เชิงอรรถ หรือ Footnote คือ ข้อความที่อยู่ส่วนข้างล่างท้ายกระดาษของแต่ละหน้า เพื่ออธิบายขยายความ เสริมความ หรืออ้างอิงแสดงถึงที่มา ของคำ ข้อความ ประโยค หรือ แนวคิดที่คัดลอกมาใช้ในรายงานที่อยู่ในหน้านั้นๆ

     ประเภทของเชิงอรรถ

  • เชิงอรรถอ้างอิง หรือ Citation Footnote เพื่อใช้แสดงถึงแหล่งที่มา
  • เชิงอรรถเสริมความ หรือ Content Footnote เพื่อใช้อธิบายขยายความ เสริมความ เพิ่มเติม
  • เชิงอรรถโยง หรือ Cross-reference Footnote เพื่อให้ผู้อ่านไปอ่านเพิ่มเติมในส่วนที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับ คำ ข้อความ ประโยค หรือ แนวคิดนั้นๆ ที่อยู่ในหน้าอื่นของรายงานฉบับเดียวกัน หรือ ในแหล่งอื่น ซึ่งมีรายละเอียดไว้แล้วและไม่ต้องการกล่าวซ้ำอีก

     วิธีการเขียนเชิงอรรถ

     ใช้ “ตัวยก” เป็นลำดับหมายเลข ระบุไว้ในหน้ากระดาษ 2 ตำแหน่ง เป็นคู่ๆ โดย

  • ตำแหน่งแรกใส่ไว้ต่อท้ายสุดของ คำ ข้อความ ประโยค หรือ แนวคิดที่ใช้ในรายงาน
  • อีกตำแหน่งใส่หมายเลขเดียวกันไว้หน้า คำ ข้อความ หรือ ประโยค ที่ใช้อธิบายขยายความ เสริมความ หรืออ้างอิงแสดงถึงที่มา ในรายการเชิงอรรถที่ส่วนข้างล่างของหน้าแต่ละหน้าที่อ้างถึง

     ทั้งนี้ การเรียงลำดับเลขของเชิงอรรถ ให้เริ่มเชิงอรรถแรกของแต่ละบทด้วยเลย 1 ต่อเนื่องกันไปจนจบบท เมื่อขึ้นบทใหม่หมายเลขเชิงอรรถจะเริ่มที่ 1 ใหม่เสมอ

     สำหรับเชิงอรรถระบุหน่วยงานของผู้วิจัย นอกจากจะระบุไว้ที่ส่วนข้างล่างของหน้ากระดาษแล้ว ต้องระบุไว้ที่หน้าบทคัดย่อในภาษาที่จัดทำรายงานดังนี้

  • รายงานที่เป็นภาษาอังกฤษทั้งฉบับให้ทำเชิงอรรถในทุกชื่อผู้วิจัย ไว้ที่หน้า ABSTRACT
  • รายงานที่เป็นภาษาไทยทั้งฉบับให้ทำเชิงอรรถในทุกชื่อผู้วิจัย ไว้ที่หน้า บทคัดย่อ

ตัวอย่างการเขียนเชิงอรรถ

     เนื่องจาก สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ที่ดำเนินงานด้านวิจัย พัฒนา และบริการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) มาเป็นระยะเวลายาวนานมากกว่า 50 ปี ดังนั้นจึงมีการระดมความคิดกันภายในจนได้ข้อสรุปเป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับเทคนิคการเขียนรายงานวิชาการในแบบ วว. ที่อยากมาแบ่งปัน พอสรุปได้ดังนี้

  • ภาษาที่ใช้ ควรระวังไม่นำภาษาพูดที่เข้าใจกันเองในห้องปฏิบัติการมาใช้ในการเขียน
  • ความสม่ำเสมอของรายงาน ควรระวังการใช้คำที่อาจเขียนได้หลายแบบ โดยเลือกแบบหนึ่งแบบใดและเขียนให้เหมือนกันทั้งฉบับ เช่น หน่วยวัดอุณหภูมิ หรือ สัดส่วนทางคณิตศาสตร์

ควรเลือกเขียนแบบหนึ่งแบบใด เป็นต้น

  • การระบุปี ควรใส่ พ.ศ. หรือ ค.ศ. ไว้หน้าตัวเลขของปีด้วย เช่น พ.ศ.2558 หรือ ค.ศ.2015 แทนการใส่ว่า ปี 2558 หรือ ปี 2015 เฉยๆ เพื่อป้องกันการสับสนและคลาดเคลื่อน
  • ชื่อเฉพาะที่มาจากภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาอื่น ปกตินิยมเขียนเป็นภาษาไทย และ ภาษานั้นๆ ร่วมกัน เช่น ไบโอดีเซล (อังกฤษ: biodiesel) ในครั้งแรกที่ปรากฏในรายงานวิชาการ จากนั้นควรใช้ชื่อเฉพาะนั้นเป็นภาษาไทยต่อไป เช่นในที่นี้ใช้ ไบโอดีเซล ต่อไปให้เหมือนกันทั้งรายงาน ไม่ควรใช้สลับภาษากันไปมา
  • การทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ ให้ยึดตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสภา โดยศึกษาได้จาก เว็บไซต์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา หรือ หนังสือศัพท์วิทยาศาสตร์ฉบับราชบัณฑิตยสภา

     สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์การจัดทำรายงานวิชาการของ วว. เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ประกอบด้วยรายละเอียดเนื้อหาสาระสมบูรณ์ครบถ้วนตามหลักของการจัดทำรายงานวิชาการที่มีคุณภาพ

     โดยในส่วนของรูปแบบการจัดหน้าของรายงานวิชาการ วว. ได้กำหนดไว้ดังนี้

     ทั้งนี้ในการจัดเก็บรายงานวิชาการในรูปแบบไฟล์ดิจิทัล วว. ได้กำหนดให้จัดเก็บแต่ละส่วนแยกเป็นไฟล์ดังนี้

       สำหรับโครงสร้างเนื้อหาของการจัดทำรายงานวิชาการ วว. ประกอบด้วย