สามารถคลิกเพื่ออ่านรายละเอียดได้ที่นี่

เนื้อหาประกอบด้วย
1. การบำบัดน้ำเสียในอาคาร
2. ลักษณะน้ำเสีย
3. คุณลักษณะน้ำเสีย
4. แหล่งกำเนิดน้ำเสียชุมชน
5. หลักเกณฑ์ในการเลือกระบบบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสม
6. ระบบบำบัดน้ำเสียในอาคาร
7. หลักการทำงานระบบบำบัดน้ำเสียแบบตะกอนเร่ง (Activated Sludge; AS)
8. องค์ประกอบของระบบ AS
9. หลักการทำงานของระบบ AS
10. หลักการดูแลระบบ AS
11. ปัจจัยหรือพารามิเตอร์ที่จำเป็นสำหรับการควบคุมระบบ AS
12. เกณฑ์การออกแบบหรือค่าควบคุมในการดูแลระบบ AS
13. ตัวอย่างระบบบำบัดน้ำเสียแบบแอคทิเวทเต็ดสลัดจ์ (Activated Sludge) ที่นิยมใช้
14. ข้อดี-ข้อเสียของระบบเอสบีอาร์

สามารถคลิกเพื่ออ่านรายละเอียดได้ที่นี่

เนื้อหาประกอบด้วย
1. การออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย
2. การออกแบบถังบำบัดน้ำเสียชุมชนจากครัวเรือนขนาดเล็ก
3. การประมาณปริมาณน้ำเสียที่ใช้ในการออกแบบ
4. รูปแบบระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนจากบ้านเรือนขนาดเล็ก
4.1 หลักการทำงานของถังดักไขมัน
4.2 หลักการทำงานของถังเกรอะ
4.3 หลักการทำงานของถังบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ
5. หลักการดูแลถังบำบัดแบบเติมอากาศ
5.1 การเดินระบบเติมอากาศเบื้องต้น
5,2 ปัญหา สาเหตุ การตรวจสอบ แนวทางป้องกันแก้ไข
6. การออกแบบถังบำบัดนำเสียแบบเติมอากาศอย่างง่าย
7. รูปแบบถังเติมอากาศแบบทำเอง

โดย ปุณณภพ โผผิน (กองประชาสัมพันธ์)

           หลายคนคงคุ้นหู กับ คำว่า โลโก้ (logo) คุ้นตา กับ ภาพกราฟฟิกแปลกๆ รูปคนบ้าง รูปสัตว์บ้าง หรือลายเส้น ตัวอักษรไม่กี่ตัวหรือคำสั้นๆ ก็มี รูปแบบเหล่านี้เรียกว่า โลโก้ (logo) หรือตราสัญลักษณ์ ซึ่งบางคนนำตัวอักษรตัวหน้าของบริษัท หน่วยงานมาเป็นโลโก้ แล้วอ่านใหม่ให้กระชับ จำง่ายขึ้น   จึงทำให้โลโก้ (logo)  มี 2 รูปแบบใหญ่ๆ

  1. 1. โลโก้แบบตัวอักษร (word mark) ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทที่เกิดขึ้นใหม่ไม่นาน หรือเป็นบริษัทที่ต้องการให้ลูกค้าจดจำชื่อ คุ้นหู ติดปาก ไปพร้อมๆกัน แต่การใช้โลโก้แบบนี้หากไปอักษรภาษาไทย จะต้องปรับเป็นภาษาอังกฤษด้วย ถ้าต้องการนำบริษัทเข้าสู่ระดับสากล
  2. coke1-Uw3dXdNSkWBfd_edot3pNw
  3. 2. โลโก้แบบกราฟฟิก (symbol) ปัจจุบันบริษัทน้อยใหญ่นำมาใช้กันเป็นจำนวนมาก แต่ในบริษัทใหญ่ๆที่เปิดตัวมานานแล้วจะทำการพัฒนาจากโลโก้ตัวอักษรมาป็นโลโก้กราฟฟิกแทน ทำให้โลโก้ดูทันสมัย ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ลักษณะของโลโก้แบบกราฟฟิกนี้จะทำการตัดทอนรูปแบบ หรือสร้างเป็นรูปสัตว์ รูปอุปกรณ์ ที่ไม่ให้ยุ่งยาก ทำให้จดจำง่าย
  4. symbolic-logo logo (1)

โลโก้ดีๆ เค้าเป็นกันอย่างไร?

หลักการเบื้องต้นของการสร้างโลโก้ใน 1 ชิ้น ต้องสร้างรูปแบบที่ไม่ยุ่งยาก จดจำง่าย นำไปใช้ได้หลากหลายสถานะ สีที่ใช้ไม่ควรเกิน 3 สี  (จำนวนสียิ่งน้อย ยิ่งเป็นการดี) เพื่อง่ายต่อการนำไปใช้กับเนื้องานหรือวัสดุรองรับอื่นๆ และไม่สิ้นเปลืองค่าทำเพลทสีในระบบการจัดพิมพ์ สังเกตได้ว่าบางบริษัทใช้แค่สีเดียว เพื่อให้มีจุดเด่น จดจำง่าย

158_20110201115650z8

แม้ปัจจุบัน การนำโลโก้ไปใช้ไม่ได้อยู่แค่บนสิ่งพิมพ์หรือบนผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังนำไปใช้บนสื่อมัลติมีเดียต่างๆ อาทิเช่น  เว็บไซต์  เฟสบุ๊ก  ไลน์  หรือระบบสื่อสารต่างๆ แต่ก็ยังใช้แนวคิดหรือหลักการในการออกแบบโลโก้ที่เหมือนๆ กัน

afd-19215

จำเป็นหรือไม่…ที่ต้องยึดหลักในการออกแบบโลโก้

การออกแบบงานที่ดีควรอยู่บนหลักการที่ดี แต่ในบางครั้งการออกแบบโลโก้ ก็ไม่จำเป็นต้องยึดหลักการทั้งหมด เพราะหลักการไม่ใช่เหตุผล ในบางคราวผู้ออกแบบต้องคำนึงถึงความต้องการของเจ้าของสินค้าเป็นเหตุผลหลัก คือ ความต้องการจากเจ้าของนั่นคือเหตุผลหลัก… ทั้งเรื่องรูปแบบ การจัดวางองค์ประกอบ เรื่องของสี รายละเอียดที่ต้องการใส่ และอีกหลายๆอย่าง ซึ่งในบางครั้งอาจมีอิทธิพลมาจากความเชื่อโชคลาง การถูกโฉลกของสี มีโชคลาภ เงินทอง เป็นต้น จึงทำให้โลโก้บางชิ้นถูกออกแบบมาตรงกับความต้องการของเจ้าของ แต่ไม่ตรงตามหลักการของผู้ออกแบบ เราจึงได้พบเห็นโลโก้ที่ตรงหลักการบ้าง    ตรงใจเจ้าของบ้าง ใช้ปะปนกันไป  ซึ่งผู้ออกแบบต้องปรับตัวมากขึ้น เช่น ออกแบบโลโก้โดยอยู่บนพื้นฐานของ    โงวเฮ้ง ฮวงจุ๊ย หรือความเชื่อส่วนบุคคลเสริมเข้าไปในการทำงาน หรือการนำเสนอผลงาน จะเป็นการดีมากๆ

googlechrome_logo

การออกแบบโลโก้เพื่อนำมาใช้ประโยชน์สักชิ้นหนึ่งกับผลิตภัณฑ์ของเรานั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่า โลโก้นั้นตอบโจทย์กับผลิตภัณฑ์ของเราได้มากแค่ไหน ช่วยให้เราจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้มากแค่ไหน หรือทำให้ผู้คนรู้จักเราได้มากแค่ไหน

….แนวคิดดังกล่าว คือ ประโยชน์จากการใช้ “โลโก้”….

อ้างอิง

https://gengsittipong.com

http://www.myhappyoffice.com/index.php/2012/06/logo-design-message/

http://www.neutron.rmutphysics.com

http://technologywisdom.com/es/logo-design-form.ph

http://www.udondesign.com

https://freedesignfree.wordpress.com

โดย ปุณณภพ โผผิน 

            เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยในปัจจุบันคือ ยุคไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งเป็นยุคที่มีการนำเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตมาใช้ในการพัฒนาและช่วยในการขายสินค้า ดังนั้นในส่วนของงานกราฟิกดีไซน์จึงจำเป็นต้องมีการปรับตัวเพื่อให้เข้ากับยุคไทยแลนด์ 4.0 การออกแบบต่างๆ ต้องมีการศึกษาเทรนด์ที่มีความเป็นสากล เหมาะสมกับยุคสมัย เพื่อให้งานการฟฟิกดีไซน์มีความสอดคล้องกับผลิตภัณฑ์หรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นในยุคนี้ ซึ่งเทรนด์ในงานกราฟฟิกดีไซน์ต่างๆ สามารถสรุปย่อๆ ได้ ดังนี้

        1. การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น วารสาร (magazine) จุลสาร (booklet) โปสเตอร์ (poster) แผ่นพับหรือใบปลิว (leaflet) เทรนด์งานกราฟิกดีไซน์สำหรับสื่อประเภทนี้ ปัจจุบันจะมุ่งเน้นไปที่ความเรียบง่าย มีความเป็นธรรมชาติ มีการเลือกใช้สีที่สื่อถึงความสดใหม่ สดใส ตื่นตัว มีการใช้ลูกเล่นโดยการไล่เฉดสี สำหรับลักษณะการใช้ลายเส้นจะเป็นการเลียนแบบจากธรรมชาติรอบตัว เช่น คลื่นทะเล ลายหินอ่อน ใบไม้ ดอกไม้ ปีกนก นอกจากนี้การดีไซน์ยังมีกลิ่นไอของการออกแบบในยุค 80 ที่ผสมอยู่ในการใช้สีและการลักษณะเลือกใช้ตัวอักษร (font) อีกด้วย  ในส่วนของการใช้ภาพประกอบนั้น จะเน้นไปที่การสร้างกราฟฟิกแทนการใช้ภาพจริง หรือใช้ภาพวาดมือ (hand-drawn) ผสมผสานกับกับการใช้ภาพกราฟิก

    So-Schmeckt-2017-wpcf_700x454

tpc_general_spring-summer_2017

        2.การออกแบบโลโก้ ยุคนี้ก็ยังคงยึดถือปรัชญาเดิมคือ การสร้างความน่าจดจำและสื่อถึงผลิตภัณฑ์หรือบริการของบริษัท โดยการออกแบบจะมุ่งเน้นไปที่ความเรียบง่าย ลายเส้นไม่ซับซ้อน ดูสบายตา ใช้การออกแบบที่เป็นแบบแบน (flat design) และมีการใช้การออกแบบที่ว่างรอบวัตถุให้เกิดภาพซ้อนอีกภาพหนึ่ง (negative space) สำหรับลักษณะลายเส้นที่ใช้ในการสร้างโลโก้ก็จะเน้นไปที่เส้นหนาทึบเสมอกันวางอยู่พื้น (background) สีเดียว นอกจากนี้หลายแบรนด์ยังเลิกใช้ตัวอักษรในโลโก้ เพื่อให้โลโก้ดูเรียบง่าย สะอาดตา สำหรับภาพที่ใช้ในการสร้างโลโก้หากไม่ได้สร้างจากลายเส้นก็จะนิยมใช้เป็นภาพวาดมือ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของสินค้าหรือบริการให้ดูมีความอบอุ่นและมีเสน่ห์

                                        003-logo590 winelogo

                      2011-logo-rebranding-starbucks Insta-1

      images cafeB

         3. การออกแบบสื่อออนไลน์ที่เป็นภาพนิ่ง การใช้ภาพนิ่งเพื่อเป็นสื่อในการประกาศ โฆษณา หรือแจ้งข่าวสาร ผ่านทางโซเซียลมีเดีย มีความสำคัญอย่างมากในยุคนี้ ดังนั้นการออกแบบสื่อออนไลน์จึงต้องมีความทันสมัยไม่ตกเทรนด์ ซึ่งเทรนด์ของปีนี้ก็ยังเน้นไปที่ความเรียบง่ายเช่นเดียวกับสื่อสิ่งพิมพ์และโลโก้ แต่จะต่างกันตรงที่สื่อออนไลน์ยุคนี้จะนิยมใช้ cinemagraphy หรือการสร้างภาพเคลื่อนไหวเฉพาะจุด เพื่อให้ดูมีมิติ ดึงดูดสายตาและความสนใจของผู้อ่าน ซึ่งภาพเคลื่อนไหวนี้นิยมใช้ในการทำโลโก้ที่ปรากฏบนสื่อออนไลน์เช่นกัน ตัวอย่างภาพนิ่งในลักษณะ cinemagraphy สามารถหาดูได้จาก ที่นี่

        4. การออกแบบสื่อออนไลน์ที่ภาพเคลื่อนไหว (motion graphic) ยุค 4.0 มีการใช้ motion graphic ในการสื่อสารโน้มน้าวใจ ให้ความรู้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเทรนด์ในยุคนี้จะมีการใช้ภาพกราฟฟิกในลักษณะ 2D และ 3D ผสมผสานกันในสื่อตัวเดียว การเปลี่ยนฉากในแต่ละฉากจะมีความต่อเนื่องกัน (seamless transitions) โดยสิ่งที่เห็นในฉากก่อนหน้าจะปรากฏ และค่อยๆ เปลี่ยนแปลงลักษณะในฉากต่อไป ซึ่งสร้างความรู้สึกต่อเนื่องให้แก่ผู้ชม สำหรับลักษณะเนื้อเรื่องที่นิยมใช้จะเป็นกึ่งสารคดีแอนนิเมชัน มีการใช้ตัวอักษรน้อย เน้นที่การบรรยายเล่าเรื่อง หรือเพลงประกอบที่เข้ากับเนื้อหาของเรื่อง ส่วนภาพแอนนิเมชันจะใช้ไม่กี่สีและมีการไล่เฉดสี ลายเส้นในการสร้างภาพจะไม่ซับซ้อน หนักแน่น เรียบง่าย และสะอาดตา เช่นเดียวกับสื่ออื่นๆ ตัวอย่าง motion graphic ของปี 2017 สามารถหาดูได้จาก https://envato.com/blog/best-motion-graphics-trends-design-2017/

จะเห็นได้ว่าเทรนด์ในการออกแบบกราฟิกของสื่อต่างๆ ยุคนี้จะเน้นไปที่ความเรียบง่าย สะอาดตา เพื่อสร้างความสบายตาให้แก่ผู้ชม ดังนั้นการออกแบบสื่อต่างๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์เอง จึงควรจะมีการพัฒนาเพื่อให้เกิดความน่าสนใจและไม่ตกเทรนด์ เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศในยุคไทยแลนด์ 4.0 ด้วยเช่นกัน

อ้างอิงจาก

https://webdesignledger.com/9-graphic-design-trends-need-aware-2017/

http://www.indesignskills.com/inspiration/2017-graphic-design-trends/

http://justcreative.com/2017/01/01/2017-logo-design-trends-forecast/

https://envato.com/blog/best-motion-graphics-trends-design-2017/

ขอบคุณภาพประกอบจาก Google Image