เมื่อพูดถึงการสืบค้นข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต คงไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไร แต่ปัจจุบันข้อมูลที่ถูกจัดเก็บและเผยแพร่ผ่านเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ตนั้นมีเพิ่มขึ้น บางเว็บไซต์สามารถใช้ในการอ้างอิงข้อมูลได้ การสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์จะทำการค้นหาข้อมูลในรูปแบบของ Search Engine ซึ่งมีเว็บผู้ให้บริการหลายแห่ง เช่น www.sanook.com www.yahoo.com และอีกเว็บที่นิยมกันมากในบ้านเราคือ www.google.com เป็นต้น

นอกจากนี้แล้ว Search Engine ยังมีวิธีในการค้นหาและจัดเก็บข้อมูลไว้ด้วยวิธีการต่างกันไป ดังนี้

  1. Keyword Index : การค้นหาข้อมูลรูปแบบนี้ จะมีการสำรวจเว็บเพจและอ่านข้อความ ข้อมูล รวมทั้งโครงสร้างภาษาโปรแกรม HTML ซึ่งอยู่ในTAG alt ร่วมด้วย อย่างน้อยประมาณ 200-300 ตัวอักษร วิธีการค้นหาข้อมูลแบบนี้จะเน้นการเรียงลำดับข้อมูลก่อน-หลังเป็นสำคัญ รวมถึงความถี่ในการนำเสนอข้อมูลหรือการที่เว็บเพจถูกเปิดขึ้นมา ซึ่งเป็นการค้นหาที่มีความรวดเร็วมาก แต่ความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อยเพราะไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร
  2. Subject Directories : มีการวิเคราะห์รายละเอียด เนื้อหาของแต่ละเว็บเพจ ด้วยการให้คนเป็นผู้พิจารณา การจัดแบ่งหมวดหมู่จึงขึ้นกับวิจารณญาณของคนที่ทำการจัดเก็บข้อมูล ทำให้การค้นหาค่อนข้างตรงตามความต้องการของผู้ใช้ และมีถูกต้องในการค้นหามากกว่า เช่น หากเราต้องการค้นหาข้อมูลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ Search Engine ชนิดนี้ก็จะประมวลผลรายชื่อเว็บไซต์ หรือเว็บเพจเฉพาะที่เกี่ยวกับด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาให้
  3. Metasearch Engines : เป็นการสืบค้นแบบเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่น ทั้งยังมีความหลากหลายของข้อมูล เป็นการค้นหาที่ไม่คำนึงถึงขนาดของตัวอักษร และอาจจะมองข้ามข้อความประเภท Natural Language (ภาษาพูด)

หลักการค้นหาข้อมูลของ Search Engine

แต่ละ Search Engine จะมีลักษณะและประสิทธิภาพที่แตกต่างกันไปตามแต่ผู้ให้บริการ ลักษณะของปัจจัยที่ใช้ค้นหาโดยหลักๆจะมีดังนี้

  1. การค้นหาจากชื่อของตำแหน่ง URL ใน เว็บไซต์ต่างๆ
  2. การค้นหาจากคำที่มีอยู่ใน Title (ส่วนที่ Browser ใช้แสดงชื่อของเว็บเพจอยู่ทางด้าน ซ้ายบนของหน้าต่างที่แสดง
  3. การค้นหาจากคำสำคัญหรือคำสั่ง keyword (อยู่ใน tag คำสั่งใน html ที่มีชื่อว่า meta)
  4. การค้นหาจากส่วนที่ใช้อธิบายหรือบอกลักษณะ site
  5. การค้นหาคำในหน้าเว็บเพจด้วย Browser ซึ่งการค้นหาคำในหน้าเว็บเพจนั้นจะใช้สำหรับกรณีที่คุณเข้าไปค้นหาข้อมูลที่เว็บ เพจใด เว็บเพจหนึ่ง แล้วภายในมีข้อความปรากฏอยู่เต็มไปหมด จะนั่งไล่ดูทีละบรรทัดคงไม่สะดวก ในลักษณะนี้เราใช้ใช้ browser ช่วยค้นหาให้ ขึ้นแรกให้คุณนำ mouse ไป click ที่ menu Edit แล้วเลือกบรรทัดคำสั่ง Find in Page หรือกดปุ่ม Ctrl + F ที่ keyboard ก็ได้ จากนั้นใส่คำที่ต้องการค้นหาลงไปแล้วก็กดปุ่ม Find Next โปรแกรมก็จะวิ่งหาคำดังกล่าว หากพบมันก็จะกระโดดไปแสดงคำนั้นๆ ซึ่งคุณสามารถกดปุ่ม Find Next เพื่อค้นหาต่อได้ อีกจนกว่าคุณจะพบข้อมูลที่ต้องการ

เทคนิคที่ควรรู้ในการค้นหาข้อมูล

  1. เลือกรูปแบบการค้นหาให้ตรงกับสิ่งที่คุณต้องการมากที่สุด : ถ้าต้องการจะค้นหาข้อมูลที่มีลักษณะทั่วไป ไม่ชี้ เฉพาะเจาะจง ก็ควรเลือกบริการสืบค้นข้อมูลแบบ Index อย่างของ yahoo เพราะ โอกาสที่จะเจอนั้น เปอร์เซ็นต์สูงกว่าจะมานั่งสุ่มหาโดยใช้วิธีแบบ Search Engine
  2. ใช้คำมากกว่า 1 คำที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกัน : เพื่อจะได้ผลลัพธ์ที่แคบลง และตรงกับความต้องการมากขึ้น
  3. ใช้บริการของผู้ให้บริการเฉพาะด้าน : ควรเลือกใช้ Search Engine ที่ให้ข้อมูลเฉพาะทางที่ต้องการทราบ เช่นต้องการสืบค้นข้อมูลงานวิจัย ก็ให้เข้าเว็บที่ให้บริการค้นหาข้อมูลแหล่งงานวิจัยโดยเฉพาะ
  4. ใส่เครื่องหมายคำพูดครอบคลุมกลุ่มคำที่ต้องการ : เพื่อให้ Search Engine ทราบว่าเรา ต้องการผลการค้นหาที่มีเฉพาะคำในกลุ่มนั้น เช่น “Open Source Software” เป็นต้น
  5. การขึ้นต้นของตัวอักษรตัวเล็กเท่ากันหมด : ช่วยให้ Search Engine ค้นหาโดยไม่ต้องคำนึงว่าเป็นตัวอักษรเล็กหรือใหญ่
  6. ใช้ตัวเชื่อมทาง Logic : มี 3 ตัว คือ “AND สั่งให้หาโดยต้องมีคำนั้นๆมาแสดงด้วยเท่านั้น โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องติดกัน เช่น phonelink AND pager เป็นต้น “OR สั่งให้หาโดยจะต้องนำคำใดคำหนึ่งที่พิมพ์ลงไปมาแสดง “NOT สั่งไม่ให้เลือกคำนั้นๆมาแสดง เช่น food and cheese not butter หมายความว่า ให้ทำการหาเว็บที่เกี่ยวข้องกับ food และ cheese แต่ต้องไม่มี butter เป็นต้น
  7. ใช้เครื่องหมายบวกลบคัดเลือกคำ : “+ ใช้หน้าคำที่ต้องการจริงๆ “ ” ใช้นำหน้าคำที่ไม่ต้องการ “( ) ช่วยแยกกลุ่มคำ เช่น(pentium+computer)cpu
  8. ใช้เป็นตัวร่วม : เช่น com* เป็นการบอกให้หาคำที่มีคำว่า com ขึ้นหน้าต่อท้ายเป็นอะไรก็ได้ หรือ *com เป็นการค้นหาคำที่มีด้านหน้าเป็นอะไรก็ได้ต่อท้ายด้วยคำว่า com
  9. หลีก เลี่ยงการใช้ตัวเลข : ถ้าเลี่ยงไม่ได้ควรใส่เครื่องหมายคำพูด “” เช่น “drupal 7” เป็นต้น
  10. หลีก เลี่ยงภาษาพูด
  11. Help และ Site map ช่วยคุณได้ : หากต้องการคำอธิบายหรือ option หรือการใช้งาน หรือแผนผังปีกย่อยของเว็บไซต์

การค้นหาข้อมูลแบบ Index Directory

วิธีนี้ข้อมูลจะถูกคัดแยกเป็นหมวดหมู่ สามารถเลือกเปิดเข้าไปดูเฉพาะในหมวดที่ต้องการ ซึ่งเมื่อ Click เข้าไปจะพบข้อมูลเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องมากน้อยขึ้นอยู่กับที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลระบบ และสามารถเปิดดูผ่านWeb Browser ได้ นอกจากนี้ผู้ให้บริการในรูปแบบ Index Directory ยังนิยมเรียงลำดับข้อมูลโดยนำ site ที่มีความเกี่ยวข้องกับหมวดข้อมูลมากที่สุดไว้ด้านบนเพื่อความสะดวกและง่ายต่อการตัดสินใจเปิดดูของผู้สืบค้น

การค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตนั้น ถือเป็นบริการที่จำเป็นและมีผู้นิยมมากในปัจจุบัน ทั้งนี้การใช้งานคงขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภคข้อมูลข่าวสารว่าต้องการวิธีการสืบค้นหาข้อมูลลักษณะใด หากต้องการข้อมูลเชิงกว้างและมีอิสระในการค้นหาก็ต้องเข้าเว็บไซต์ยอดฮิตอย่าง google หรือหาต้องการข้อมูลลักษณะ Index Directory ที่มีการจัดหมวดหมูไว้แล้วก็ใช้บริการของ yahoo เป็นต้น

อ้างอิง : http://thana-za.exteen.com/20071123/search-engine-1