tistrname
วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วว.
พรินต์จากเว็บไซต์ของ วว.  (https://www.tistr.or.th/)
Online e-Book

เปิดอ่านออนไลน์แบบ flip e-book

สนับสนุนโดย   ISSUU
433 read
= เรื่องเด่นจากปกฉบับนี้

ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม-มีนาคม 2564
วารสารเพื่อการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ วว.
Download PDF รายบทความ คลิกที่ชื่อเรื่องนั้นread
เลิฟ@เฟิสต์ไซน์ :ปรุงปุ๋ยปรับดิน ทำอย่างไร ใครช่วยที
กนกอร อำพรายน์ และรจนา ตั้งกุลบริบูรณ์
346
คุยเฟื่องเรื่องวิทย์ :เปิดส่อง ห้องแล็บประเมินความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ กับมาตรฐานระดับโลก บทสัมภาษณ์ นางศิรินันท์ ทับทิมเทศ ผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมสมุนไพร
ศิระ ศิลานนท์ และสลิลดา พัฒนศิริ
371
ดิจิทัลปริทัศน์ :ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เพื่อประโยชน์ขององค์กร
ดร.นฤมล รื่นไวย์
312
อินโนเทรนด์ :โปรตีนจากมันฝรั่ง ช่วยบำรุงรักษากล้ามเนื้อ
วิลาวัลย์ พงษ์พิทักษ์
333
วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต :นวัตกรรมเครื่องสำอางจากกัญชง
วรวรรณ เตียตระกูล
337
เกร็ดเทคโน :เกาะกระแส COVID-19 กับเครื่องมือทางการแพทย์
นุชนภา ตรีไพชยนต์ศักดิ์
295
แวดวงวิจัย/บริการ ว และ ท :แง่คิดการใช้ศัพท์เทคนิควิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์
รศ. ดร.วิชัย ศรีบุญลือ, ดร.ศิโรรัตน์ พิลาวุธ, ผศ. ดร.ณัฐวิทย์ จิตราพิเนตร
304
นานานิวส์ :วว. โชว์ผลงานวิจัยพัฒนา ร่วมขับเคลื่อน BCG Model พลังเศรษฐกิจใหม่ พัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
กองประชาสัมพันธ์
315
หรือ ดาวน์โหลดทั้งฉบับ pdf344
Editor's talk
วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับนี้ จัดทำมาถึงปีที่ 36 ฉบับที่ 1 ด้วยเจตนารมณ์ของกองบรรณาธิการที่มุ่งมั่นจะถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สู่ประชาชน เพื่อสร้างสังคมอุดมปัญญา ใช้ความรู้ที่เป็นระบบและเป็นข้อเท็จจริงในการขับเคลื่อนสังคม โดยเริ่มตั้งแต่การดำเนินชีวิตประจำวันของผู้คน จนถึงระดับการพัฒนาประเทศด้วยความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ ไม่งมงาย หรือหลงเชื่อข้อมูลหลอกลวงได้ง่าย ๆ

ดังนั้น ทางกองบรรณาธิการจึงได้คัดสรรบทความต่าง ๆ มาลงเผยแพร่ในวารสาร เพื่อส่งเสริมความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ ผนวกกับ วว. ก็ต้องการถ่ายทอดผลงานและความสำเร็จที่เราได้มุ่งมั่นดำเนินการเพื่อสังคมไทยตลอดมา ดังเช่น ฉบับนี้ ท่านจะได้พบกับเรื่อง ปรุงปุ๋ยปรับดิน ทำอย่างไร ใครช่วยที ว่าด้วยเรื่องของเทคโนโลยีเกษตรกรรมสร้างสรรค์ อีกเรื่องหนึ่งซึ่งกำลังอยู่ในสมัย คือ เรื่อง นวัตกรรมเครื่องสำอางจากกัญชง และคอลัมน์เกร็ดเทคโน เรื่อง เกาะกระแส COVID-19 กับเครื่องมือทางการแพทย์

ส่วนคุยเฟื่องเรื่องวิทย์ ในฉบับนี้ จัดได้ว่าเป็น Success story ของ วว. ในวาระโอกาสที่ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร (ศนส.) ได้รับการรับรองเป็นหน่วยทดสอบ (Test facility) ตามหลักการ OECD GLP สำหรับการทดสอบทางพิษวิทยา (Toxicity study) ในระดับที่ไม่ได้ศึกษาวิจัยในมนุษย์ (non-clinical safety testing) จากสำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ของตัวอย่างทดสอบประเภทเภสัชภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาสำหรับสัตว์ วัสดุเจือปนอาหาร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เครื่องมือแพทย์ ผลิตภัณฑ์สมุนไพร และสารชีวภัณฑ์ นับเป็นความสำเร็จของ ศนส. ในด้านการยกระดับคุณภาพมาตรฐานอย่างครบวงจร ซึ่งจะมีผลในการที่การทำงานของ วว. จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่ช่วยสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ต่างๆ ภายในประเทศให้มีความเข้มแข็ง สามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานการทดสอบเท่าเทียมต่างประเทศ และลดการกีดกันทางการค้า อีกทั้งยังเพิ่มความมั่นใจให้ผู้บริโภคในการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการทดสอบความปลอดภัยจากห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานสากล

วว. จึงอยากแบ่งปันความสำเร็จนี้ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้ชื่นชม

นฤมล รื่นไวย์
บรรณาธิการ
editor @ tistr.or.th

วารสาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วว.
เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
จัดทำโดย คณะทำงานวารสารฯ ร่วมกับ สำนักดิจิทัลและสารสนเทศ ให้สิทธิ์อนุญาตคัดลอกหรือเผยแพร่ต่อได้ ภายใต้สัญญาอนุญาต (cc)


Copyright ©2024  วว•TISTR  All rights reserved.
วว. เป็นองค์กรของรัฐ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาประเทศ
โดยไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร. หากพบการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในเว็บไซต์นี้
โปรดแจ้ง วว. แก้ไขโดยเร็วที่สุดต่อไป.   (TISTR is a non-profit organization)
" ipv6 ready