Lamtakhong Research Station
Thailand Institute of Scientific and Technological Research (TISTR)

หน่วยงานในสังกัด
ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ (ศนก.)
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)  

 สถานีวิจัยลำตะคองจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2541 โดยมีวัตถุประสงค์หลัก

1) เป็นพื้นที่สำหรับดำเนินการวิจัยทางด้านการเกษตร

2) เป็นพื้นที่สำหรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนและสังคม

ภารกิจและเป้าหมายของสถานี ฯ มุ่งวิจัย พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตร ควบคู่ไปกับการสร้างจิตสำนึก   การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านงานวิจัยเพื่อนําไปสู่เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน

สถานที่สำคัญสำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพฤกษศาสตร์การอนุรักษ์พันธุกรรมพืช การเกษตร และท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สำหรับผู้สนใช้บริการห้องประชุมสัมมนาและที่พักพร้อมดูงานในส่วนต่างๆมีนักวิจัยคอยให้คำแนะนำและความรู้อย่างใกล้ชิด ได้แก่

  1. อาคารเฉลิมพระเกียรติ (เรือนกระจกหลังที่ 1)
  2. อาคารเฉลิมพระเกียรติ (เรือนกระจกหลังที่ 2)

อาคารเฉลิมพระเกียรติ ( เรือนกระจกหลังที่ 1) จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติิเนื่องในโอกาสมหามงคลที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา การก่อสร้างอาคารเรือนกระจกมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านพฤกษศาสตร์ กีฏวิทยา การอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และความสัมพันธ์ของแมลงกับการเกษตรและสิ่งแวดล้อม เรียกได้ว่าเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านเกษตรและพฤกษศาสตร์แห่งใหม่ของประเทศไทย สำหรับภายในอาคาร มีส่วนจัดแสดงพันธุ์พืชที่มีความหลากหลาย ประกอบด้วย 6 โซน ได้แก่

1) ไม้หายาก

2) ไม้อิงอาศัยและกล้วยไม้

3) ไม้เขตอบอุ่น ไม้อัลไพน์ ไม้จากยอดดอย

4) ไม้น้ำ

5) ไม้ทะเลทรายและไม้อวบน้ำ

6) พืชวิวัฒนาการต่ำ

ส่วนอาคารเฉลิมพระเกียรติ (เรือนกระจกหลังที่ 2) ประกอบด้วยการจัดแสดง 2 ส่วน คือ ส่วนที่หนึ่งจัดแสดงวิวัฒนาการของพืช ดำเนินการจัดแสดงรูปแบบวิวัฒนาการของพรรณไม้ในทางอนุกรมวิธานพืชสมัยใหม่ ให้ความรู้ความเข้าใจการใช้ประโยชน์พรรณไม้ของมนุษย์ โดยแบ่งพื้นที่การดำเนินงานตามประเภทการใช้ประโยชน์ของพืช ได้แก่ พืชวิวัฒนาการต่ำ/พืชใบเลี้ยงคู่โบราณ พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่ พืชเกียรติประวัติไทย พืชหายากและพืชเฉพาะถิ่น พืชสมุนไพรเครื่องเทศ พืชเครื่องดื่ม ส่วนที่สอง คือ ศูนย์อนุรักษ์แมลงเขตร้อนเป็นพิพิธภัณฑ์ของแมลง มีลักษณะเป็นโดมจัดแสดงทั้งแมลงมีชีวิตที่ปล่อยอิสระ แมลงที่อยู่ในกรง และแมลงที่ถูกสตาฟไว้จัดแสดงเป็นตัวอย่าง ซึ่งเป็นที่น่าตื่นเต้นและดึงดูดใจผู้เข้าชมเป็นอย่างมาก

การดำเนินงานของสถานีวิจัยลำตะคอง

งานบริการของสถานีวิจัยลำตะคอง

สามารถคลิกที่ภาพด้านล่าง เพื่อเข้าไปติดตามกิจกรรมดีๆอีกมากมาย

จากหน้าเพจ สถานีวิจัยลำตะคอง

Visits: 0