โดย ดร.กุศล เอี่ยมทรัพย์

ฝ่ายเทคโนโลยีการเกษตร

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการผลิตมะนาวนอกฤดูมี 3 วิธี

วิธีที่ 1

การใช้ปุ๋ยและฮอร์โมนในการบังคับการออกดอกนอกฤดู

ใช้ปุ๋ยทางใบสูตร 0-52-34 ร่วมกับปุ๋ยทางดินสูตร 0-46-01 หากต้นมะนาวมีสภาวะต้นที่สมบูรณ์ ก็สามารถที่จะออกดอกได้ดียิ่งขึ้นแม้ว่าจะไม่มีช่วงแล้งก็ตาม นอกจากนี้ อาจใช้ฮอร์โมนพาโคบิวทาโซลช่วยให้ออกดอกมากขึ้น แต่วิธีการนี้จะบังคับการออกดอกได้ยากและได้ผลไม่แน่นอน เพราะจะมีผลของความชื้นในดินที่ควบคุมไม่ได้มาเป็นปัจจัยที่ทำให้การออกดอกน้อยกว่าวิธีอื่นๆ

วิธีที่ 2

การควบคุมน้ำให้เกิดการสะสมอาหารและการเกิดดอก

ต้นมาะนาวมีการออกดอกได้ดีเมื่อผ่านช่วงของความแล้งมาระยะหนึ่งโดยใช้ระยะเวลาระหว่าง 20-30 วัน ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่ความสมบูรณ์ของต้น ขนาดของทรงพุ่มต้นและสภาพของดิน หากเป็นดินทรายย่อมได้เปรียบมากกว่าดินเหนียว และสามารถชักนำให้เกิดสภาพแล้งให้กับระบบรากได้เร็วกว่า บางครั้งใช้เวลาเพียง 10 วันก็เพียงพอ การปฏิบัติดูแลรักษาเพื่อช่วยให้มีประสิทธิผลของการชักนำสภาพแล้งได้ดียิ่งขึ้น หรือการปลูกมะนาวในกระถางหรือบ่อซีเมนต์ การบังคับให้ออกดอก ในช่วงประมาณเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน หลังจากให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ประมาณ 1 ช้อนแกง จึงรดน้ำพอให้ปุ๋ยละลาย แล้วต้องงดการให้น้ำอย่างสิ้นเชิง เป็นเวลา 15-20 วัน แต่ถ้าฝนตกก็จะต้องหาพลาสติกมาคลุมโคนต้นทุกต้น เมื่อเห็นว่ามะนาวเริ่มเฉาสลัดใบทิ้งจึงให้น้ำตามปกติ และให้ปุ๋ยสูตร 8-24-24 โดยใช้ 2 ช้อนแกงต่อต้น ต่อมาอีกประมาณ 15 วัน จะเห็นว่ามะนาวจะเริ่มแตกยอดอ่อน และออกดอกมาในคราวเดียวกัน ในช่วงระยะมะนาวมีดอก จะต้องดูแลโดยการฉีดพ่นสารสะเดาหรือสารขับไล่แมลงอื่นๆ ส่วนในช่วงมะนาวติดผลจะต้องฉีดพ่นสารกำจัดเชื้อราและต้องให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตรา 1-2 ช้อนแกงต่อต้น ทุก 20 วัน

ขั้นตอนในการดำเนินการในปีที่ 2 มีดังนี้

  • ตัดแต่งกิ่ง เด็ดผลที่เหลือบนต้นออก เพื่อบำรุงต้น เร่งการสร้างยอดใหม่ ใบใหม่ โดยผลมะนาวที่คุณภาพดีที่สุดคือผลที่เกิดจากยอดใหม่ ผลที่เกิดจากกิ่งเก่าคุณภาพจะด้อยลงมา ผลที่คุณภาพต่ำสุดคือผลที่เกิดติดกิ่ง หลังตัดแต่งกิ่งเสร็จใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 เพื่อบำรุงต้นให้สมบูรณ์เท่าที่ควร
  • การให้ปุ๋ยชีวภาพซึ่งได้จากการหมักหอยเชอรี่ 30 กก. เศษผลไม้ 10 กก. กากน้ำตาล 10 กก. เชื้อพด. 2 จำนวน 25 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร สูตรนี้สามารถใช้ฉีดพ่นทางใบในอัตรา 20-25 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตรได้
  • ในระยะนี้ต้องรักษาใบและยอดให้ดี เนื่องจากมีโรค แมลงที่สำคัญเข้าทำลายในระยะยอดอ่อนถึงเพสลาดคือ  เพลี้ยไฟและโรคแคงเกอร์ ใช้ในระยะก่อนเก็บเกี่ยวไม่น้อยกว่า 2 เดือน
  • เนื่องจากมะนาว มีอายุผลประมาณ 5 เดือน สามารถเก็บขายได้ในเดือนที่ 6 การวางแผนการบังคับให้ออกนอกฤดู คือ ต้องทำให้ออกดอกเดือนตุลาคม เดือนกันยายนต้องงดปุ๋ย งดน้ำจนใบเหี่ยว สลด และหลุดร่วงประมาณ 50-60 เปอร์เซ็นต์ หลังจากนั้นให้น้ำตามปกติ ปุ๋ยเคมีที่ใช้เพื่อเปิดตาดอกในระยะนี้คือ ปุ๋ยสูตรที่มีตัวกลางสูง เช่น 12-24-12 หรือ 15-30-15 ปริมาณ 1 กำมือต่อวง รดน้ำให้ชุ่มเพื่อให้ปุ๋ยละลาย
  • หลังติดดอกแล้วให้น้ำตามปกติ

วิธีที่ 3

การใช้ต้นตอให้เกิดการสะสมอาหารและเกิดดอก

การเข้ากันไม่ได้สมบูรณ์ทำให้เกิดการสะสมอาหารและออกดอกนอกฤดู เช่น ใช้ต้นมะขวิดหรือต้นตอชนิดอื่น

ต้องวิเคราะห์สายการต่อไปนี้ เพื่อนำไปขึ้นทะเบียน

ลำดับที่

คุณลักษณะ

เกณฑ์การกำหนด

1. ขนาดของปุ๋ย ไม่เกิน 12.5 x 12.5 มิลลิเมตร
2. ปริมาณความชื้นและสิ่งที่ระเหยได้ ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก
3. ปริมาณหินและกรวด ขนาดใหญ่กว่า 5 มิลลิเมตร ไม่เกิน 2 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก
4. พลาสติก แก้ว วัสดุของมีคม และโลหะอื่นๆ ต้องไม่มี
5. ปริมาณอินทรียวัตถุ ไม่น้อยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก
6. ค่าความเป็นกรด-ด่าง 5.5-8.5
7. อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N) ไม่เกิน 20:1
8. ค่าการนำไฟฟ้า (EC:Electrical Conductivity) ไม่เกิน 10 เดซิซีเมน/เมตร
9. ปริมาณเกลือ (NaCl) ไม่เกินร้อยละ 1
10. ปริมาณธาตุอาหารหลัก – ไนโตรเจน (Total N) ไม่น้อยกว่า 1.0 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก

– ฟอสฟอรัส (Total P2O5) ไม่น้อยกว่า 0.5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก

– โพแทสเซียม (Total K2O) ไม่น้อยกว่า 0.5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก (หรือมีปริมาณธาตุอาหารหลักรวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละ 1.5  ของน้ำหนัก)

11. การย่อยสลายที่สมบูรณ์ มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์
12. สารหนู (Arsenic)

แคดเมียม (Cadmium)

โครเมียม (Chromium)

ทองแดง (Copper)

ตะกั่ว (Lead)

ปรอท (Mercury)

ไม่เกิน 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

ไม่เกิน 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

ไม่เกิน 300 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

ไม่เกิน 500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

ไม่เกิน 500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

ไม่เกิน 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

ดิน

หมายถึง วัตถุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการสลายตัวทางกายภาพ และทางเคมีของดิน และแร่ รวมกับสารอินทรีย์ ที่เกิดจากการสลายตัวของซากพืชซากสัตว์เป็นผิวชั้นบนที่ห่องหุ้มโลก ซึ่งดินจะมีลักษณะและคุณสมบัติต่างกันไปในที่ต่าง ๆ ตามสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ วัตถุต้นกำเนิดสิ่งมีชีวิตและระยะเวลาการสร้างตัวของดิน

ความสำคัญของดิน

  • ดินทำหน้าที่เป็นที่ให้รากพืชได้เกาะยึดเหนี่ยวเพื่อให้ลำตันของพืชยืนต้นได้อย่างมั่นคงแข็งแรง
  • ดินทำหน้าที่เป็นแหล่งให้ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช
  • ดินเป็นแหล่งที่เก็บกักน้ำหรือความชื้นในดินและเป็นแหล่งที่ให้อากาศในดินที่รากพืชใช้ในการหายใจ

กรด

หมายถึง สารประกอบที่มีไฮโดรเจนประกอบอยู่เมื่อละลายน้ำก็จะแตกตัวให้ไฮโดรเจนไออน (H+)

กรดในชีวิตประจำวัน เช่น น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว น้ำอัดลม

ด่าง

หมายถึง สารประกอบจำพวกไฮดรอกไซด์ของโลหะแอลคาไลด์ ซึ่งละลายน้ำจะแตกตัว ให้ไฮดรอกไซด์ไออน (OH-) เสมอ มีรสฝาด ถูกมือลื่นคล้ายสบู่

ด่างในชีวิตประจำวัน เช่น น้ำขี้เถ้า น้ำยาล้างจาน สบู่ แชมพู ผงฟู ผงซักฟอก

ความเป็นกรด – ด่างของดินมีความสำคัญอย่างไร

ความเป็นกรด-ด่างของดิน นิยมบอกเป็นค่า pH ซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง 1-14 โดยดินที่มี pH ต่ำกว่า 7 จัดว่าเป็นดินกรด ส่วนค่า pH สูงกว่า 7 จัดว่าเป็นดินด่าง และค่า pH เท่ากับ 7 จัดว่า ดินเป็นกลาง

ความเป็นกรด-ด่างเป็นตัวควบคุมการละลายธาตุ อาหารในดิน ให้ออกมาอยู่ในรูปสารละลายรวมกับน้ำในดิน ถ้าดินมีความเป็นกรด-ด่างไม่เหมาะสม ธาตุอาหารในดินอาจละลายออกมาได้น้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช หรือในทางตรงกันข้ามธาตุอาหารบางชนิดอาจละลายออกมามากเกินไปจนเป็นพิษต่อพืชได้

ดินกรดหรือดินเปรี้ยว

หมายถึง ดินที่มีระดับ pH ต่ำกว่า 7 มีวิธีการแก้ไขดินกรดโดยเติมปูนขาว หินปูนบด หรือ ใส่น้ำท่วมขังบริเวณที่เป็นกด

ดินด่าง

หมายถึง ดินที่มีระดับ pH สูงกว่า 7 มีวิธีการแก้ไขดินด่างโดยเติมอินทรีย์วัตถุหรือปลูกพืชบำรุงดิน

การวัดความเป็นกรด-ด่างของดิน

วิธีที่นิยมมี 2 วิธีคือ

  • วัดด้วยเครื่องวัดทีเรียกว่า pH Meter หลักการ คือ เปรียบเทียบค่าความต่างศักย์ระหว่าง glass electrode กับ reference electrode ค่าความต่างศักย์ที่ได้จะถูกเปลี่ยนเป็นหน่วย pH
  • การวัดด้วยน้ำยาเปลี่ยนสี (Indicator) น้ำยาเปลี่ยนสีจะเปลี่ยนสีไปตาม pH ของดินที่เปลี่ยนไป

ระดับความรุนแรงกรด-ด่างของดิน

ค่า pH

สภาพความเป็นกรด-ด่าง

น้อยกว่า 3.5 กรดรุนแรงที่สุด (ultra acid)
3.5-4.5 กรดรุนแรงมาก (extremely acid)
4.6-5.0 กรดจัดมาก (very strongly acid)
5.1-5.5 กรดจัด (strongly acid)
5.6-6.0 กรดปานกลาง (moderately acid)
6.1-6.5 กรดเล็กน้อย (slightly acid)
6.6-7.3 กลาง (neutral)
7.4-7.8 ด่างเล็กน้อย (slightly alkaline)
7.9-8.4 ด่างปานกลาง (moderately alkaline)
8.5-9.0 ด่างจัด (strongly alkaline)
มากกว่า 9.0 ด่างจัดมาก (very strongly alkaline)

งานบริการวิเคราะห์ดิน ปุ๋ย

รายการ

ราคา(บาท)/หน่วย

ความเป็นกรด-ด่าง 100
ค่าการนำไฟฟ้า 100
อินทรียวัตถุ 200
ไนโตรเจนทั้งหมด 200
ฟอสฟอรัสทั้งหมด 200
โพแทสเซียมทั้งหมด 200
แคลเซียม 200
แมกนีเซียม 200
เหล็ก 200
ทองแดง 200
แมงกานีส 200
สังกะสี 200

สนใจติดต่อ ฝ่ายเทคโนโลยีการเกษตร (ฝทก.)

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

โทร 025779243, 025779280-1

โทรสาร 025779246