กระบวนการรมควันลำไยด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์

      ลำไยเป็นผลไม้ที่นิยมปลูกมากทางภาคเหนือของประเทศไทย เช่น จังหวัดลำพูด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น โดยมีปริมาณการส่งออกลำไยสดในปี 2559 จำนวน 25,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 1,200 ล้านบาท โดยมีตลาดนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ไต้หวัน, ฮ่องกง และ สิงคโปร์  เนื่องจากลำไยเป็นผลไม้ที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้น เน่าเสียได้ง่ายในระหว่างการขนส่ง ทั้งนี้สัดส่วนการส่งออกอยู่ในรูปลำไยสด 59% ลำไยแห้ง 13% และลำไยกระป๋อง 28%   เพื่อแก้ปัญหาลดการเน่าเสียระหว่างการขนส่งของผลลำไยสด สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว,) ได้ทำการศึกษาและวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อยืดอายุลำไยสด โดยการรมควันด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมโรคเน่าหลังการเก็บเกี่ยว โดยการรมควันในอัตราที่เหมาะสมจะสามารถป้องกันการเน่าเสียที่เกิดจากเชื้อรา ช่วยยับยั้งปฏิกิริยาการเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลของเปลือกได้ โดยลำไยที่ผ่านการรมควันจะมีสีเปลือกที่สวยงาม และอายุในการวางจำหน่ายนานยิ่งขึ้น

      วว. ได้ออกแบบพัฒนาห้องรมควันลำไย ดังนี้

  • พัฒนาระบบกำจัด SO2 ที่เหลือทิ้ง เพื่อแก้ปัญหาการปล่อย SO2 ออกสู่บรรยากาศ
  • พัฒนาระบบผลิต SO2 ที่สามารถควบคุมปริมาณความเข้มข้นของ SO2 ที่ใช้ในห้องรมควันอย่างมีประสิทธิภาพ
  • พัฒนาห้องรมควันลำไยแบบต่อเนื่อง ที่มีระบบลำเลียงลำไยเข้าห้องรมควันอย่างต่อเนื่องขณะที่ภายในห้องมี SO2 รออยู่ก่อนแล้ว และระยะเวลาที่ลำไยอยู่ภายในห้องรมควันคงที่ มีการควบคุมปริมาณ SO2 ค้างอยู่ในเปลือกและเนื้อลำไยไม่เกินตามที่กำหนด ก่อนออกจากห้องรมควันจะมีระบบดูดอากาศ ทำการดูด SO2 จากภายในตะกร้าที่บรรจุลำไยไปบำบัด ส่วน SO2 ที่อยู่ภายในห้องจะถูกนำไปใช้รมควันลำไยชุดใหม่ที่เคลื่อนที่เข้ามาแทนชุดเก่าที่ออกไปแล้ว ทั้งนี้ถ้าความเข้มข้น SO2 ภายในห้องทดลองลดลง จะมีระบบทำการผลิต SO2 เข้ามาทดแทน เพื่อให้มีความเข้มข้นตามที่ต้องการ

      ทั้งนี้ระบบห้องรมควันแบบต่อเนื่องนี้ จะสามารถควบคุมปริมาณ SO2 ที่ตกค้างที่เปลือกและเนื้อลำไยได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังช่วยลดปริมาณ SO2 ที่ต้องระบายออกสู่บรรยากาศภายนอกอีกด้วย

Master of Sciences : Computer Information Systems

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*