โดย มนฑิณี กมลธรรม
ฝ่ายเทคโนโลยีการเกษตร
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
การยืดอายุการเก็บรักษากล้วยหอมทองโดยใช้สารดูดซับเอทิลีน
ปัญหาที่สำคัญในการส่งออกผลไม้สดของไทย ได้แก่การเน่าเสีย การสูญเสียคุณภาพของผลิตผลก่อนที่จะส่งถึงตลาดปลายทางและระหว่างการตลาดในประเทศผู้นำเข้า ซึ่งปัญหานี้เป็นปัจจัยสำคัญในการขยายตลาดของผลิตผลสดหลังการเก็บเกี่ยวโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องใช้เวลาในการขนส่งนานๆในตู้เรือปรับอากาศไปยังประเทศต่างๆที่ห่างไกล ผู้ส่งออกส่วนใหญ่มักอาศัยอายุการเก็บเกียวผลไม้มาใช้ในการเก็บรักษา
การยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้มีหลายวิธี เช่น การเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ การใช้สารเคลือบผิว การเก็บรักษาในสภาพบรรยากาศดัดแปลง (modified atmosphere) และการใช้สารดูดซับเอทิลีน เนื่องจากตัวการที่ทำให้ผลไม้เกิดกระบวนการสุกแก่คือเอทิลีน ทำให้ดอกไม้เหี่ยวเร็วขึ้นและทำให้เกิดการหลุดร่วงของใบ เอทิลีนเป็นฮอร์โมนพืชชนิดเดียวที่เป็นแก๊ส มีสูตรทางเคมีคือ C2H4 เกิดจากกระบวนการเมทาบอลิซึมของพืช การใช้สารดูดซํบเอทิลีนในการยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้เหมาะกับผลไม้ประเภท climacteric ซึ่งจะมีอัตราการหายใจสูงขึ้นและมีการผลิตเอทิลีนสูงในระยะที่กำลังสุก เช่น กล้วย ทุเรียน มะม่วง เป็นต้น
เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้สดเพื่อการส่งออก สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ฝ่ายเทคโนโลยีการเกษตร ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาสารดูดซับเอทิลีน เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการส่งออก จากผลการศึกษาวิจัย ทำให้สามารถผลิตสารดูดซับเอทิลีนได้ในต้นทุนที่ต่ำและมีประสิทธิภาพดีไม่แตกต่างจากสารดูดซับเอทิลีนทางการค้า สามารถผลิตได้ง่าย เพื่อให้เหมาะสมในการใช้ในเชิงพาณิชย์ และลดการนำเข้าสารดูดซับเอทิลีนที่ผลิตจากต่างประเทศและสามารถยืดอายุการเก็บรักษาผลิตผลสดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การยืดอายุการเก็บรักษากล้วยหอมทองเพื่อการส่งออกโดยใช้สารดูดซับเอทิลีนน้ำหนัก 10 กรัม (1 ซอง) บรรจุร่วมกับกล้วยหอมทองหนัก 12 กิโลกรัม โดยใส่ในถุง Polyethylene มัดปากถุงให้แน่นแล้วใส่ในกล่อง จากนั้นนำไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 14 องศาเซลเซียล สามารถเก็บรักษากล้วยหอมทองได้นานถึง 10 สัปดาห์ เมื่อเทียบกับกล้วยหอมทองที่เก็บรักษาโดยไม่ใช้สารดูดซับเอทิลีนสามารถเก็บได้เพียง 4 สัปดาห์ โดยปริมาณแก๊สเอทิลีนในถุงที่ใช้สารดูดซับเอทิลีนร่วมในการเก็บกล้วยหอมทองจะอยู่ที่ 0.01-0.03 ppm ตลอดระยะการเก็บรักษา 10 สัปดาห์ แต่ในกลุ่มควบคุมปริมาณแก๊สเอทิลีนจะเพิ่มขึ้นสูงถึง 0.29 ppm ในสัปดาห์ที่ 5 ของการเก็บรักษาคือกล้วยหอมทองสุกและเริ่มเน่าเสีย

โดย มนฑิณี กมลธรรม

ฝ่ายเทคโนโลยีการเกษตร

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ปัญหาที่สำคัญในการส่งออกผลไม้สดของไทย ได้แก่การเน่าเสีย การสูญเสียคุณภาพของผลิตผลก่อนที่จะส่งถึงตลาดปลายทางและระหว่างการตลาดในประเทศผู้นำเข้า ซึ่งปัญหานี้เป็นปัจจัยสำคัญในการขยายตลาดของผลิตผลสดหลังการเก็บเกี่ยวโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องใช้เวลาในการขนส่งนานๆในตู้เรือปรับอากาศไปยังประเทศต่างๆที่ห่างไกล ผู้ส่งออกส่วนใหญ่มักอาศัยอายุการเก็บเกียวผลไม้มาใช้ในการเก็บรักษา

การยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้มีหลายวิธี เช่น การเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ การใช้สารเคลือบผิว การเก็บรักษาในสภาพบรรยากาศดัดแปลง (modified atmosphere) และการใช้สารดูดซับเอทิลีน

เนื่องจากตัวการที่ทำให้ผลไม้เกิดกระบวนการสุกแก่ คือ เอทิลีน ทำให้ดอกไม้เหี่ยวเร็วขึ้นและทำให้เกิดการหลุดร่วงของใบ

เอทิลีน เป็นฮอร์โมนพืชชนิดเดียวที่เป็นแก๊ส มีสูตรทางเคมีคือ C2H4 เกิดจากกระบวนการเมทาบอลิซึมของพืช การใช้สารดูดซับเอทิลีนในการยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้เหมาะกับผลไม้ประเภท climacteric ซึ่งจะมีอัตราการหายใจสูงขึ้นและมีการผลิตเอทิลีนสูงในระยะที่กำลังสุก เช่น กล้วย ทุเรียน มะม่วง เป็นต้น

เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้สดเพื่อการส่งออก สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ฝ่ายเทคโนโลยีการเกษตร ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาสารดูดซับเอทิลีน เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการส่งออก จากผลการศึกษาวิจัย ทำให้สามารถผลิตสารดูดซับเอทิลีนได้ในต้นทุนที่ต่ำและมีประสิทธิภาพดีไม่แตกต่างจากสารดูดซับเอทิลีนทางการค้า สามารถผลิตได้ง่าย เพื่อให้เหมาะสมในการใช้ในเชิงพาณิชย์ และลดการนำเข้าสารดูดซับเอทิลีนที่ผลิตจากต่างประเทศและสามารถยืดอายุการเก็บรักษาผลิตผลสดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การยืดอายุการเก็บรักษากล้วยหอมทองเพื่อการส่งออกโดยใช้สารดูดซับเอทิลีนน้ำหนัก 10 กรัม (1 ซอง) บรรจุร่วมกับกล้วยหอมทองหนัก 12 กิโลกรัม โดยใส่ในถุง Polyethylene มัดปากถุงให้แน่นแล้วใส่ในกล่อง จากนั้นนำไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 14 องศาเซลเซียล สามารถเก็บรักษากล้วยหอมทองได้นานถึง 10 สัปดาห์ เมื่อเทียบกับกล้วยหอมทองที่เก็บรักษาโดยไม่ใช้สารดูดซับเอทิลีนสามารถเก็บได้เพียง 4 สัปดาห์ โดยปริมาณแก๊สเอทิลีนในถุงที่ใช้สารดูดซับเอทิลีนร่วมในการเก็บกล้วยหอมทองจะอยู่ที่ 0.01-0.03 ppm ตลอดระยะการเก็บรักษา 10 สัปดาห์ แต่ในกลุ่มควบคุมปริมาณแก๊สเอทิลีนจะเพิ่มขึ้นสูงถึง 0.29 ppm ในสัปดาห์ที่ 5 ของการเก็บรักษาคือกล้วยหอมทองสุกและเริ่มเน่าเสีย