การสกัดสารสำคัญจากพืชทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับชนิดของสารสกัด  คุณสมบัติของสารในการทนต่อความร้อน  ชนิดของตัวทำละลายที่ใช้  ซึ่งแต่ละวิธีมีข้อดีและข้อจำกัด  วิธีเหล่านี้ได้แก่

  1. การหมัก (Maceration) เป็นวิธีการสกัดสารสำคัญจากพืชโดยวิธีหมักสมุนไพรกับตัวทำละลายในภาชนะปิด เช่น  ขวดปากกว้าง  ขวดรูปชมพู่ หรือโถถังเสตนเลส  เป็นต้น  ทิ้งไว้  7  วัน  หมั่นเขย่าหรือคนบ่อยๆ  เมื่อครบกำหนดเวลาจึงค่อยๆ รินเอาสารสกัดออก  พยายามบีบเอาสารละลายออกจากกาก (marc)  ให้มากที่สุด รวมสารสกัดที่ได้นำไปกรอง  การสกัดถ้าจะสกัดให้หมดจด  (exhausted) อาจจำเป็นต้องสกัดซ้ำหลาย ๆ ครั้ง วิธีนี้มีข้อดีที่สารไม่ถูกความร้อน  แต่เป็นวิธีที่สิ้นเปลืองตัวทำละลายมาก
  2. การไหลซึม (Percolation) เป็นวิธีการสกัดสารที่สำคัญแบบต่อเนื่องโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า percolation  นำผงสมุนไพรมาหมักกับสารละลายพอชื้นทิ้งไว้  1  ชม.  เพื่อให้พองตัวเต็มที่แล้วค่อยๆ บรรจุทีละน้อยเป็นชั้นๆ ลงใน  percolator เติมตัวทำละลายลงไปในระดับตัวทำละลายสูงเหนือสมุนไพร (solvent  head) ประมาณ 0.5 ซม. ทิ้งไว้  24  ชม.  จึงเริ่มไขเอาสารสกัดออก  โดยค่อยเติมตัวทำละลายเหนือสมุนไพรอย่าให้แห้ง  เก็บสารสกัดจนสารสกัดสมบูรณ์บีบกากเอาสารสกัดออกให้หมด  นำสารสกัดที่เก็บได้ทั้งหมดรวมกันนำไปกรอง
  3. การสกัดด้วย Soxhlet  extractor  เป็นวิธีการสกัดแบบต่อเนื่อง  โดยใช้ตัวทำละลายซึ่งมีจุดเดือดต่ำ  การสกัดทำได้โดยใช้ความร้อนทำให้ตัวทำละลายใน  flask  ระเหยไป  แล้วกลั่นตัวลงใน  thimble  ซึ่งบรรจุสมุนไพรไว้   เมื่อตัวทำละลายใน   extracting  chamber  สูงถึงระดับ  สารสกัดจะไหลกลับลงไปใน  flask  ด้วยวิธีการ  กาลักน้ำ  flask  นี้ได้รับความร้อนจาก  heating  mantle  หรือหม้ออังไอน้ำ   ตัวทำละลายจึงระเหยไป   ทิ้งสารสกัดไว้ใน  flask  ตัวทำละลายเมื่อกระทบ  condenser  จะกลั่นตัวกลับลงมาสกัดใหม่วนเวียนเช่นนี้จนกระทั่งการสกัดสมบูรณ์  การสกัดด้วยวิธีนี้ใช้ความร้อนด้วย  จึงอาจทำให้สารเคมีบางชนิดสลายตัว
  4. Liquid-liquid Extraction  เป็นการสกัดสารจากสารละลายซึ่งเป็นของเหลวลงในตัวทำละลายอีกตัวหนึ่ง  ซึ่งไม่ผสมกับตัวทำละลายชนิดแรก  แบ่งเป็น  2  ชนิดคือ Extractant  lighter  เป็น  liquid-liquid extractor  ซึ่งตัวทำละลายที่ใช้สกัดเบากว่าตัวทำละลายที่ใช้ละลายสาร Reffinate  lighter  เป็น  liquid-liquid  extractor  ซึ่งตัวทำละลายที่ใช้สกัดหนักกว่าตัวทำละลายที่ใช้ละลายสาร
  5. Supercritical  fluid  extraction  ที่จุดซึ่งอุณหภูมิและความดันเหมาะสม  สารที่อยู่ในภาชนะจะไม่กลั่นตัว  (condense)  หรือไม่ระเหย  แต่อยู่ในลักษณะเป็นของเหลว  เรียกสภาวะนี้ว่า  critical  state  เช่น  carbondioxide มี critical state    ที่ 1oC และ 72.9 atm/7.39 MPa ในทางปฏิบัติถ้าสารอยู่เหนือ  critical  temperature  และ  pressure  สารจะอยู่ในสภาวะที่มีคุณสมบัติระหว่างของเหลว และก๊าซ  จึงทำให้สามารถกระจายตัวได้ดี เช่น ก๊าซ และละลายสารได้ดี เช่น ของเหลวจึงทำให้สามารถสกัดสารออกจากพืชได้ดีกว่าปกติ  ก๊าซที่ใช้ในการสกัดสารจากพืชที่ นิยมกัน คือ CO2  ซึ่งเมื่อสกัดสารเรียบร้อยแล้ว  การเปลี่ยนสภาวะอุณหภูมิ และแรงดัน จะทำให้  CO2  เปลี่ยนเป็นก๊าซ  ทิ้งสารสกัดไว้  ข้อดี คือ ทำให้ลดมลภาวะจากตัวทำละลายอินทรีย์  และลดอันตรายที่เกิดจากตัวทำละลายอินทรีย์ต่อสุขภาพ   เช่น   คลอโรฟอร์ม  แต่จะมีข้อจำกัดคือเหมาะสำหรับสารไม่มีขั้ว   การจะเพิ่มความมีขั้วขึ้น  ทำได้โดยเติมเมธานอลลงไปผสมด้วย   นอกจากนี้แล้ว  CO2  ที่บริสุทธิ์ในบ้านเรายังมีราคาแพง   และการสกัดสารสกัดเบื้องต้น  มักมี resin ซึ่งอาจจะตกตะกอน และอุดตันที่ช่องที่สารสกัดจะไหลออกมา   แม้จะมีการแก้ปัญญาโดยใช้ความร้อนช่วยก็ตาม ในทางอุตสาหกรรมจึงจำเป็นต้องออกแบบให้เหมาะสมกับการสกัดสารแต่ละชนิด

เคยสงสัยไหมคะว่า เรามีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารอะไรบ้าง ถ้าอยากรู้ ท่านสามารถเข้าไปอ่านบทความความรู้ดีๆได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี  อาทิ

ลองคลิกดูสิคะ

อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการประหยัดค่าใช้จ่าย และสุขภาพดีไปในตัว สวยด้วย ประหยัดด้วย มาดูกันค่ะ เพียงคลิกที่ ชื่อสูตรตำรับผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหย ก็จะเห็น Clip สื่อความรู้น่ารักๆ

 

 

มะนาวเป็นพืชที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เนื่องจากในน้ำมะนาวนั้นมีกรดซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพซึ่งได้แก่ กรดซิตทริค (Citric acid) กรดมาลิค (Malic acid) และแอสคอร์บิก (Ascorbic acid) นอกจากนี้ยังมีวิตามินซี และอุดมไปด้วยสารฟลาโวนอยด์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของวิตามินซีอีกด้วย น้ำมะนาวจึงเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมในสังคมไทย ดังนั้นการผลิตน้ำมะนาวพร้อมดื่มที่ปิดสนิทจึงเป็นสิ่งที่ควรเรียนรู้ และควรมองการผลิตแบบเป็นองค์รวม เชื่อมโยงกัน ตามแนวทางของศาสตร์พระราชา โดยควรพิจารณาตั้งแต่การเลือกพันธุ์มะนาวที่ให้น้ำเยอะ เทคนิคการปลูกและดูแล ขั้นตอนการผลิต และขั้นตอนการฆ่าเชื้อ เพื่อความสดสะอาดและยืดอายุการเก็บรักษาให้ยาวนานขึ้น

สำหรับการผลิตน้ำมะนาวพร้อมดื่ม ขั้นแรกคือ การทำความสะอาดมะนาว จากนั้นผ่าผลมะนาว นำเมล็ดมะนาวออก บีบน้ำมะนาวลงใส่ในแก้ว เมื่อได้น้ำมะนาวในปริมาณที่ต้องการแล้ว จึงเติมน้ำตาลทรายประมาณ 3 ช้อนโต๊ะ และเทน้ำร้อนลงไปในปริมาณครึ่งถ้วยต่อน้ำมะนาว 1 แก้ว ใส่เกลือป่นครึ่งช้อนชา คนให้เข้ากัน และชิมรสตามชอบ แต่เพื่อให้ได้รสชาติที่กลมกล่อมตามสูตรของศูนย์เชี่ยวชาญอาหารสุขภาพของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ควรควบคุมความหวานที่ 15.5 บริกซ์ ค่าความเป็นกรดร้อยละ 0.46-0.57 และค่าความเป็นเบส 3.2

เมื่อได้น้ำมะนาวที่ปรุงรสแล้ว จึง นำภาชนะบรรจุมาผ่านการฆ่าเชื้อด้วยวิธีWater Spray Retort หรือการฆ่าเชื้อแบบใช้น้ำร้อนสเปรย์ ซึ่งเครื่องนี้เป็นเครื่องที่ใช้งานในระดับโรงงานอุตสาหกรรม เครื่องนี้ มีหลักการทำงานโดยการฉีดพ่นน้ำร้อนผ่านหัวฉีดที่ติดตั้งในตำแหน่งและองศาที่เหมาะสม เพื่อให้การฉีดพ่นเป็นไปอย่างทั่วถึง ซึ่งเครื่องนี้จะเหมาะสำหรับภาชนะบรรจุที่เป็นขวดแก้ว ถุง pouch และบรรจุภัณฑ์ชนิดกึ่งอ่อนตัว

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ผลิตน้ำมะนาวที่ไม่มีเครื่อง Water Spray Retort ก็สามารถทำการพาสเจอร์ไรส์ภาชนะบรรจุได้โดยการนึ่งที่อุณหภูมิ 95 องศาเซลเซียส ที่ความดัน -200 มิลลิเมตรปรอท กับที่ 75 องศาเซลเซียส โดยใช้เวลาในการฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิดังกล่าว 27 วินาที โดยใช้เวลาในการฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิดังกล่าว 27 วินาที ซึ่งจะทำให้ได้จะได้ผลิตภัณฑ์ปลอดจากจำนวนจุลินทรีย์ ยีสต์ และรา และปลอดภัยต่อผู้บริโภคนานถึง 6 เดือน

ภาพประกอบจาก https://kesehatan.babe.news/9e77bf/makan-kulit-telur/

หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องเปลือกไข่ไล่มดมาบ้าง แต่อาจสงสัยว่าเหตุใด เจ้ามดน้อยจึงไม่ชอบเปลือกไข่ จนต้องหนีห่าง  นั่นก็เป็นเพราะเปลือกไข่มีส่วนประกอบคือ แคลเซียมคาร์บอเนต แมกนีเซียมคาร์บอเนต แคลเซียม ฟอสเฟต สารอินทรีย์อื่นๆ  รวมทั้งยังมีกรดกำมะถันอีกด้วย ดังนั้นเมื่อนำไปผ่านการให้ความร้อนเช่น การตากแดด หรือเผาไฟ และจะทำให้แคลเซียมคาร์บอเนตเปลี่ยนไปเป็นแคลเซียมไฮดรอกด์ที่มีฤทธิ์เป็นเบส ทำให้สามารถไล่มดได้นั่นเอง นอกจากนี้กรดกำมะถันในเปลือกไข่เมื่อโดนความร้อนก็จะทำให้มีกำมะถันระเหยออกมาจึงสามารถไล่เพลี้ยไฟได้อีกด้วย

สำหรับวิธีการทำเปลือกไข่ไล่มดก็สามารถทำได้ง่ายๆ โดยวิธีแรก คือ นำเปลือกไข่ไปตากแดดหรือเผาไฟจนแห้ง และนำมาตำให้ละเอียด จากนั้นจึงเติมน้ำเปล่าลงไป ทิ้งไว้ 20-30 นาที และทำไปเทราลงในบริเวณที่มีมดหรือรังของมดโดยตรง วิธีที่สอง คือ นำเปลือกไข่ไปตากแดดหรือเผาไฟจนแห้ง และนำมาตำให้ละเอียด จากนั้นบดผงเปลือกไข่กับดินสอพอง ปูนปลาสเตอร์ และน้ำ ผสมให้เข้ากัน แล้วเติมน้ำส้มสายชูเล็กน้อย จากนั้นนำไปอัดใส่หลอดดูดน้ำที่มีขนาดใหญ่ และนำไปตากแดดจนแห้ง เมื่อแห้งแล้วจึงนำหลอดมาตัดหัวตัดท้าย เท่านี้ก็จะได้ชอล์กไล่มดเก็บไว้ใช้

การไล่มดโดยใช้เปลือกไข่นี้เป็นวิธีที่ประหยัด เพราะทำจากเศษวัสดุเหลือใช้ในครัวเรือน ซึ่งตรงตามแนวทางของศาสตร์พระราชาในเรื่องของการประหยัดนั่นเอง

ดร.ปฐมสุดา อินทุประภา

น้ำพริกเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการบริโภคสูงภายในประเทศ และยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพในการเป็นสินค้าส่งออกอีกด้วย ดังนั้นการผลิตน้ำพริกเพื่อจำน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ จึงควรต้องคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยต่อผู้บริโภคเป็นสำคัญ  และจากการยึดแนวทางการทำงานตามศาสตร์พระราชาในเรื่องของการมีส่วนร่วมนั้น ทำให้ศูนย์เชี่ยวชาญอาหารสุขภาพของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย     (วว.) ได้เข้าไปรับฟังปัญหาการผลิตน้ำพริกเพื่อจำน่ายจากกลุ่มประกอบการ จนทราบถึงปัญหาของการผลิตนั้นเกี่ยวเนื่องกับด้านต่างๆ ได้แก่  ด้านวัตถุดิบ คือ วัตถุดิบมีคุณภาพไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากผู้ขายเป็นรายย่อยหลายแหล่งจึงทำให้วัตถุดิบที่ได้มีคุณภาพต่างกัน หรือการตรวจพบสารตกค้างในวัตถุดิบ ด้านกระบวนการผลิต ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ในด้านกระบวน  การผลิตที่ดี ไม่ทราบถึงมาตรฐานการผลิต หรือไม่ทราบถึงสาเหตุของการปนเปื้อน และส่วนใหญ่จะผลิตโดยใช้แรงงานคน เนื่องจากเครื่องจักรในการผลิตมีต้นทุนสูง รวมทั้งยังประสบปัญหาในด้านบรรจุภัณฑ์ เช่น  บรรจุภัณฑ์มักเปลี่ยนสีเมื่อสัมผัสอากาศ การแตก หักเสียหายในระหว่างการขนส่ง รวมทั้งเกิดการมักเกิดการปนเปื้อนในระหว่าขนส่ง   ด้านการรับรองคุณภาพ ผู้ประกอบการมักขาดความรู้ในเรื่องมาตรฐานคุณภาพ เช่น มผช., มอก., ISO ฯลฯ และค่าใช้จ่ายในด้านคุณภาพส่วนใหญ่มีราคาสูง จึงทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยไม่สามารถรองรับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้

จากปัญหาด้านต่างๆ ที่พบจึงทำให้สรุปได้ว่า ความปลอดภัยในการผลิตน้ำพริก สามารถแยกได้เป็นหัวข้อต่างๆ ดังนี้ คือ

  1. ความสะอาดของวัตถุดิบ ควรรับจากแหล่งผลิตที่ปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี จากนั้นต้องมีการล้างทำความสะอาดอย่างถูกวิธี เพื่อขจัดสิ่งสกปรกและสารปนเปื้อนออก และมีการตัดแต่งหรือเล็มส่วนที่เสียหาย เน่า หรือขึ้นราออก สำหรับน้ำที่ใช้ล้างทำความสะอาดวัตถุดิบควรใช้เฉพาะน้ำที่บริโภคได้เท่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนที่มีผลต่อความปลอดภัยของอาหาร
  2. ความสะอาดของเครื่องมือและสถานที่ในการผลิต เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตควรมีความทนทานและสามารถเคลื่อนย้ายหรือถอดออกได้เอื้อต่อการซ่อมบำรุง การทำ ความสะอาด การฆ่าเชื้อ และการตรวจสอบ นอกจากนี้จะต้องมีการทำความสะอาดและบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันจุลินทรีย์ที่เป็นอันตราย ส่วนสถานที่การผลิต ควรทำจากวัสดุกันน้ำ ผนังและฝากั้น ควรมีผิวหน้าเรียบ สูงพอเหมาะต่อการปฏิบัติงาน พื้น มีความลาดเอียงเพียงพอต่อการระบายน้ำ และทำความสะอาด เพดานและอุปกรณ์ที่ยึดติดอยู่ด้านบน ควรอยู่ในสภาพที่ช่วยลดการเกาะของสิ่งสกปรก ฝุ่น จากกระบวนการผลิต หน้าต่างควรใช้วัสดุที่ทำความสะอาดได้ง่าย สามารถลดการเกาะของสิ่งสกปรก ควรติดมุ้งลวดที่ถอดออกและล้างทำาความสะอาดได้ง่าย เพื่อป้องกันสัตว์และแมลงเข้ามาในสถานที่ผลิต ส่วนพื้นผิวบริเวณที่ต้องสัมผัสกับวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์โดยตรง ควรอยู่ในสภาพดี ทนทานและทำความสะอาดได้ง่าย มีการบำรุงรักษาและฆ่าเชื้ออย่างสม่ำเสมอ และต้องทำจากวัสดุที่เรียบ ไม่ดูดซับน้ำ และไม่ทำปฏิกิริยากับพริกหรือพริกป่น
  3. ความสะอาดของกระบวนการผลิต ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการจะผลิตโดยใช้แรงงานคน เนื่องจากเครื่องจักรในการผลิตมีต้นทุนสูง ดังนั้นวัตถุดิบ ส่วนผสมและภาชนะบรรจุต่างๆ ต้องมีการควมคุมและจัดเก็บอย่างเหมาะสมในระหว่างการผลิต เพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อนในระหว่างการผลิต และในระหว่างการผลิตต้องมั่นใจว่ามีสัตว์หรือแมลงเข้ามารบกวน นอกจากนี้จะต้องมีการใชัวัตถุปนเปื้อนต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น
  4. ความสะอาดของผู้ผลิต ผู้ผลิตต้องมีการล้างทำความสะอาดร่างกายก่อนเข้าสู่กระบวนการผลิต ไม่ไว้เล็บยาวและควรสวมถุงมือที่ผ่านการฆ่าเชื้อในระหว่างการผลิต ต้องสวมหมวกเพื่อป้องกันเส้นผมร่วงไปปนเปื้อนกับผลิตภัณฑ์ เสื้อผ้าที่สวมใส่ต้องมีความสะอาดและกระชับ เพื่อความปลอดภัยในระหว่างการกระบวนการผลิต ล้างมือทุกครั้งก่อนปฏิบัติงาน หลังการใช้สุขา และเมื่อมือสกปรก
  5. ความสะอาดของภาชนะบรรจุ วัสดุที่ใช้ต้องผ่านการฆ่าเชื้อและอยู่ในสภาพ ดี ไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำพริก และมีความเหมาะสม โดยสามารถเก็บรักษาอาหารภายใต้สภาพการเก็บรักษาสะอาดที่ระบุไว้ สามารถป้องกันผลิตภัณฑ์จากการปนเปื้อนและความชื้นได้ ไม่แตกหักเสียหายขณะขนส่ง มีการแสดงฉลากอย่างเหมาะสม

 

ภาพประกอบจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Coconut_water

   มะพร้าวเป็นพืชยืนต้นในวงศ์ปาล์ม (ARECACEAE)  มีชื่อสามัญว่า coconut มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Cocos nucifera L.  มะพร้าวนั้นนิยมปลูกอยู่แทบจะทั่วทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพราะมันถือได้ว่าเป็นพืชสารพัดประโยชน์ เนื่องจากส่วนต่างๆ ของมันสามารถนำมาทำประโยชน์ได้หมด ไม่ว่าจะเป็นการนำผลและน้ำมาทำอาหารคาวหวาน หรือนำลำต้น กะลา ก้าน และใบ มาทำเป็นสิ่งประดิษฐ์หรือของใช้ต่างๆ  แต่ ความสารพัดประโยชน์ของมะพร้าวยังหมดแค่นั้น  เพราะน้ำมะพร้าวจากผลมะพร้าวแก่  ยังสามารถนำมาใช้เป็นอาหารเลี้ยงเชื้อแบคทีเรียบีทีไอ (Bacillus thuringiensis subsp. israelensis: BTI) ซึ่งเป็นศัตรูทางธรรมชาติของลูกน้ำยุงโดยเฉพาะ แต่ไม่เป็นพิษภัยต่อคนและสัตว์อื่นๆ

   การทดลองนำน้ำมะพร้าวมาเพาะเลี้ยงเชื้อแบคทีเรียบีทีไอนี้ ถูกทดลองโดยนักวิทยาศาสตร์หญิงชาวเปรูชื่อ พาลมิลา เวนโตซิลลา (Palmira Ventosilla) เธอได้ทดลองนำวัตถุดิบพื้นเมืองต่างๆ ของเปรูมาทำการเพาะเลี้ยงเชื้อแบคทีเรียบีทีไอแบบง่ายๆ  โดยได้ทดลองกับกล้วย สับปะรด  ธัญพืชต่างๆ รวมถึงมะพร้าว และในที่สุดก็พบว่า มะพร้าวแก่สามารถใช้เพาะเลี้ยงเชื้อแบคทีเรียบีทีไอได้ดีที่สุด โดยเธอได้ทดลองนำเชื้อแบคทีเรียบีทีไอ 100 ตัว ฉีดเข้าไปในผลมะพร้าว ผลปรากฏว่าภายในระยะเวลาเพียงแค่ 3 วัน ปริมาณเชื้อแบคทีเรียบีทีไอได้เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าที่อุณหภูมิห้องปกติ เธอค้น พบว่า ในน้ำมะพร้าวมีสารอาหารที่ดีต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรียบีทีไอ  และผลมะพร้าวเองก็ทำหน้าที่เสมือนถังบ่มเพาะเชื้อชั้นเลิศ จากการผลทดลองนี้ พาลิมาจึงได้ นำแบคทีเรียที่เพาะในผลมะพร้าวไปทดลองฆ่าลูกน้ำยุงในบ่อ ซึ่งมันก็ผลที่ได้น่าพอใจ อย่างยิ่ง เพราะเชื้อที่เพาะในผลมะพร้าวสามารถฆ่าลูกน้ำยุงได้หมดภายในครั้งเดียว อีกทั้งยังสามารถควบคุมการเกิดใหม่ของลูกน้ำยุงได้นานถึง  45 วันอีกด้วย จากผลการทดลองที่ประสบความสำเร็จดังกล่าว พาลมิลาจึงได้ทำการประดิษฐ์ชุดกำจัดลูกน้ำยุงพร้อมใช้จากผลมะพร้าวขึ้น ซึ่งวิธีใช้ก็ไม่ยาก เพียงแค่ผ่าผลมะพร้าวและโยนลงบ่อ 2-3 ลูก ก็สามารถควบคุมปริมาณยุงได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์อื่นๆ  ในบ่อ

 แม้นักวิทยาศาสตร์หญิงท่านนี้จะไม่ใช่คนไทย แต่การทดลองของเธอก็นับเป็นตัวอย่างที่ดีในการประยุกต์ใช้วัสดุของใช้จากธรรมชาติมาแก้ไขปัญหาแบบประหยัดไม่ยุ่งยาก และมีประสิทธิภาพ ซึ่งก็ตรงกับศาสตร์พระราชาในเรื่องของการทำให้ง่ายนั่นเอง

อ้างอิงจาก หนังสือเทคโนโลยีสำหรับชาวชนบท

📌ติดตามเรื่องสาระความรู้เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์📦ที่เหมาะสมกับอาหารประเภทต่างๆ 🥡🍯🍿🍦🍫🍟ได้ที่นี่👇👇👇ค่ะ

📌การผลิตอาหาร🥙🥗🥩ที่ดีตามหลัก GMP ต้องทำอย่างไรติดตามได้จาก Clip👇👇นี้ค่ะ

📌เทคโนโลยีการยืดอายุอาหาร 🥗🍯🥩🍟 มีอะไรบ้างนะ 🤔หาคำตอบได้จากคลิปด้านล่างนี้เลยค่ะ 👇👇👇