New Normal ความปกติรูปแบบใหม่หลัง Covid-19

โดย ดร.ปฐมสุดา อินทุประภา กองพัฒนาและจัดการความรู้องค์กร (กจค.) 

เป็นที่ทราบกันดีว่า Covid-19 ทำให้เราต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบวิถีชิวิตใหม่กันไปทั่วโลก จากที่เราเคยออกจากบ้านไปทำงาน ไปโรงเรียน ไปช้อปปิ้ง ไปทานอาหาร หรือแม้กระทั่งไปพบแพทย์ เราต้องหันมาทำทุกอย่างที่บ้านในรูปแบบ online ไม่ว่าจะเป็นการ Work From Home, online learning, online shopping, online food ordering, online medical consulting   ทุก อย่างนี้ถูกปรับเปลี่ยนในช่วงเวลาที่เกิดโรคระบาด Covid-19 ขึ้น ก็เพื่อให้วิถีชีวิตเราดำเนินต่อไปได้อย่างปกติที่สุด แต่ในความปกติที่กำลังเกิดขึ้นนี้จริงๆ แล้ว มันคือ วิถีใหม่ในการดำรงชีวิต ซึ่งเมื่อเราจำต้องปฏิบัติกันเป็นปกติเช่นนี้ ในที่สุดมันก็ได้กลายเป็น New Normal ในสังคมของเราไปนั่นเอง 

คำว่า New Normal จริงๆ แล้ว เป็นคำศัพท์ในเชิงของธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ ซึ่งกล่าวถึง วิกฤติเศรษฐกิจทั่วโลกในช่วงปี 2007-2008 และเหตุการณ์ในปี 2008-2012 ภายหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจดังกล่าว คำๆ นี้ ได้ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายวงการต่อจากนั้น และโดยเฉพาะในช่วงเหตุการณ์ Covid-19 เช่นนี้ คำๆ นี้จึงได้ถูกหยิบยกมาใช้อีกครั้ง  ซึ่งเราอาจได้เห็น New Normal หลายๆ อย่างเกิดขึ้นแน่นอนทั้งในภาครัฐและเอกชน หาก Covid-19 จบลง 

ภาพประกอบจาก Can Stock Photo

หากจะคาดเดาถึง New Normal ที่จะเกิดขึ้นในสังคม เราคงเดาได้ไม่ยาก โดย 5 อันดับที่กำลังจะพูดถึงนี้ ก็คือสิ่งที่ได้ค่อยๆ เริ่มเกิดขึ้นแล้วในหลายๆ ประเทศ  ซึ่งอันดับ คงนี้ไม่พ้นเรื่องของ การเรียน online และการ Work From Home ที่คาดว่าจะถูกดำเนินการต่อโดยที่อาจจะมีการพัฒนาในเรื่องของ digital technology ให้มีความสอดรับกับความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น ซึ่งทั้งนี้เราอาจจะได้เห็นภาครัฐและเอกชนร่วมมือกันกันอย่างจริงจังในการพัฒนาเทคโนโลยีและระบบสื่อสาร online ระบบสัญญาณ 5G อาจจะถูกพัฒนาให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในประเทศเพื่อรองรับ online และการ Work From Home 

ภาพประกอบจาก VectorStock

อันดับต่อมา น่าจะเป็นด้านการแพทย์ ที่เราอาจจะได้ใช้ระบบ online medical consulting กันมากขึ้น และรัฐเพิ่มงบประมาณและให้ความสำคัญกับการลงทุนทางด้านสาธารณสุขของประเทศมากกว่าเดิม เพราะบทเรียนจาก Covid-19 ทำให้เราเห็นว่า การลงทุนใดๆ ก็สามารถพังลงได้ในพริบตาหากระบบสาธารณสุขของประเทศล้มเหลว ผู้คนล้มตายเป็นหมื่นๆ แสนๆ คน ในยามที่ประเทศต้องเผชิญหน้ากับโรคระบาดที่คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลก  ซึ่งหากรัฐบาลได้ lesson learn จากการะบาดของ Covid-19 ในครั้งนี้ เราอาจจะไม่ต้องเห็นพี่ตูนมาวิ่งเพื่อระดมทุนให้โรงพยาบาลต่างๆ อีกต่อไป

ภาพประกอบจาก VectorStock

อันดับต่อมา คือ เรื่องของ online business คาดว่า เราน่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการลงทุนของภาคเอกชน ห้างร้านต่างๆ หันมาจริงจังกับการทำธุรกิจ online กันมากขึ้น ดังนั้น เราอาจจะได้เห็นถึงแพลตฟอร์มธุรกิจ online ใหม่ๆ เกิดขึ้น วิธีการชำระเงินแบบ contactless รูปแบบต่างๆ ที่ได้รับการปรับปรุง รวมไปถึงการแข่งขันในด้านการค้าระหว่างแม่ค้าออนไลน์กับเจ้าของแบรนด์และห้างร้านดังๆ ต่างๆ  ดังนั้นฐานข้อมูลของลูกค้า จึงจะยิ่งทวีความสำคัญขึ้นเป็นเท่าตัว และเทคโนโลยี AI ที่สามารถวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าจากฐานข้อมูลที่มีอยู่จะกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งต่อการเติบโตของ Online business 

อันดับที่สี่ คือ online entertainment ซึ่งก็คือ การท่องเที่ยว การดูหนัง ฟังเพลง หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ในรูปแบบ online ซึ่งในปัจุบัน ทางพิพิธภัณฑ์และแกลอรี่ชื่อดังต่างๆ ก็ได้จัดทำ virtual museum และ vitrul gallery ให้ผู้คนทั่วโลกได้เข้าไปท่องเที่ยวแบบ online กันแล้วหลายแห่ง ซึ่งในประเทศไทยก็มีเช่นที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และ พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย 

ภาพประกอบจาก Freepik

อันดับที่ห้า คือ การ deglobalization ซึ่งข้อนี้คือ สิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์คาดเดาไว้ เนื่องจากการระบาดที่เกิดขึ้นเริ่มต้นจากประเทศจีน ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ของอุตสาหกรรมหลายๆ อย่าง ในหลายๆ ประเทศ แม้ว่าการระบาดของโรคยังไม่ไปถึงประเทศอื่นๆ แต่เมื่อประเทศจีนมีการปิดเมือง อุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ ของจีนก็จำต้องหยุดชะงัก รวมไปถึงการขนส่งต่างๆด้วย ดังนั้น อุตสาหกรรมหลายแห่งในประเทศที่ใช้จีนเป็นฐานการผลิต จึงหยุดชะงักตามไปด้วยเช่นกัน และภายหลังจากจบการระบาดของ Covid-19 อาจเป็นไปได้ว่า หลายประเทศอาจจะเปลี่ยนมาพึ่งพาการผลิตในประเทศมากขึ้นนั่นเอง 

ทั้งหมดที่กำลังเกิดขึ้นอาจเรียกได้ว่า เป็น lesson learn ที่เราได้รับจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 และเราก็จำเป็นต้องปรับตัว เพื่อให้เราได้ใช้ชีวิตต่อไปอย่างเป็นปกติที่สุด แม้ความปกตินั้นจะเป็นเรื่องใหม่ที่เราจะต้องเรียนรู้ก็ตาม New Normal ได้เกิดขึ้นช้าๆ ในทุกสังคม หากเรามองเห็นและทำความเข้าใจกับมันได้เร็ว เราก็จะปรับตัวได้และมีความสนุกกับความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*