ส่วนผสม
เนื้อมะเขือเทศ 90 กรัม
น้ำสะอาด 200 กรัม
น้ำตาลทราย 100 กรัม
เกลือป่น 1 กรัม
เพคติน 4 กรัม
น้ำมะนาว 10 กรัม
วิธีทำ
ชั่งส่วนผสมตามสูตร
ล้างมะเขือเทศคว้านเมล็ดออกเอาแต่เนื้อ
ปั่นมะเขือเทศกับน้ำสะอาดจนละเอียด(น้ำมะเขือเทศ)
ตั้งไฟน้ำมะเขือเทศจนเดือนจับเวลา 10 นาที
ผสมเพคติน เกลือ น้ำตาลทรายเข้าด้วยกันแล้วเติมส่วนผสมของเพคตินในน้ำมะเขือเทศ
คนให้ละลาย จับเวลา 20 นาที
เติมน้ำมะนาวจับเวลา 10 นาทีและเคียวต่อจนกระทั่งน้ำหนักสุดท้ายของผลิตภัณฑ์เหลือ 185 กรัม
บรรจุใส่ภาชนะที่ลวกเสร็จใหม่ๆขณะแยมยังร้อน

ส่วนผสม

  • เนื้อมะเขือเทศ 90 กรัม
  • น้ำสะอาด 200 กรัม
  • น้ำตาลทราย 100 กรัม
  • เกลือป่น 1 กรัม
  • เพคติน 4 กรัม
  • น้ำมะนาว 10 กรัม

วิธีทำ

  1. ชั่งส่วนผสมตามสูตร
  2. ล้างมะเขือเทศคว้านเมล็ดออกเอาแต่เนื้อ
  3. ปั่นมะเขือเทศกับน้ำสะอาดจนละเอียด(น้ำมะเขือเทศ)
  4. ตั้งไฟน้ำมะเขือเทศจนเดือนจับเวลา 10 นาที
  5. ผสมเพคติน เกลือ น้ำตาลทรายเข้าด้วยกันแล้วเติมส่วนผสมของเพคตินในน้ำมะเขือเทศ
  6. คนให้ละลาย จับเวลา 20 นาที
  7. เติมน้ำมะนาวจับเวลา 10 นาทีและเคียวต่อจนกระทั่งน้ำหนักสุดท้ายของผลิตภัณฑ์เหลือ 185 กรัม
  8. บรรจุใส่ภาชนะที่ลวกเสร็จใหม่ๆขณะแยมยังร้อน

ก่อนที่เราจะมาทำแยมผลไม้เพื่อสุขภาพกันนั้น เรามารู้จักส่วนผสมสำหรับทำแยมผลไม้เพื่อสุขภาพกันก่อนดีกว่า

กล้วยน้ำว้า

เป็นกล้วยพันธุ์หนึ่ง พัฒนามาจากลูกผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานี บริโภคอย่างแพร่หลาย ปลูกง่าย รสชาติดี อร่อยด้วย  กล้วยน้ำว้ามีธาตุเหล็กในปริมาณสูง ช่วยสร้างเม็ดเลือกแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง  กล้วยน้ำว้ามีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินซีช่วยบำรุงกระดูกฟันและเหงือกให้แข็งแรง ช่วยให้ผิวพรรณดี  กล้วยน้ำว้ามีเบต้าแคโรทีน ไนอาซีนและใยอาหาร ช่วยให้ระบบขับถ่ายคล่อง  การกินกล้วยน้ำว้าจะช่วยระบายท้อง  กล้วยน้ำว้าดิบและห่ามมีสารแทนนิน เพคติน มีรสฝาดสมานรักษาอาการท้องเสียที่ไม่รุนแรงได้ โดยกินครั้งละครึ่งผลหรือ ๑ ผล อาการท้องเสียจะทุเลาลง นอกจากนี้จากการศึกษาวิจัยยังพบว่า มีผลในการรักษาโรคกระเพาะได้อีกด้วย

มะเขือเทศ

รูปร่างมีทั้งกลม ผิวนอกลีบเป็นมัน ผลดิบมีสีเขียวหรือเขียวอมเทา เมื่อสุกจะมีสีเหลือง สีส้มหรือสีแดง เนื้อภายในฉ่ำด้วยน้ำ มีรสเปรี้ยว เมล็ดมีเป็นจำนวนมาก  มะเขือเทศสามารถยังยั้งการเจริญเติมโตของเชื้อรา ดังนั้นจึงใช้เป็นยารักษาโรคที่เกี่ยวกับปากที่เกิดจากเชื้อรา  มะเขือเทศสามารถป้องกันและรักษาโรคลักปิดลักเปิด  มะเขือเทศมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ คือ ไลโคปีน มีคุณสมบัติลดการเกิดมะเร็งลำไส้และมเร็งต่อมลูกหมากได้  มะเขือเทศมีเบต้าแคโรทีน และฟอสฟอรัสมาก  มะเขือเทศมีกรดอะมิโนชื่อ กลูตามิค สูง ซึ่งกรดอะมิโนนี้เป็นกรดอะมิโนตัวเดียวกับที่อยู่ในผงชูรสด้วย  มะเขือเทศยังช่วยระบบย่อยและช่วยการขับถ่ายอุจจาระ  เราสามารถรักษาสิว สมานผิวหน้าให่เต่งตึง โดยใช้น้ำมะเขือเทศพองหน้า หรืออาจจะนำมะเขือเทศสุกฝานบางๆแปะบนใบหน้าจะช่วยให้ผิวอ่อนนุ่มได้

มะนาว

ผลมีรสเปรี้ยวจัด จัดอยู่ในสกุล ส้ม (Citrus) ผลสีเขียว เมื่อสุกจัดจะมีสีเหลือง เปลือกบาง ภายในมีเนื้อแบ่งกลีบๆ ชุ่มน้ำมาก  นับเป็นผลไม้ที่มีคุณค่า นิยมใช้เป็นเครื่องปรุงรสนอกจากนี้ยังถือว่ามีคุณค่าทางโภชนาการ  ในมะนาวมีปริมาณของกรดซิตริกมีความลำคัญต่อรสของผลิตภัณท์ประเภทแยมและยังช่วยให้เจลอยู่ตัวมากขึ้น แต่ถ้ามีกรดมากเกินไปก็จะทำลายความอยู่ตัวของแจลได้

แยม

ผลิตภัณฑ์ทำจากผลไม้กับสารที่ให้ความหวาน อาจผสมน้ำผลไม้หรือผลน้ำผลไม้เข็มข้นด้วยก็ได้ และทำให้มีความเหนียวพอเหมาะ  แยมประกอบด้วยส่วนของผลไม้ 45 ส่วนต่อน้ำตาล 55 ส่วน ต้มหรือเคี่ยวไปเรื่อยๆจนมีความเข้มข้นประมาณ 68.5-70 องศาบริกซ์ มีค่า pH 3.5  แยมอาจทำจากผลไม้ชนิดเดียวหรือหลานชนิดผสมกันก็ได้

น้ำตาล

เป็นตัวให้ความหวานและเนื้อแก่ผลิตภัณฑ์ และช่วยให้เพคตินตกตะกอนเป็นเจล  ปริมาณน้ำตาลที่ใช้ขึ้นอยู่กับปริมาณแพคตินและความเป็นกรดด่างของเนื้อหรือน้ำผลไม้ชนิดนั้นๆ ถ้าปริมาณแพคตินมาก ปริมาณน้ำตาลที่ใช้ต่อน้ำหนักของผลไม้ก็มากด้วย แต่ถ้าผลไม้มีความเป็นกรดสูง(เปรี้ยว)จะใช้ประมาณน้ำตาลน้อย

เพคติน

เพคติล ( pectin) เป็นสารละลายน้ำได้  เป็นสารที่สกัดจากผลไม้ เช่น เปลือกส้ม ส้มโอ เป็นต้น  เพคติลจะเกิดเป็นร่างแหในขณะที่ต้มน้ำตาลกับผลไม้ ทำให้เกิดเจลขึ้น ปริมาณเพคติลที่เติมลงไปขึ้นอยู่กับชนิดผลไม้ คือ ถ้าปริมาณเพคตินในผลไม้มากจำนวนเพคติลที่เติมลงไปก็น้อยหรืออาจไม่ต้อง ใช้เลยก็ได้

เกลือ

เป็นแร่ธาตุทางโภชนาการชนิดหนึ่ง โดยหลักแล้วคือโซเดียมคลอไรด์ ( เกลือแกง)  เกลือบริโภคสามารถผลิตได้จากน้ำทะเลหรือดินเค็ม เป็นเครื่องปรุงอาหารที่ให้รสเค็มที่มีมาตั้งแต่โบราณ สามารถใช้ถนอมอาหารได้

บล็อกประสานคืออะไร

บล็อกประสาน คือ วัสดุก่อรับน้ำหนักที่ได้ทำการพัฒนารูปแบบให้มีรู และเดือยบนตัวบล็อก เพื่อให้สะดวกในการก่อสร้าง โดยเน้นการใช้วัตถุดิบในพื้นที่ ได้แก่ ดินลูกรัง หินฝุ่น ทราย หรือวัสดุเหลือทิ้งต่างๆที่มีความเหมาะสม นำมาผสมกับปูนซีเมนต์ และน้ำในสัดส่วนที่เหมาะสม อัดเป็นก้อนด้วยเครื่องอัดแล้วนำมาบ่ม ให้บล็อกแข็งตัวประมาณ 7 วัน จะได้คอนกรีตบล็อกที่มีความแข็งแกร่ง มีรูปลักษณะพิเศษ ที่สามารถใช้ในการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ หรือก่อเป็นถังเก็บน้ำได้อย่างรวดเร็ว สวยงาม และประหยัดกว่างานก่อสร้างทั่วไป

บล็อกประสานแบ่งการใช้งานเป็น 2 ประเภท เพื่อให้เหมาะกับการใช้งาน

1. บล็อกตรงหรือทรงสี่เหลี่ยมใช้สำหรับก่อสร้างอาคาร

2. บล็อกโค้งใช้สำหรับก่อสร้างถังเก็บน้ำ

วัตถุดิบที่เหมาะสมสำหรับทำบล็อกประสาน

วัตถุดิบที่ใช้เป็นส่วนผสม หรือ มวลรวมละเอียดของบล็อกประสานควรมีขนาดเล็กกว่า 4 มม. ได้แก่ ดินลูกรัง หินฝุ่น ทราย และเถ้าลอย(Fly ash)จากโรงงานผลิตไฟฟ้า โดยมวลรวมละเอียดที่ใช้ควรมีลักษณะตามมาตรฐานการแบ่งชั้นคุณภาพดินและมวลรวม สำหรับงานก่อสร้างทางหลวง (ASTM D3282 Standard Classification of Soils and Soil-Aggregate Mixtures for Highway Construction Purposes) คือมีฝุ่นดินไม่เกินร้อยละ 35 โดยน้ำหนัก หรือทดสอบเบื้องต้นโดยนำดินใส่ขวดครึ่งหนึ่ง เติมน้ำแล้วเขย่าให้เข้ากัน เมื่อหยุดเขย่า สังเกตส่วนที่ตกตะกอนทันทีแล้วขีดเส้นไว้ รอจนตกตะกอนทั้งหมดจนน้ำใส แล้ววัดตะกอนฝุ่นไม่ควรเกินร้อยละ 15 โดยปริมาตร ถ้าวัตถุดิบมีมวลหยาบผสมอยู่มากสามารถใช้เครื่องบดร่อนจะทำให้ผิวบล็อกเรียบขึ้น

ปูนซีเมนต์สำหรับงานบล็อกประสาน

คือปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (ปูนโครงสร้าง) จะให้ก้อนบล็อกประสานมีความแข็งแกร่ง ทนการกัดกร่อนของน้ำได้ดี การใช้ปูนซีเมนต์ผสม (ปูนก่อฉาบ) คุณภาพจะต่ำกว่าทำให้ต้องใช้ปริมาณปูนมากขึ้น เพื่อให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้น

ส่วนผสมของบล็อกประสาน

ส่วนผสมของบล็อกประสานที่เหมาะสมควร ทำการทดลองในห้องปฏิบัติการ ส่วนใหญ่มีอัตราส่วนผสมระหว่างปูนซีเมนต์ต่อมวลรวมประมาณ 1 : 6 ถึง 1 : 7 โดยน้ำหนัก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของมวลรวมเป็นหลัก

เครื่องอัดบล็อกประสาน

เครื่องอัดด้วยแรงคน

  1. เป็นเครื่องอัดด้วยแรงคนแบบมือโยกใช้การทดแรงแบบคานงัดคานดีด
  2. สามารถผลิตได้วันละประมาณ 200-400 ก้อน

ขึ้นอยู่กับจำนวนแรงงานและความชำนาญ

เครื่องอัดไฮดรอลิก

เป็นเครื่องอัดแบบอุตสาหกรรมขนาดย่อมใช้มอเตอร์เป็นตัวขับน้ำมันสร้างแรงดันในท่อไฮดรอลิก

  • สามารถผลิตได้วันละประมาณ 1,000 – 4,000 ก้อน
  • อัดได้ครั้งละ 1 – 4 ก้อน

ขั้นตอนการทำบล็อกประสาน วว

  1. ทดสอบแหล่งดินเพื่อหาแหล่งที่เหมาะสมที่สุด และกำหนดส่วนผสมที่เหมาะสม

  2. เตรียมวัตถุดิบ ถ้ามีความชื้นมากควรนำไปตากให้แห้งและกองเก็บวัตถุดิบในที่ร่มให้มากเพียงพอที่จะทำการผลิตตลอดเวลา หากดินเป็นก้อน หรือมีมวลหยาบน้อย ควรร่อนผ่านตะแกรงขนาด 2 – 4 มม. ไม่ควรใช้ตาละเอียดมากเกินไป เพราะจะทำให้ได้แต่เนื้อฝุ่นดิน ทำให้ก้อนบล็อกไม่มีความแข็งแรง ถ้าเนื้อดินมีก้อนใหญ่หรือมวลหยาบมากควรใช้เครื่องบดร่อน แล้วกองเก็บในที่ร่มเพื่อรอผลิต

  3. ในการผสม ควรผสมดินแห้งหรือมวลรวมกับซีเมนต์ให้เข้ากันก่อน แล้วค่อย ๆ เติมน้ำโดยใช้ฝักบัว หรือหัวฉีดพ่นให้เป็นละอองกว้าง น้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำสะอาด ใช้ผสมหลังจากผสมดิน และซีเมนต์เข้ากันแล้วในปริมาณที่พอเหมาะ โดยใช้ปริมาณน้ำที่ดีที่สุด

  4. หลังจากนั้นจึงนำดินที่ผสมแล้วเข้าเครื่องอัด โดยตวงวัดหน่วยเป็นน้ำหนัก เติมส่วนผสมลงในแบบอัดโดยใช้น้ำหนักมากที่สุดที่สามารถทำงานได้สะดวก ควรใช้ส่วนผสมให้หมดภายใน 30 นาที.หลังจากผสมน้ำ เพื่อป้องกันปูนก่อตัวก่อนอัดขึ้นรูป
  5. บล็อกประสาน วว. ที่อัดเป็นก้อนแล้วควรผึ่งในที่ร่มอย่างน้อย 1 วัน จึงเริ่มบ่มจนอายุครบ 7 วัน

วิธีการบ่ม

หลังจากนำบล็อกออกจากเครื่องอัดแล้วนำมาจัดเรียงในที่ร่มจนมีอายุครบ 1 วัน เริ่มบ่มโดยการรดน้ำด้วยฝักบัวหรือฉีดพ่นเป็นละอองให้ชุ่ม แล้วคลุมด้วยผ้าพลาสติกไม่ให้ไอน้ำระเหยออก ทิ้งไว้อีก 9 วันจนมีอายุครบ 7 วันจนมีความแข็งแรงพร้อมส่งออกจำหน่ายหรือใช้งานได้ ไม่ควรเคลื่อนย้ายก่อนกำหนดเพราะจะทำให้ก้อนบิ่น หรือเกิดการแตกร้าวได้ง่าย การบ่มไม่ควรให้น้ำมากเกินเพราะอาจทำให้มีปัญหาคราบขาวได้ ควรบ่มด้วยปริมาณน้ำที่น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ คือเพียงแค่ให้มีความชื้นก็เพียงพอ

ข้อดีของอาคารที่สร้างด้วยบล็อกประสาน วว.

  1. ใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น มีความแข็งแรง ทนทาน
  2. ก่อสร้างง่าย รวดเร็ว โดยไม่ต้องใช้ทั้งเสา ไม้แบบ และการฉาบปูน
  3. ประหยัดราคาในการก่อสร้างเพราะลดเวลา และค่าแรงงานในการก่อสร้าง
  4. มีความสวยงามตามธรรมชาติ โดยไม่ต้องทาสี
  5. สร้างงานและอาชีพเสริมให้แก่ประชาชนทั้งในเมืองและในชนบท
  6. ช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยลดการ ตัดไม้ทำลายป่า เพื่อนำมาใช้ในการก่อสร้าง

อาคารบล็อกประสานหลังแรกสร้าง เมื่อปี พ.ศ. 2527

สนใจเข้าอบรมการผลิตบล็อกประสาน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ

ฝ่ายนวัตกรรมวัสดุ
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
35 ม.3 เทคโนธานี ต.คลองห้า อ.คลองหลวง ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์025779432-33,025779435
โทรสาร 025779432
www.technologyblockprasan.com