พื้นที่ป่าไม้ ทั้งส่วนที่เป็นป่าธรรมชาติในพื้นที่อนุรักษ์และป่าชุมชนนับว่ามีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมชนบทและชุมชนในท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ในพื้นที่โดยรอบและบริเวณใกล้เคียงพื้นที่ป่าไม้ เนื่องจากชาวบ้านอาศัยพื้นที่ป่าในการเก็บหาอาหาร เช่น เห็ดป่า และ พืชผักที่เจริญในป่า สำหรับบริโภคในครัวเรือนและถ้าหากมีปริมาณมากก็จะนำไปขายเพื่อสร้างรายได้ โดยในช่วงฤดูฝนผลผลิตจากป่าที่เป็นแหล่งอาหารและสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้านได้ไม่น้อย คือ เห็ดป่า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเห็ดไมคอร์ไรซา เช่น เห็ดเผาะ เห็ดตับเต่า เห็ดระโงก เห็ดตะไคล เห็ดน้ำหมาก เห็ดน้ำแป้ง เห็ดถ่าน เป็นต้น ซึ่งการเจริญและการเกิดดอกของเห็ดไมคอร์ไรซานี้จำเป็นต้องพึ่งพากับต้นไม้ชนิดที่เป็นพืชอาศัย (Host) โดยความสัมพันธ์ระหว่างเห็ดป่ากับต้นไม้นี้เป็นแบบพึ่งพาเกื้อกูล (Symbiotic) ส่วนในฤดูแล้ง อาหารป่าที่หาได้และสร้างรายได้หลักให้แก่ชาวบ้าน ได้แก่ ผักหวานป่าและไข่มดแดง เป็นต้น อย่างไรก็ตามปัจจุบันสถานการณ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกๆ ปี ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของสรรพชีวิตที่อาศัยเกื้อกูลกับพื้นที่ป่าไม้ รวมทั้งมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งผลกระทบดังกล่าวส่งผลเกี่ยวเนื่องไปถึงการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและ ผลผลิตอาหารป่าที่ลดน้อยลงและมีอย่างจำกัด ไม่สามารถก่อให้เกิดความมั่นคงด้านอาหารและรายได้ของชุมชน
สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหาและลดผลกระทบดังกล่าว ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด แนวทางหนึ่ง ได้แก่ การส่งเสริมการปลูกป่าและพืชเศรษฐกิจและการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ร่วมกับการเพาะเห็ดป่าไมคอร์ไรซา เพื่อสร้างแหล่งอาหารและ ก่อให้เกิดรายได้จากการขายผลผลิตที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของเกษตรกร ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง (ช่วงปีที่ 2 เป็นต้นไป) และในระยะยาว ช่วยให้ชาวบ้านเข้าใจและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่เชิงอนุรักษ์ ช่วยลดปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ ไฟป่า หมอกควัน ตลอดจนลดการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช เป็นการช่วยลดปัญหาโลกร้อน
Team Leader
ดร. สุจิตรา โกศล
(Sujitra Kosol, Ph.D.)
- Tel: +66 577 9458
- E-Mail: sujitra@tistr.or.th
Team Members
ว่าที่ ร.ต.วรยศ สว่างชม
สุนารี วังลึก
Activity Gallery
Partner & Funding
Visits: 141