เนื่องจาก สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ที่ดำเนินงานด้านวิจัย พัฒนา และบริการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) มาเป็นระยะเวลายาวนานมากกว่า 50 ปี ดังนั้นจึงมีการระดมความคิดกันภายในจนได้ข้อสรุปเป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับเทคนิคการเขียนรายงานวิชาการในแบบ วว. ที่อยากมาแบ่งปัน พอสรุปได้ดังนี้

  • ภาษาที่ใช้ ควรระวังไม่นำภาษาพูดที่เข้าใจกันเองในห้องปฏิบัติการมาใช้ในการเขียน
  • ความสม่ำเสมอของรายงาน ควรระวังการใช้คำที่อาจเขียนได้หลายแบบ โดยเลือกแบบหนึ่งแบบใดและเขียนให้เหมือนกันทั้งฉบับ เช่น หน่วยวัดอุณหภูมิ หรือ สัดส่วนทางคณิตศาสตร์

ควรเลือกเขียนแบบหนึ่งแบบใด เป็นต้น

  • การระบุปี ควรใส่ พ.ศ. หรือ ค.ศ. ไว้หน้าตัวเลขของปีด้วย เช่น พ.ศ.2558 หรือ ค.ศ.2015 แทนการใส่ว่า ปี 2558 หรือ ปี 2015 เฉยๆ เพื่อป้องกันการสับสนและคลาดเคลื่อน
  • ชื่อเฉพาะที่มาจากภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาอื่น ปกตินิยมเขียนเป็นภาษาไทย และ ภาษานั้นๆ ร่วมกัน เช่น ไบโอดีเซล (อังกฤษ: biodiesel) ในครั้งแรกที่ปรากฏในรายงานวิชาการ จากนั้นควรใช้ชื่อเฉพาะนั้นเป็นภาษาไทยต่อไป เช่นในที่นี้ใช้ ไบโอดีเซล ต่อไปให้เหมือนกันทั้งรายงาน ไม่ควรใช้สลับภาษากันไปมา
  • การทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ ให้ยึดตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสภา โดยศึกษาได้จาก เว็บไซต์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา หรือ หนังสือศัพท์วิทยาศาสตร์ฉบับราชบัณฑิตยสภา