แยมกล้วยผสมมะเขือเทศ
ส่วนผสม
กล้วยน้ำว้า 50 กรัม
เนื้อมะเขือเทศ 50 กรัม
น้ำสะอาด 200 กรัม
น้ำตาลทราย 150 กรัม
เกลือป่น 1 กรัม
เพคติน 4 กรัม
น้ำมะนาว 15 กรัม
วิธีทำ
ชั่งส่วนผสมตามสูตร
ปอกกล้วยและล้างมะเขือเทศคว้านเมล็ดออกเอาแต่เนื้อ
ปั้นกล้วยและปั่นมะเขือเทศกับน้ำสะอาดจนละเอียด(น้ำกล้วย+น้ำมะเขือเทศ)
ตั้งไฟน้ำมะเขือเทศจนเดือนจับเวลา 10 นาที
ผสมเพคติน เกลือ น้ำตาลทรายเข้าด้วยกันแล้วเติมส่วนผสมของเพคตินในน้ำกล้วย+น้ำมะเขือเทศ
คนให้ละลาย จับเวลา 20 นาที
เติมน้ำมะนาวจับเวลา 10 นาที
บรรจุใส่ภาชนะที่ลวกเสร็จใหม่ๆขณะแยมยังร้อน
แยมกล้วยผสมมะเขือเทศ
ส่วนผสม
  • กล้วยน้ำว้า 50 กรัม
  • เนื้อมะเขือเทศ 50 กรัม
  • น้ำสะอาด 200 กรัม
  • น้ำตาลทราย 150 กรัม
  • เกลือป่น 1 กรัม
  • เพคติน 4 กรัม
  • น้ำมะนาว 15 กรัม
วิธีทำ
  1. ชั่งส่วนผสมตามสูตร
  2. ปอกกล้วยและล้างมะเขือเทศคว้านเมล็ดออกเอาแต่เนื้อ
  3. ปั้นกล้วยและปั่นมะเขือเทศกับน้ำสะอาดจนละเอียด(น้ำกล้วย+น้ำมะเขือเทศ)
  4. ตั้งไฟน้ำมะเขือเทศจนเดือนจับเวลา 10 นาที
  5. ผสมเพคติน เกลือ น้ำตาลทรายเข้าด้วยกันแล้วเติมส่วนผสมของเพคตินในน้ำกล้วย+น้ำมะเขือเทศ
  6. คนให้ละลาย จับเวลา 20 นาที
  7. เติมน้ำมะนาวจับเวลา 10 นาที
  8. บรรจุใส่ภาชนะที่ลวกเสร็จใหม่ๆขณะแยมยังร้อน

ส่วนผสม
เนื้อมะเขือเทศ 90 กรัม
น้ำสะอาด 200 กรัม
น้ำตาลทราย 100 กรัม
เกลือป่น 1 กรัม
เพคติน 4 กรัม
น้ำมะนาว 10 กรัม
วิธีทำ
ชั่งส่วนผสมตามสูตร
ล้างมะเขือเทศคว้านเมล็ดออกเอาแต่เนื้อ
ปั่นมะเขือเทศกับน้ำสะอาดจนละเอียด(น้ำมะเขือเทศ)
ตั้งไฟน้ำมะเขือเทศจนเดือนจับเวลา 10 นาที
ผสมเพคติน เกลือ น้ำตาลทรายเข้าด้วยกันแล้วเติมส่วนผสมของเพคตินในน้ำมะเขือเทศ
คนให้ละลาย จับเวลา 20 นาที
เติมน้ำมะนาวจับเวลา 10 นาทีและเคียวต่อจนกระทั่งน้ำหนักสุดท้ายของผลิตภัณฑ์เหลือ 185 กรัม
บรรจุใส่ภาชนะที่ลวกเสร็จใหม่ๆขณะแยมยังร้อน

ส่วนผสม

  • เนื้อมะเขือเทศ 90 กรัม
  • น้ำสะอาด 200 กรัม
  • น้ำตาลทราย 100 กรัม
  • เกลือป่น 1 กรัม
  • เพคติน 4 กรัม
  • น้ำมะนาว 10 กรัม

วิธีทำ

  1. ชั่งส่วนผสมตามสูตร
  2. ล้างมะเขือเทศคว้านเมล็ดออกเอาแต่เนื้อ
  3. ปั่นมะเขือเทศกับน้ำสะอาดจนละเอียด(น้ำมะเขือเทศ)
  4. ตั้งไฟน้ำมะเขือเทศจนเดือนจับเวลา 10 นาที
  5. ผสมเพคติน เกลือ น้ำตาลทรายเข้าด้วยกันแล้วเติมส่วนผสมของเพคตินในน้ำมะเขือเทศ
  6. คนให้ละลาย จับเวลา 20 นาที
  7. เติมน้ำมะนาวจับเวลา 10 นาทีและเคียวต่อจนกระทั่งน้ำหนักสุดท้ายของผลิตภัณฑ์เหลือ 185 กรัม
  8. บรรจุใส่ภาชนะที่ลวกเสร็จใหม่ๆขณะแยมยังร้อน

ก่อนที่เราจะมาทำแยมผลไม้เพื่อสุขภาพกันนั้น เรามารู้จักส่วนผสมสำหรับทำแยมผลไม้เพื่อสุขภาพกันก่อนดีกว่า

กล้วยน้ำว้า

เป็นกล้วยพันธุ์หนึ่ง พัฒนามาจากลูกผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานี บริโภคอย่างแพร่หลาย ปลูกง่าย รสชาติดี อร่อยด้วย  กล้วยน้ำว้ามีธาตุเหล็กในปริมาณสูง ช่วยสร้างเม็ดเลือกแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง  กล้วยน้ำว้ามีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินซีช่วยบำรุงกระดูกฟันและเหงือกให้แข็งแรง ช่วยให้ผิวพรรณดี  กล้วยน้ำว้ามีเบต้าแคโรทีน ไนอาซีนและใยอาหาร ช่วยให้ระบบขับถ่ายคล่อง  การกินกล้วยน้ำว้าจะช่วยระบายท้อง  กล้วยน้ำว้าดิบและห่ามมีสารแทนนิน เพคติน มีรสฝาดสมานรักษาอาการท้องเสียที่ไม่รุนแรงได้ โดยกินครั้งละครึ่งผลหรือ ๑ ผล อาการท้องเสียจะทุเลาลง นอกจากนี้จากการศึกษาวิจัยยังพบว่า มีผลในการรักษาโรคกระเพาะได้อีกด้วย

มะเขือเทศ

รูปร่างมีทั้งกลม ผิวนอกลีบเป็นมัน ผลดิบมีสีเขียวหรือเขียวอมเทา เมื่อสุกจะมีสีเหลือง สีส้มหรือสีแดง เนื้อภายในฉ่ำด้วยน้ำ มีรสเปรี้ยว เมล็ดมีเป็นจำนวนมาก  มะเขือเทศสามารถยังยั้งการเจริญเติมโตของเชื้อรา ดังนั้นจึงใช้เป็นยารักษาโรคที่เกี่ยวกับปากที่เกิดจากเชื้อรา  มะเขือเทศสามารถป้องกันและรักษาโรคลักปิดลักเปิด  มะเขือเทศมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ คือ ไลโคปีน มีคุณสมบัติลดการเกิดมะเร็งลำไส้และมเร็งต่อมลูกหมากได้  มะเขือเทศมีเบต้าแคโรทีน และฟอสฟอรัสมาก  มะเขือเทศมีกรดอะมิโนชื่อ กลูตามิค สูง ซึ่งกรดอะมิโนนี้เป็นกรดอะมิโนตัวเดียวกับที่อยู่ในผงชูรสด้วย  มะเขือเทศยังช่วยระบบย่อยและช่วยการขับถ่ายอุจจาระ  เราสามารถรักษาสิว สมานผิวหน้าให่เต่งตึง โดยใช้น้ำมะเขือเทศพองหน้า หรืออาจจะนำมะเขือเทศสุกฝานบางๆแปะบนใบหน้าจะช่วยให้ผิวอ่อนนุ่มได้

มะนาว

ผลมีรสเปรี้ยวจัด จัดอยู่ในสกุล ส้ม (Citrus) ผลสีเขียว เมื่อสุกจัดจะมีสีเหลือง เปลือกบาง ภายในมีเนื้อแบ่งกลีบๆ ชุ่มน้ำมาก  นับเป็นผลไม้ที่มีคุณค่า นิยมใช้เป็นเครื่องปรุงรสนอกจากนี้ยังถือว่ามีคุณค่าทางโภชนาการ  ในมะนาวมีปริมาณของกรดซิตริกมีความลำคัญต่อรสของผลิตภัณท์ประเภทแยมและยังช่วยให้เจลอยู่ตัวมากขึ้น แต่ถ้ามีกรดมากเกินไปก็จะทำลายความอยู่ตัวของแจลได้

แยม

ผลิตภัณฑ์ทำจากผลไม้กับสารที่ให้ความหวาน อาจผสมน้ำผลไม้หรือผลน้ำผลไม้เข็มข้นด้วยก็ได้ และทำให้มีความเหนียวพอเหมาะ  แยมประกอบด้วยส่วนของผลไม้ 45 ส่วนต่อน้ำตาล 55 ส่วน ต้มหรือเคี่ยวไปเรื่อยๆจนมีความเข้มข้นประมาณ 68.5-70 องศาบริกซ์ มีค่า pH 3.5  แยมอาจทำจากผลไม้ชนิดเดียวหรือหลานชนิดผสมกันก็ได้

น้ำตาล

เป็นตัวให้ความหวานและเนื้อแก่ผลิตภัณฑ์ และช่วยให้เพคตินตกตะกอนเป็นเจล  ปริมาณน้ำตาลที่ใช้ขึ้นอยู่กับปริมาณแพคตินและความเป็นกรดด่างของเนื้อหรือน้ำผลไม้ชนิดนั้นๆ ถ้าปริมาณแพคตินมาก ปริมาณน้ำตาลที่ใช้ต่อน้ำหนักของผลไม้ก็มากด้วย แต่ถ้าผลไม้มีความเป็นกรดสูง(เปรี้ยว)จะใช้ประมาณน้ำตาลน้อย

เพคติน

เพคติล ( pectin) เป็นสารละลายน้ำได้  เป็นสารที่สกัดจากผลไม้ เช่น เปลือกส้ม ส้มโอ เป็นต้น  เพคติลจะเกิดเป็นร่างแหในขณะที่ต้มน้ำตาลกับผลไม้ ทำให้เกิดเจลขึ้น ปริมาณเพคติลที่เติมลงไปขึ้นอยู่กับชนิดผลไม้ คือ ถ้าปริมาณเพคตินในผลไม้มากจำนวนเพคติลที่เติมลงไปก็น้อยหรืออาจไม่ต้อง ใช้เลยก็ได้

เกลือ

เป็นแร่ธาตุทางโภชนาการชนิดหนึ่ง โดยหลักแล้วคือโซเดียมคลอไรด์ ( เกลือแกง)  เกลือบริโภคสามารถผลิตได้จากน้ำทะเลหรือดินเค็ม เป็นเครื่องปรุงอาหารที่ให้รสเค็มที่มีมาตั้งแต่โบราณ สามารถใช้ถนอมอาหารได้

แยม

หมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเนื้อผลไม้ หรือ น้ำผลไม้ และปรุงรสให้มีความหวาน เช่น ใช้น้ำตาลทรายปรุงรส แล้วนำมาให้ความร้อนเพื่อระเหยน้ำ และทำให้มีความหนืดข้นพอเหมาะ อาจมีส่วนผสมของเนื้อผลไม้บ้างตามชอบ

คุณลักษณะของแยมที่ดี

แยมที่ดีต้องมีลักษณะข้นเหนียวหรือเหลวพอเหมาะสำหรับใช้ทาขนมปัง มีสี กลิ่น รส ตามชนิดของผลไม้ที่ใช้ และทำให้มีความหวานไม่ต่ำกว่า 65 บริกซ์ โดยใช้เครื่องรีแฟรคโตมิเตอร์ ในการวัด และมีค่าความเป็นกรด-ด่างอยู่ในระหว่าง 2.8-3.5

ส่วนผสม

  • เนื้อกล้วยน้ำว้า 50 กรัม
  • เนื้อมะเขือเทศ 50 กรัม
  • น้ำสะอาด 200 กรัม
  • น้ำตาลทรายขาว 150 กรัม
  • น้ำมะนาว 15 กรัม
  • เกลือ 1 กรัม
  • เพคติน 4 กรัม

วิธีทำ

  1. ปั่นกล้วยน้ำว้าและมะเขือเทศสดสุกกับน้ำสะอาดให้เนียนละเอียด
  2. นำส่วนผสมที่ปั่นใส่ภาชนะตั้งไฟ กวนเพื่อระเหยน้ำนานประมาณ 10 นาที
  3. นำน้ำตาลทรายที่ผสมผงเพคตินและเกลือใส่ลงกวนให้ละลาย กวนนานประมาณ 20 นาที
  4. เติมน้ำมะนาวลงไป กวนต่ออีก 10 นาที
  5. บรรจุขวดสะอาดในขณะที่แยมยังร้อนปิดฝาตั้งทิ้งให้เย็น

ที่มา : ฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย