิแต่ละวัน แต่ละฤดูกาลไม่ถึงกับสุดขั้วเกินไป กลับเป็นผลดีก่อเกิดความหลากหลายทางชีวภาพสูงกว่าอีกหลายพื้นที่บน

โลกนี้ในประเทศไทยจึงมีสถานีวิจัย มีงานวิจัยทางด้านนี้ค่อนข้างมาก อีกทั้งรัฐก็มีนโยบายมุ่งส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นด้านฐานชีวภาพ คำ นึงถึงการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าและหมุนเวียนอย่างยั่งยืนอีกทั้งยังมุ่งรักษ์โลกสีเขียว เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เราจะพัฒนาเทคโนโลยีอย่างไรให้เหมาะสมและยั่งยืนกับชุมชน ติดตามได้ในฉบับนี้

และ วารสาร วว. ฉบับนี้จะนำ ท่านไปรู้จักกับแม่ทัพของกลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพของ วว. ท่านใหม่ เจเนอเรชันใหม่ไฟแรง ในคอลัมน์คุยเฟื่องเรื่องวิทย์ กับบทสัมภาษณ์ท่านรองผู้ว่าการดร.โศรดา วัลภา และฉบับนี้ยังมีบทความจากงานวิจัย อาทิ การพัฒนาวัสดุต้านทานการสึกหรอและสารหล่อลื่นด้วยการใช้เทคนิคการทดสอบการสึกหรอ กระบวนการผลิตหน่อหวายในน้ำเกลือและในน้ำใบย่านางพร้อมบริโภคบรรจุถุงรีทอร์ตเพาช์ เครื่องคัดขนาดเมล็ดหมาก ตลอดจนบทความที่เปิดมุมมองใหม่ๆ เช่น กลิ่นและรสจากสาหร่ายขนาดเล็ก ก๊อกน้ำกับโลหะหนัก หรือเทรนด์เทคโนโลยีดิจิทัลอย่าง Chat GPTล้วนน่าสนใจแน่นฉบับกับวารสาร วว. ที่ยังคงมุ่งมั่นแบ่งปันความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อยู่ควบคู่กับสังคมไทย ก้าวสู่ปีที่ 38 กัน และขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่ติดตามด้วยดีเสมอมา


บรรณาธิการ
editor @ tistr.or.th

วารสาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วว.
เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
จัดทำโดย คณะทำงานวารสารฯ ร่วมกับ สำนักดิจิทัลและสารสนเทศ ให้สิทธิ์อนุญาตคัดลอกหรือเผยแพร่ต่อได้ ภายใต้สัญญาอนุญาต (cc)


Copyright ©2023  วว•TISTR  All rights reserved.
วว. เป็นองค์กรของรัฐ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาประเทศ
โดยไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร. หากพบการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในเว็บไซต์นี้
โปรดแจ้ง วว. แก้ไขโดยเร็วที่สุดต่อไป.   (TISTR is a non-profit organization)
" ipv6 ready
statistic