ผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (in vivo)
การทดสอบในสัตว์ทดลอง (in vivo) เป็นขั้นตอนสำคัญในกระบวนการวิจัยและพัฒนา เพื่อ ประเมินความปลอดภัย (Safety) และประสิทธิภาพ (Efficacy) ของผลิตภัณฑ์ ก่อนที่จะนำไปใช้กับมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นตอนการศึกษาพรีคลินิก (Preclinical studies) ซึ่งเป็นข้อกำหนดของหน่วยงานกำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพทั่วโลก เช่น อย., FDA, EMA
กลุ่มผลิตภัณฑ์หลักที่จำเป็นต้องทดสอบในสัตว์ทดลอง:
- ยาและวัคซีน (Pharmaceuticals & Vaccines): กลุ่มที่จำเป็นที่สุด เพื่อทดสอบฤทธิ์การรักษาและประเมินความเป็นพิษในทุกมิติ ก่อนเข้าสู่การทดลองในมนุษย์
- เครื่องมือแพทย์และวัสดุชีวภาพ (Medical Devices & Biomaterials): โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่ต้องฝังหรือสัมผัสร่างกายโดยตรง เช่น ข้อเข่าเทียม รากฟันเทียม เพื่อทดสอบความเข้ากันได้ทางชีวภาพและการกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ
- ผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอาหารเสริมชนิดใหม่ (Herbal Products & Novel Foods): โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่กล่าวอ้างสรรพคุณเชิงรักษา หรือใช้ส่วนประกอบใหม่ที่ยังไม่มีข้อมูลความปลอดภัยเพียงพอ
- สารเคมีในอุตสาหกรรมและการเกษตร (Chemicals & Industrial Substances): เพื่อประเมินความเป็นพิษต่อมนุษย์จากการสัมผัสและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- สารออกฤทธิ์ใหม่และนาโนเทคโนโลยี (New Active Ingredients & Nanotechnology): สารที่พัฒนาขึ้นใหม่ทั้งหมดจำเป็นต้องมีข้อมูลความปลอดภัยครบถ้วน
ตัวอย่างการทดสอบที่ใช้สัตว์
- การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลัน (Acute Toxicity Test): ประเมินผลกระทบจากการได้รับสารในปริมาณสูงเพียงครั้งเดียว
- การทดสอบความเป็นพิษเรื้อรัง (Sub-chronic / Chronic Toxicity Test): ประเมินผลกระทบจากการได้รับสารซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลานาน
- กึ่งเรื้อรัง (Sub-chronic): โดยทั่วไป 28–90 วัน
- เรื้อรัง (Chronic): มากกว่า 90 วัน
- การทดสอบผลต่อระบบสืบพันธุ์และพัฒนาการของตัวอ่อน (Reproductive and Developmental Toxicity Test): ประเมินผลกระทบต่อการเจริญพันธุ์ของพ่อแม่ และพัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์
- การทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา (Pharmacological Activity Test): ประเมินประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ เช่น:
- ฤทธิ์ต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory Test)
- ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด (Antidiabetic Test)
- ฤทธิ์ต้านมะเร็ง (Anticancer Test)
- การทดสอบทางพิษวิทยาเฉพาะทาง (Specialized Toxicological Tests): ประเมินความปลอดภัยในมิติที่เฉพาะเจาะจง เช่น
- การก่อภูมิแพ้ที่ผิวหนัง (Skin Sensitization Test)
- การระคายเคืองต่อผิวหนังหรือดวงตา (Irritation Test)
- ความเป็นพิษต่อระบบภูมิคุ้มกัน (Immunotoxicity Test)
หากคุณต้องการทดสอบผลิตภัณฑ์ด้านเภสัชและพิษวิทยา (Pharmacology & Toxicology) ซึ่งมักจำเป็นต้องมีการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ โดยมีดำเนินการภายใต้แนวทางจริยธรรมที่เข้มงวด และเป็นไปตามหลักการที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) หรือ Thailand institute of Scientific and Technological Research (TISTR) ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร (InnoHerb) ของ วว. ให้บริการและวิจัยทั้งในระดับเซลล์ในหลอดทดลอง (in vitro) และในสัตว์ (in vivo) ณ อาคารเภสัชวิทยาและพิษวิทยา ซึ่งการดำเนินการทั้งหมดอยู่ภายใต้แนวทางด้านจริยธรรมและสวัสดิภาพสัตว์ทดลองอย่างเคร่งครัด พร้อมการรับรองมาตรฐานระดับสากล ได้แก่
- AAALAC International: การรับรองระบบการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ทำให้มั่นใจในกระบวนการที่ถูกต้องตามหลักจรรยาบรรณการใช้สัตว์
- OECD GLP: การรับรองหลักการปฏิบัติที่ดีในห้องปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ และผลการทดสอบที่น่าเชื่อถือ
สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ดร.ศรัญญา เหล่าวิทยางค์กูร โทร 0 2577 9012 หรือ E-mail : tox_service@tistr.or.th
หรืออ่านรายละเอียดการให้บริการเพิ่มเติมของ InnoHERB Testing ที่ https://www.tistr.or.th/Bio-Industries/rdb/herbalproducts/129/
Leave a Reply