tistrname
วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วว.
พรินต์จากเว็บไซต์ของ วว.  (https://www.tistr.or.th/)
Online e-Book

เปิดอ่านออนไลน์แบบ flip e-book

สนับสนุนโดย   ISSUU
563 read
= เรื่องเด่นจากปกฉบับนี้

ปีที่ 36 ฉบับที่ 3 เดือน กรกฏาคม-กันยายน 2564
วารสารเพื่อการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ วว.
Download PDF รายบทความ คลิกที่ชื่อเรื่องนั้นread
เลิฟ@เฟิสต์ไซน์ :ปลดล็อกกัญชาและกัญชง วว.พร้อมสนับสนุนการควบคุมคุณภาพสารสกัด เพื่อการน?ำไปใช้ประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพ
อุบล ฤกษ์อ่ำ
335
คุยเฟื่องเรื่องวิทย์ :การวิเคราะห์สารในกัญชาจากห้องปฏิบัติการชีวเคมีและจุลชีววิทยา บทสัมภาษณ์ นางสุภาพร จิรไกรโกศล ผอ.ห้องปฏิบัติการชีวเคมีและจุลชีววิทยา
ศิระ ศิลานนท์ และสลิลดา พัฒนศิริ
611
ดิจิทัลปริทัศน์ :CANVA สร้างสื่อด้วยมือถือเพียงเครื่องเดียว
กิตติ์ธัญญา บุญยกุลศิโรตม์
284
อินโนเทรนด์ :แบตเตอรี่เพื่อจัดเก็บพลังงานแสงอาทิตย์
กรรณิการ์ จิตตารัตนถาวร
508
วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต :- แอสตาแซนทิน (Astaxanthin) กับประโยชน์ที่มีมากกว่าการต้านอนุมูลอิสระ
- มะม่วงหาวมะนาวโห่ กับการต้านอนุมูลอิสระ

กรองกาญจน์ กิ่งแก้ว
604
เกร็ดเทคโน :3-MCPD and Glycidyl Ester สารปนเปื้อนจากกระบวนการผลิตน้ำมันพืช
ณัฏพรรณ โภคบุตร
298
แวดวงวิจัย/บริการ ว และ ท :งานวิจัยสารชีวภัณฑ์เพื่อเกษตรปลอดภัย
ดร.สุเมธ ภูมิอภิรดี
371
นานานิวส์ :วว. ขับเคลื่อน BCG Model ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีภายในประเทศ จัดตั้งศูนย์เรียนรู้จัดการ PPE ใช้แล้ว & ขยะปลอดเชื้อจากโควิด-19 เปลี่ยนให้เป็นพลังงานไฟฟ้า
กองประชาสัมพันธ์
293
หรือ ดาวน์โหลดทั้งฉบับ pdf330
Editor's talk
วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับที่ 3 ของ ปี พุทธศักราช 2564 มาพบกับท่านผู้อ่าน เหมือนเช่นเคย ในวาระนี้ การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ยังไม่สงบ ประชาคมโลกคงต้องรอเวลาอีกสักระยะ เพื่อรอให้การติดเชื้อไวรัส COVID-19 กลายเป็นโรคประจำถิ่น และคลายความน่ากลัวน้อยลงไป อย่างไรก็ตาม ทุกท่านยังต้องเฝ้าระวังกันต่อไป

สำหรับวารสารฯ ฉบับนี้ กองบรรณาธิการขอเชิญท่านผู้อ่านได้รับรู้สาระเกี่ยวกับ การนำกัญชามาใช้ประโยชน์ ซึ่งถ้านำแนวคิดทางวิชาการมาจับแล้ว ควรจะต้องมีหลักการทางวิทยาศาสตร์มากับควบคุมเพื่อให้การนำไปใช้ประโยชน์มีความปลอดภัย โดยเฉพาะเป็นยา หรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในเชิงสุขภาพต่างๆ บทความแรกที่น่าสนใจ คือ “ปลดล็อกกัญชาและกัญชง: วว. พร้อมสนับสนุนการควบคุมคุณภาพสารสกัด เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพ” บทความนี้ จะให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากกัญชาและกัญชง เพื่อให้ท่านผู้อ่านที่สนใจมีความตระหนัก ในการนำไปใช้ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับชีวิตและสุขภาพอย่างแท้จริง และแนะนำห้องปฏิบัติการของศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร (วว.) ที่รับสกัดสารออกฤทธิ์จากกัญชาและกัญชง ทั้งในกลุ่มของน้ำมันหอมระเหย และสารในกลุ่มแคนนาบินอยด์ (cannabinoids) พร้อมทั้งควบคุมคุณภาพของสารสกัดที่ได้

นอกจากนั้น วว. ยังมีห้องปฏิบัติการชีวเคมีและจุลชีววิทยา ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา (ศทม.) วว. ที่นิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ ที่สามารถตรวจสอบหาปริมาณสารสำคัญ เช่น เททระไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol; THC) สารแคนนาบิไดออล (Cannabidiol; CBD) หรือสารประกอบอื่นในกัญชา ในผลิตภัณฑ์กัญชา/กัญชง และอาหารที่มีส่วนผสมของกัญชา ตลอดจนตรวจหาสารปนเปื้อนที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย เช่น โลหะหนักอย่าง ตะกั่ว สารหนู แคดเมียม การวิเคราะห์สารในกัญชา ฯลฯ ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่าทั้งภาครัฐและเอกชน โดยถูกต้องตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ร.บ. ผลิตภัณฑ์สมุนไพร/ขึ้นทะเบียนตำรับยา และตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข

และยังมีเรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ หลากหลายสาระความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ วว. ยินดีนำเสนอ และยินดีต้อนรับบทความ จากท่านผู้อ่านที่สนใจเช่นกัน... แล้วพบกันใหม่ในฉบับหน้าค่ะ...

นฤมล รื่นไวย์
บรรณาธิการ
editor @ tistr.or.th

วารสาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วว.
เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
จัดทำโดย คณะทำงานวารสารฯ ร่วมกับ สำนักดิจิทัลและสารสนเทศ ให้สิทธิ์อนุญาตคัดลอกหรือเผยแพร่ต่อได้ ภายใต้สัญญาอนุญาต (cc)


Copyright ©2024  วว•TISTR  All rights reserved.
วว. เป็นองค์กรของรัฐ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาประเทศ
โดยไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร. หากพบการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในเว็บไซต์นี้
โปรดแจ้ง วว. แก้ไขโดยเร็วที่สุดต่อไป.   (TISTR is a non-profit organization)
" ipv6 ready