ได้มีโอกาสเข้าร่วมฟังการบรรยายพิเศษเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการจัดทำนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระดับประเทศกรณีศึกษาของประเทศญี่ปุ่น : i-Japan Strategy 2015 ที่จัดโดย NECTEC ACADEMY เมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2552 ซึ่งได้เชิญ Prof. Toshio Obi ผู้เชี่ยวชาญจาก Waseda University ประเทศญี่ปุ่น อดีตประธานในการจัดทำนโยบาย i-Japan Strategy 2015 มาให้ความรู้และประสบการณ์ในการจัดทำนโยบายด้าน ICT ทำให้เราสามารถเห็นแนวทาง วิธีการ และกระบวนการในการจัดทำนโยบายด้าน ICT จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถือว่าเป็นประเทศหนึ่งที่มีการพัฒนา ICT อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง

เราได้พบว่าในมุมมองของประเทศญี่ปุ่น หากมองงานที่เกี่ยวกับบริหารจัดการแล้ว เขาได้ให้ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ในส่วนต่าง ๆ ดังนี้

  • E-Gov : Electronic Government (การบริหารจัดการภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์)
  • U-Gov : Ubiquitous Government (การบริหารจัดการภาครัฐที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง)
  • M-Gov : Mobile Government (การบริหารจัดการภาครัฐผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่)
  • TV-Gov : TV Government (การบริหารจัดการภาครัฐผ่านสื่อโทรทัศน์)
  • Gov.20 : Government 2.0 (การบริหารจัดการภาครัฐโดยใช้เทคโนโลยี Web 2.0 นั่นคือ สามารถสื่อสารโต้ตอบ 2 ทาง)
  • Smart Gov : Smart Government (การบริหารจัดการภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ชาญฉลาด)
  • i-Gov : Innovation + Inclusion Government (การบริหารจัดการภาครัฐเพื่อเกิดนวัตกรรมและการผนวกรวมไว้ด้วยกัน)

รวมทั้งมีการตระหนักถึงรูปแบบการจัดการองค์กรสมัยใหม่ที่มีการนำ ICT มาประยุกต์ใช้เพื่อตอบสนองสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้

  • ความต้องการของประชาชนเป็นศูนย์กลาง
  • ความสามารถในการเป็นผู้นำ
  • ความร่วมมือและเครือข่ายความร่วมมือ
  • การเตรียมพร้อมเพื่อมุ่งไปสู่การเปลี่ยนแปลง
  • การมุ่งไปสู่ผลสัมฤทธิ์
  • การบริหารจัดการที่ไม่อิงรูปแบบของหน่วยงาน
  • กระจายอำนาจจากจุดศูนย์กลาง
  • การขับเคลื่อนโดยรายได้มากกว่างบประมาณ
  • การแข่งขัน

เนื่องจากผู้บริหารถือว่าเป็นกุญแจสำคัญที่จะผลักดันและสนับสนุนให้การพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประสบผลสำเร็จ เขาจึงได้มอง สมรรถนะหลัก หรือ Core Competences สำหรับ ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง หรือ Chief Information Officer (CIO) ไว้ว่าต้องสามารถมองภาพรวมของงานต่อไปนี้เพื่อนำมาบูรณาการและจัดทำยุทธศาสตร์ด้าน ICT ให้สอดคล้องและสนับสนุน

  • ในมุมมองของ CFO : Cheif Financial Officer ด้าน
  1. Procurement Management (การบริหารการจัดซื้อจัดจ้าง)
  2. System Architecture (สถาปัตยกรรมระบบ)
  3. IT Investment (การลงทุนด้าน IT)
  • ในมุมมองของ CTO : Cheif Technology Officer ด้าน
  1. Management Strategy (การบริหารกลยุทธ์)
  2. Intellectual Property (ทรัพย์สินทางปัญญา)
  3. MOT/R&D (วิจัยและพัฒนา)
  • ในมุมมองของ CKO : Cheif Knowledge Officer ด้าน
  1. Policy (นโยบาย)
  2. Decision-making process (กระบวนการตัดสินใจ)
  3. Knowledge Management (การบริหารจัดการความรู้)
  • ในมุมมองของ CRO : Cheif Risk Officer ด้าน
  1. Project Management (การบริหารจัดการโครงการ)
  2. Risk Management (การบริหารจัดการความเสี่ยง)

ด้วยเหตุนี้จึงนำมาซึ่งยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ชื่อว่า i-Japan Strategy 2015 (2010-2015)

Striving to Create a Citizen-Driven, Reassuring & Vibrant Digital Society ( I = Innovation + Inclusion )

มุ่งไปสู่การสร้างสังคมดิจิตอลแห่งความเชื่อมั่น มีชีวิตชีวา และขับเคลื่อนสังคม เพื่อให้เกิดนวัตกรรมและการผนวกรวม เชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกัน

หากเรามาพิจารณาดู i-Japan Strategy 2015 จะเห็นว่าญี่ปุ่นได้ให้ความสำคัญในประเด็นต่อไปนี้

  • การสร้างสังคมที่เทคโนโลยีดิจิตอลเปรียบเสมือนปัจจัยในการดำรงชีวิตที่แทรกซึมเป็นเนื้อเดียวกับเศรษฐกิจและสังคม นั่นคือ คุ้นเคยในการใช้งาน ง่ายในการใช้งาน มีความมั่นคงเชื่อถือได้ ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวาง และขาดไม่ได้ เหมือนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน โดยเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้นและเชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกัน
  • การนำเทคโนโลยีดิจิตอลและสารสนเทศไปสนับสนุนการเกิดนวัตกรรมดิจิตอลและการสร้างมูลค่าใหม่ ๆ ให้กับเศรษฐกิจและสังคม
  • สร้างโครงสร้างที่รองรับการบริหารจัดการภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ชาญฉลาด
  • นำเทคโนโลยีดิจิตอลมารองรับและสนับสนุนการดำเนินงานด้านการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนให้มีข้อมูลที่ถูกต้อง มีการดำเนินงานดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง สะดวก รวดเร็ว  ทั่วถึง และเสมอภาค ครอบคลุมทั้งในเมืองและชนบท
  • กระตุ้นการนำเทคโนโลยีดิจิตอลไปใช้ในห้องเรียน สร้างความปรารถนาในการเรียนรู้ ความสามารถด้านวิชาการ และความสามารถในการใช้สารสนเทศ รวมทั้งพัฒนาทักษะด้านดิจิตอลของทรัพยากรมนุษย์อย่างมั่นคงและต่อเนื่อง
  • นำเทคโนโลยีดิจิตอลมาเปลี่ยนโครงสร้างเพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมและชุมชนท้องถิ่น และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับนานาชาติ
  • สนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสะอาด (Green IT และ ITS)
  • สร้างตลาดใหม่ที่เต็มไปด้วยการสร้างสรรค์ และเพิ่มจำนวนพนักงานที่ทำงานทางไกลนอกสถานที่ทำงาน
  • พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิตอล

ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่าวิสัยทัศน์ในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของญี่ปุ่นและไทยจะมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน เพียงแต่ว่าการก้าวย่างของไทยจะเชื่องช้ากว่า และมุ่งการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT เพื่อสร้างรายได้ให้กับเศรษฐกิจประเทศ ในขณะที่ญี่ปุ่นได้ก้าวผ่านและมองการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยเน้นไปที่ความต้องการและความจำเป็นของผู้ใช้หรือประชาชนเป็นหลัก

ที่มา :

  • Prof. Dr. Toshio Obi, “Japanese Lessons on formulating national ICT Strategies”, NECTEC-IAC Thailand Forum, November 30, 2009.

 

  • Green IT หรือ การนำ IT มาแก้ไขปัญหาโลกร้อย โดยช่วยประหยัดพลังงาน ลดมลภาวะที่เป็นพิษ สร้างสภาวะแวดล้อมโลกให้ดีขึ้น
  • Unified Communication (UC) หรือ การรวมทุกระบบของการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นสื่อ อุปกรณ์ และซอฟต์แวร์ทุกประเภทเข้าไว้ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสาร
  • Business Process Modeling หรือ รูปแบบการบริหารจัดการกระบวนการธุรกิจ ซึ่งมุ่งเน้นในเรื่องการนำสถาปัตยกรรมการบริการ (SOA) มาใช้
  • MetaData Management หรือ การบริหารจัดการคำอธิบายข้อมูล โดยมุ่งเน้นเรื่องการกำหนดคำนิยามและนโยบายในการจัดการ
  • Virtualization 2.0 หรือ โลกเสมือนซึ่งนำเอาจุดเด่นของ Web 2.0 และ Blade System มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการทรัพยากร (HW และ SW) และการบริการ
  • Mashups & composite apps หรือ การดึงและการประกอบจากหลาย ๆ ส่วนของโปรแกรมประยุกต์มารวมไว้ที่เดียว
  • Web Services & WOA (Web Oriented Architecture) – SaaS (Software as a Service) หรือ การนำเทคโนโลยี Web Services หรือ การสร้างการบริการที่สามารถเข้าถึงได้โดยผ่านทางเว็บไซต์ มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงานการบริการต่าง ๆ
  • Computing Fabric หรือ การมองภาพการประมวลผลในลักษณะของระบบเสมือนขนาดใหญ่ เป็นวิวัฒนาการของการออกแบบอุปกรณ์เครื่องแม่ข่ายให้สามารถบริหารจัดการและแบ่งปันทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น สามารถมีระบบปฏิบัติการ หรือ OS (Operating System) หลายตัววิ่งอยู่บนอุปกรณ์เดียวกัน เป็นต้น
  • Real World Web หรือ ที่ซึ่งมีการนำสารสนเทศจากเว็บไซต์ต่าง ๆ มากลั่นกรองและประมวลผลเพื่อให้สามารถตอบสนองได้ตรงกับความต้องการในการใช้งานตามความเป็นจริง ณ สถานที่ และเวลานั้น ๆ
  • Social Software หรือ ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม คือการนำเทคโนโลยี Web 2.0 มาประยุกต์ใช้ในการติดต่อสื่อสาร บริหารจัดการ และแบ่งปันสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและตอบสนองต่อความต้องการขององค์กร
  •