สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ได้จัดทำเผยแพร่เนื้อหา พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 บน ระบบ E-Learning ของสำนักงานฯ ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้

บทที่ 1 บททั่วไป
ข้อ 1 หลักการ ของ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการฯ
ข้อ 2 นิยาม ตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการฯ
ข้อ 3 องค์กร ตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการฯ พ.ศ. 2540

บทที่ 2 นิยามตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการฯ
ข้อมูลข่าวสารที่ต้องเปิดเผยเป็นการทั่วไป มาตรา 7 และ มาตรา 9

บทที่ 3 การขอข้อมูลข่าวสารทั่วไป
ข้อ 1 การขอข้อมูลข่าวสาร ตามมาตรา 11
ข้อ 2 ระยะเวลาพิจารณาคำขอข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 11 ประกอบมติคณะรัฐมนตรี
ข้อ 3 การแจ้งสิทธิตามมาตรา 12 และการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่กำหนดชั้นความลับ
ข้อ 4 การใช้สิทธิร้องเรียนตามมาตรา 13 และ 33
ข้อ 5 ระดับตามตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจมีคำสั่งให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร

บทที่ 4 ข้อมูลข่าวสารที่ห้ามหน่วยงานเปิดเผย หรือ อาจปฏิเสธการเปิดเผย
ข้อ 1 ข้อมูลข่าวสารของราชการที่ไม่ต้องเปิดเผยโดยเด็ดขาด
ข้อ 2 ข้อมูลข่าวสารของราชการที่ไม่ต้องเปิดเผยโดยมีดุลพินิจ
ข้อ 3 การคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร มาตรา 17
ข้อ 4 สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
ข้อ 5 ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
ข้อ 6 สิทธิของเจ้าของข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล

บทที่ 5 เอกสารประวัติศาสตร์ มาตรา 26
เอกสารประวัติศาสตร์คืออะไร และต้องปฏิบัติอย่างไร

บทที่ 6 บทกำหนดโทษ
บทลงโทษใน พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการฯ พ.ศ. 2540 มีอะไรบ้าง

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ

ดร.ปฐมสุดา อินทุประภา และ วรวิทย์ อินทร์กง

กองพัฒนาและจัดการความรู้องค์ (กจค.)

การเตรียมตัวให้เด็กๆ ในการเรียนทางไกลผ่านทีวี หรือออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ตนั้น พ่อแม่อาจทำได้ตามนี้

ปัจจุบันวิถีชีวิตในโลกเราได้เปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างหลังจากการระบาดของโควิด19 ซึ่งทำให้เกิดวิถีใหม่ที่ที่เรียกว่า “New Normal”ขึ้น โดยคณะกรรมการบัญญัติศัพท์นิเทศศาสตร์ราชบัณฑิตยสภา ระบุว่าราชบัณฑิตยสภาได้บัญญัติศัพท์ “New Normal” หมายถึงความปกติใหม่, ฐานวิถีชีวิตใหม่ หมายถึงรูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างใหม่ที่แตกต่างจากอดีต ซึ่งนั่นก็เกิดขึ้นกับการศึกษาไทยในตอนนี้เช่นเดียวกัน เพราะเด็กๆ ไม่สามารถไปเรียนที่โรงเรียนได้เหมือนปกติ ทำให้การเรียนทางไกลหรือเรียนออนไลน์เป็นทางเลือกใหม่ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แล้วเราจะเตรียมตัวบุตรหลานของเราอย่างไรให้พร้อมกับการเรียนออนไลน์ที่เกิดขึ้น

  1. จัดเตรียมพื้นที่เงียบ สงบ มีอุณหภูมิที่เหมาะสมให้เด็กอย่างเป็นสัดส่วน เพื่อให้เด็กได้มีสามธิในการเรียน หากไม่มีห้องส่วนตัวก็อาจจัดมุมใดมุมหนึ่งของบ้านให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมโดยไม่ให้มีเสียงรบกวนและมีโต๊ะเก้าอี้ให้เด็กๆ ได้นั่งทำการบ้านอย่างเหมาะสม
  2. จัดตารางเรียนและทำตามตารางอย่างเคร่งครัด หากเป็นการเรียนทางไกลผ่านทีวี ตามตารางการออกอากาศของรายวิชาต่างๆ ก็สามารถจัดตารางเรียนตามการออกอากาศในแต่ละวันได้ แต่หากเป็นการเรียนออนไลน์ด้วยตนเอง พ่อแม่ก็จำเป็นที่จะต้องเลือกเวลาที่เหมาะสมให้แก่เด็กว่าควรจะเรียนวิชาใดช่วงเวลาใด และกำหนดชั่วโมงเรียนในแต่ละวิชาให้แก่เด็กๆ โดยไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมงต่อรายวิชา เพราะอาจทำให้เด็กหมดความสนใจ หรือขาดสมาธิ
  3. ฝึกทักษะในการใช้เทคโนโลยี พ่อแม่ควรที่จะฝึกทักษะในการใช้งานคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ให้แก่เด็กๆ เพื่อให้เด็กๆ เรียนรู้ในการใช้โปรแกรมต่างๆ ในการเรียนการสอน ซึ่งนั่นจะทำให้เด็กมีความคล่องตัวในการเข้าถึงสื่อการเรียนการสอนแบบต่างๆ ในโลกยุคดิจิทัล นอกจากนี้ยังควรให้เด็กเรียนรู้ถึงการใช้โปรแกรมที่เกี่ยวกับการจัดตารางนัดหมาย การประชุมออนไลน์ การแชร์หน้าจอ การนำข้อมูลขึ้น cloud drive ซึ่งโปรแกรมต่างๆ เหล่านี้ จะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่เด็กๆ และสามารถทำให้ช่วยให้พ่อแม่และครูติดตามการเรียนของเด็กๆ ได้อีกด้วย
  4. ให้เด็กๆ รวมกลุ่มเรียนกับเพื่อน การเรียนออนไลน์คนเดียวที่บ้านอาจทำให้ลูกเบื่อหน่าย ดังนั้นพ่อแม่ควรจะสนับสนุนให้ลูกเรียนไปพร้อมๆ กับกลุ่มเพื่อน โดยอาจให้ลูกปรึกษากับเพื่อน เพื่อจัดตารางเรียนให้ตรงกัน เลือกสื่อการเรียนแบบเดียวกัน และเรียนไปพร้อมกัน โดยในระหว่างเรียนอาจใช้ social media ในการสื่อสาร และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือสอบทานความเข้าใจในบทเรียนนั้นๆ ไปด้วยกัน ทั้งนี้พ่อแม่ควรคอยดูแน่ใจว่า การใช้ social media ในการสื่อสารไม่กลายเป็นการทำลายสมาธิของเด็กในระหว่างเรียน

ทั้ง 4 ข้อนี้ คือ สิ่งที่จะช่วยในการเตรียมพร้อมให้แก่บุตรหลานของเราในการเรียนออนไลน์ ในฐานวิถีชีวิตใหม่ยุคโควิด19 อย่างไรก็ตาม เราจะต้องไม่ลืมว่า ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ เป็นอะไรที่ทำให้เราทุกคนต้องปรับตัว และเราทุกคนต้องอยู่กับมันให้ได้ โดยเราจำเป็นต้องเปิดใจในการเรียนรู้ที่จะยืดหยุ่นไปกับทุกสถานการณ์ เพื่อให้เราใช้ชีวิตบนฐานวิถีชีวิตใหม่ได้อย่างมีความสุขไปกับบุตรหลานของเรา

ยุคนี้ต้องมีตัวอักษรย่อนำหน้าคำต่างๆ ให้ได้ฉงนสงสัยกันเรื่อยมา ตั้งแต่ e- (electronic)  m- (mobile)  แล้วก็มาถึงยุคของ u- กันบ้าง

อันที่จริงอาจจะไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ซะทีเดียว แต่เหมือนการผสมระหว่าง e- และ m- เข้าด้วยกัน เอามาปั่นเทรวมในแก้ว แลัวตกแต่งเพิ่มเติมให้ดูดีทันสมัยเป็นที่นิยมในสังคมก็ว่าได้ ด้วยเทคโนโลยีที่วิ่งไวเหมือนติดจรวดเช่นทุกวันนี้ด้วยแล้ว ยิ่งเอื้ออำนวยให้ u-Learning ได้ออกมาแนะนำตัวแก่ผู้รักการเรียนรู้ให้ได้ทำความรู้จักกัน

หลายคนรู้จักและคุ้นเคยกับ e-Learning มาแล้วว่าเป็นการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอกนิกส์ ซึ่งพัฒนารูปแบบต่อเนื่องมาจาก WBI (Web-based Instruction) โดยนำความสามารถของเทคโนโลยีด้านเครือข่ายมาใช้เพื่อการเรียนรู้ แต่ในช่วงแรกการเรียนแบบนี้จะเรียนกันในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อต่ออินเตอร์เน็ตภายในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย

ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาขึ้นอีกขั้น ก็ถึงยุคของ m- ได้ออกมาแนะนำตัวให้ใครต่อใครได้รู้จักกันในทางการศึกษาก็คือ m-Learning นั่นเอง เหตุที่คุณ m- ช่วยให้การเรียนรู้ของเรากว้างขึ้นได้นั้น ก็เพราะว่านอกจากการเรียนรู้ในห้องเรียนผ่านเครือข่ายแล้ว หากเพียงคุณสามารถนำอุปกรณ์เคลื่อนที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ติดตัวคุณไปเพื่อศึกษาและค้นคว้าให้เกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ เราก็เรียกว่า m-Learning แล้ว โดยมากเรามักมองว่า m- น่าจะหมายถึงการเรียนผ่านมือถือ ซึ่งก็คือโทรศัพท์มือถือ แต่แท้จริงแล้วในยุคของ m- อาจจะหมายรวมถึง โทรศัพท์มือถือ PDA  LAPTOP ที่ทำงานผ่านเครือข่ายแบบไร้สาย รถสอนหนังสือที่เพียบพร้อมไปด้วยอุปกรณ์ที่สามารถเคลื่อนที่ไปให้ความรู้ในที่ต่างๆ หรือแม้กระทั่งหนังสือที่เรานำติดตัวไปอ่านก็ยังถือว่าเป็น m-Learning ได้เช่นกัน เพียงเท่านี้ก็น่าจะเพียงพอกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต….แล้วทำไมต้อง u-Learning

u ตัวนี้ก็คือ Ubiquitous ที่เคยกล่าวมาในบทความก่อนหน้านี้ นั่นก็คือ การมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง ดังนั้น u-Learning คือการที่เราสามารถที่จะเรียนรู้ผ่านอุปกรณ์ต่างๆ ได้ทุกที่ทุกเวลา โดยใช้เทคโนโลยีเครือข่ายทั้งแบบไร้สายและใช้สายในการเชื่อมต่อเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้นั่นเอง

“ขอสงวนสิทธิสำหรับพนักงาน วว. เท่านั้นค่ะ”

หลักสูตรการพัฒนาเว็บไซต์ โดยใช้ CMS ที่ชื่อ Joomla นั้นประกอบด้วยบทเรียน 3 ระดับ คือ

1. Joomla! Tunner สำหรับการจัดการ บริหารข้อมูลเว็บไซต์ และการปรับแต่ง Joomla CMS -> คลิกที่นี่เพื่อเข้าสู่บทเรียน

2. Joomla! Template Design สำหรับการออกแบบเทมเพลทสำหรับการใช้งานกับระบบ Joomla CMS -> คลิกที่นี่เพื่อเข้าสู่บทเรียน

3. Joomla! Advance for Intranet Solution สำหรับการปรับแต่งระบบการทำงาน Joomla CMS ขั้นสูง -> คลิกที่นี่เพื่อเข้าสู่บทเรียน

จัดทำคู่มือและหลักสูตรโดย บริษัท ดิจิตอลนัมเบอร์วันจำกัด

เป็นหลักสูตรที่แนะนำการนำเอา OpenOffice.Org ซึ่งเป็นชุดโปรแกรม Open Source Software ที่ทำงานทางด้านสำนักงานเหมือนชุดโปรแกรม Microsoft Office โดยบทเรียนประกอบด้วยการใช้ Writer ซึ่งทำงานเหมือน Word, Impress ซึ่งทำงานเหมือน PowerPoint, Calc ซึ่งทำงานเหมือน Excel, Math และ Base ซึ่งทำงานเหมือน Access คลิกที่นี่เพื่อเข้าสู่หลักสูตร

จัดทำโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)