มะขามหวานสีทอง มีถิ่นกำเนิดที่ตำบลหล่มเก่า อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ มีลักษณะประจำพันธุ์ คือ ฝักกลม มีทั้งโค้งมากน้อยไปจนถึงเกือบตรง เนื้อสีน้ำตาลทอง รถชาติหวาน เปลือกหนา เนื้อหนา เมล็ดโต โดยมีมูลค่าการส่งออกราว 500 – 800 ล้านบาท

      ทั้งนี้ปัญหาที่มักพบโดยทั่วไป คือ โรคราจุดสีดำ มักเกิดช่วงฤดูฝน และโรคราแป้ง มักเกิดช่วงฤดูปลายฝนต้นหนาว สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ได้ทำการศึกษาและทดลองนำการประยุกต์ใช้ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์มาเพื่อช่วยยืดอายุการเก็บรักษาผลมะขามหวานพันธุ์สีทองหลังการเก็บเกี่ยว โดยมีวิธีการทดลอง ดังนี้

  • คัดเลือกมะขามหวานพันธุ์สีทอง
  • ชั่งน้ำหนักคัดแยก
  • ดูด SO2 ความเข้มข้น 5%,10%, 20%
  • ปิดฝาทิ้งไว้ตามเวลาที่กำหนด
  • ทำการไตเตรทหาปริมาณ SO2
  • เก็บรักษาในกล่องนาน 75 วัน

      จากการทดลองพบว่า มะขามหวานพันธุ์สีทองที่รมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์ดีที่สุด โดยคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวมีสภาพความเสียหายน้อยที่สุด หลังจากทำการทดลองครบ 75 วัน และเมื่อเก็บรักษาต่ออีก 20 วันพบว่า ความชื้น รสชาติ กลิ่น สี เชื้อรา มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมน้อยที่สุดตั้งแต่วันแรกที่เก็บรักษา

 

      ลำไยเป็นผลไม้ที่นิยมปลูกมากทางภาคเหนือของประเทศไทย เช่น จังหวัดลำพูด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น โดยมีปริมาณการส่งออกลำไยสดในปี 2559 จำนวน 25,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 1,200 ล้านบาท โดยมีตลาดนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ไต้หวัน, ฮ่องกง และ สิงคโปร์  เนื่องจากลำไยเป็นผลไม้ที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้น เน่าเสียได้ง่ายในระหว่างการขนส่ง ทั้งนี้สัดส่วนการส่งออกอยู่ในรูปลำไยสด 59% ลำไยแห้ง 13% และลำไยกระป๋อง 28%   เพื่อแก้ปัญหาลดการเน่าเสียระหว่างการขนส่งของผลลำไยสด สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว,) ได้ทำการศึกษาและวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อยืดอายุลำไยสด โดยการรมควันด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมโรคเน่าหลังการเก็บเกี่ยว โดยการรมควันในอัตราที่เหมาะสมจะสามารถป้องกันการเน่าเสียที่เกิดจากเชื้อรา ช่วยยับยั้งปฏิกิริยาการเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลของเปลือกได้ โดยลำไยที่ผ่านการรมควันจะมีสีเปลือกที่สวยงาม และอายุในการวางจำหน่ายนานยิ่งขึ้น

      วว. ได้ออกแบบพัฒนาห้องรมควันลำไย ดังนี้

  • พัฒนาระบบกำจัด SO2 ที่เหลือทิ้ง เพื่อแก้ปัญหาการปล่อย SO2 ออกสู่บรรยากาศ
  • พัฒนาระบบผลิต SO2 ที่สามารถควบคุมปริมาณความเข้มข้นของ SO2 ที่ใช้ในห้องรมควันอย่างมีประสิทธิภาพ
  • พัฒนาห้องรมควันลำไยแบบต่อเนื่อง ที่มีระบบลำเลียงลำไยเข้าห้องรมควันอย่างต่อเนื่องขณะที่ภายในห้องมี SO2 รออยู่ก่อนแล้ว และระยะเวลาที่ลำไยอยู่ภายในห้องรมควันคงที่ มีการควบคุมปริมาณ SO2 ค้างอยู่ในเปลือกและเนื้อลำไยไม่เกินตามที่กำหนด ก่อนออกจากห้องรมควันจะมีระบบดูดอากาศ ทำการดูด SO2 จากภายในตะกร้าที่บรรจุลำไยไปบำบัด ส่วน SO2 ที่อยู่ภายในห้องจะถูกนำไปใช้รมควันลำไยชุดใหม่ที่เคลื่อนที่เข้ามาแทนชุดเก่าที่ออกไปแล้ว ทั้งนี้ถ้าความเข้มข้น SO2 ภายในห้องทดลองลดลง จะมีระบบทำการผลิต SO2 เข้ามาทดแทน เพื่อให้มีความเข้มข้นตามที่ต้องการ

      ทั้งนี้ระบบห้องรมควันแบบต่อเนื่องนี้ จะสามารถควบคุมปริมาณ SO2 ที่ตกค้างที่เปลือกและเนื้อลำไยได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังช่วยลดปริมาณ SO2 ที่ต้องระบายออกสู่บรรยากาศภายนอกอีกด้วย

โดย มนฑิณี กมลธรรม
ฝ่ายเทคโนโลยีการเกษตร
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
การยืดอายุการเก็บรักษากล้วยหอมทองโดยใช้สารดูดซับเอทิลีน
ปัญหาที่สำคัญในการส่งออกผลไม้สดของไทย ได้แก่การเน่าเสีย การสูญเสียคุณภาพของผลิตผลก่อนที่จะส่งถึงตลาดปลายทางและระหว่างการตลาดในประเทศผู้นำเข้า ซึ่งปัญหานี้เป็นปัจจัยสำคัญในการขยายตลาดของผลิตผลสดหลังการเก็บเกี่ยวโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องใช้เวลาในการขนส่งนานๆในตู้เรือปรับอากาศไปยังประเทศต่างๆที่ห่างไกล ผู้ส่งออกส่วนใหญ่มักอาศัยอายุการเก็บเกียวผลไม้มาใช้ในการเก็บรักษา
การยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้มีหลายวิธี เช่น การเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ การใช้สารเคลือบผิว การเก็บรักษาในสภาพบรรยากาศดัดแปลง (modified atmosphere) และการใช้สารดูดซับเอทิลีน เนื่องจากตัวการที่ทำให้ผลไม้เกิดกระบวนการสุกแก่คือเอทิลีน ทำให้ดอกไม้เหี่ยวเร็วขึ้นและทำให้เกิดการหลุดร่วงของใบ เอทิลีนเป็นฮอร์โมนพืชชนิดเดียวที่เป็นแก๊ส มีสูตรทางเคมีคือ C2H4 เกิดจากกระบวนการเมทาบอลิซึมของพืช การใช้สารดูดซํบเอทิลีนในการยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้เหมาะกับผลไม้ประเภท climacteric ซึ่งจะมีอัตราการหายใจสูงขึ้นและมีการผลิตเอทิลีนสูงในระยะที่กำลังสุก เช่น กล้วย ทุเรียน มะม่วง เป็นต้น
เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้สดเพื่อการส่งออก สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ฝ่ายเทคโนโลยีการเกษตร ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาสารดูดซับเอทิลีน เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการส่งออก จากผลการศึกษาวิจัย ทำให้สามารถผลิตสารดูดซับเอทิลีนได้ในต้นทุนที่ต่ำและมีประสิทธิภาพดีไม่แตกต่างจากสารดูดซับเอทิลีนทางการค้า สามารถผลิตได้ง่าย เพื่อให้เหมาะสมในการใช้ในเชิงพาณิชย์ และลดการนำเข้าสารดูดซับเอทิลีนที่ผลิตจากต่างประเทศและสามารถยืดอายุการเก็บรักษาผลิตผลสดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การยืดอายุการเก็บรักษากล้วยหอมทองเพื่อการส่งออกโดยใช้สารดูดซับเอทิลีนน้ำหนัก 10 กรัม (1 ซอง) บรรจุร่วมกับกล้วยหอมทองหนัก 12 กิโลกรัม โดยใส่ในถุง Polyethylene มัดปากถุงให้แน่นแล้วใส่ในกล่อง จากนั้นนำไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 14 องศาเซลเซียล สามารถเก็บรักษากล้วยหอมทองได้นานถึง 10 สัปดาห์ เมื่อเทียบกับกล้วยหอมทองที่เก็บรักษาโดยไม่ใช้สารดูดซับเอทิลีนสามารถเก็บได้เพียง 4 สัปดาห์ โดยปริมาณแก๊สเอทิลีนในถุงที่ใช้สารดูดซับเอทิลีนร่วมในการเก็บกล้วยหอมทองจะอยู่ที่ 0.01-0.03 ppm ตลอดระยะการเก็บรักษา 10 สัปดาห์ แต่ในกลุ่มควบคุมปริมาณแก๊สเอทิลีนจะเพิ่มขึ้นสูงถึง 0.29 ppm ในสัปดาห์ที่ 5 ของการเก็บรักษาคือกล้วยหอมทองสุกและเริ่มเน่าเสีย

โดย มนฑิณี กมลธรรม

ฝ่ายเทคโนโลยีการเกษตร

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ปัญหาที่สำคัญในการส่งออกผลไม้สดของไทย ได้แก่การเน่าเสีย การสูญเสียคุณภาพของผลิตผลก่อนที่จะส่งถึงตลาดปลายทางและระหว่างการตลาดในประเทศผู้นำเข้า ซึ่งปัญหานี้เป็นปัจจัยสำคัญในการขยายตลาดของผลิตผลสดหลังการเก็บเกี่ยวโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องใช้เวลาในการขนส่งนานๆในตู้เรือปรับอากาศไปยังประเทศต่างๆที่ห่างไกล ผู้ส่งออกส่วนใหญ่มักอาศัยอายุการเก็บเกียวผลไม้มาใช้ในการเก็บรักษา

การยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้มีหลายวิธี เช่น การเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ การใช้สารเคลือบผิว การเก็บรักษาในสภาพบรรยากาศดัดแปลง (modified atmosphere) และการใช้สารดูดซับเอทิลีน

เนื่องจากตัวการที่ทำให้ผลไม้เกิดกระบวนการสุกแก่ คือ เอทิลีน ทำให้ดอกไม้เหี่ยวเร็วขึ้นและทำให้เกิดการหลุดร่วงของใบ

เอทิลีน เป็นฮอร์โมนพืชชนิดเดียวที่เป็นแก๊ส มีสูตรทางเคมีคือ C2H4 เกิดจากกระบวนการเมทาบอลิซึมของพืช การใช้สารดูดซับเอทิลีนในการยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้เหมาะกับผลไม้ประเภท climacteric ซึ่งจะมีอัตราการหายใจสูงขึ้นและมีการผลิตเอทิลีนสูงในระยะที่กำลังสุก เช่น กล้วย ทุเรียน มะม่วง เป็นต้น

เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้สดเพื่อการส่งออก สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ฝ่ายเทคโนโลยีการเกษตร ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาสารดูดซับเอทิลีน เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการส่งออก จากผลการศึกษาวิจัย ทำให้สามารถผลิตสารดูดซับเอทิลีนได้ในต้นทุนที่ต่ำและมีประสิทธิภาพดีไม่แตกต่างจากสารดูดซับเอทิลีนทางการค้า สามารถผลิตได้ง่าย เพื่อให้เหมาะสมในการใช้ในเชิงพาณิชย์ และลดการนำเข้าสารดูดซับเอทิลีนที่ผลิตจากต่างประเทศและสามารถยืดอายุการเก็บรักษาผลิตผลสดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การยืดอายุการเก็บรักษากล้วยหอมทองเพื่อการส่งออกโดยใช้สารดูดซับเอทิลีนน้ำหนัก 10 กรัม (1 ซอง) บรรจุร่วมกับกล้วยหอมทองหนัก 12 กิโลกรัม โดยใส่ในถุง Polyethylene มัดปากถุงให้แน่นแล้วใส่ในกล่อง จากนั้นนำไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 14 องศาเซลเซียล สามารถเก็บรักษากล้วยหอมทองได้นานถึง 10 สัปดาห์ เมื่อเทียบกับกล้วยหอมทองที่เก็บรักษาโดยไม่ใช้สารดูดซับเอทิลีนสามารถเก็บได้เพียง 4 สัปดาห์ โดยปริมาณแก๊สเอทิลีนในถุงที่ใช้สารดูดซับเอทิลีนร่วมในการเก็บกล้วยหอมทองจะอยู่ที่ 0.01-0.03 ppm ตลอดระยะการเก็บรักษา 10 สัปดาห์ แต่ในกลุ่มควบคุมปริมาณแก๊สเอทิลีนจะเพิ่มขึ้นสูงถึง 0.29 ppm ในสัปดาห์ที่ 5 ของการเก็บรักษาคือกล้วยหอมทองสุกและเริ่มเน่าเสีย