ดินเพื่อการเพาะปลูก

 เรียบเรียงโดย :ทรงเกียรติ วิสุทธิพิทักษ์กุล  

 ทุกคนรู้จักดิน แต่การที่จะรู้จักดินให้ถี่ถ้วนจริงๆ ต้องใช้เวลาการ ศึกษาและวิจัยเป็นสิบๆ ปี นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงจำนวนมากใช้เวลา กว่าครึ่งหนึ่งของชีวิตศึกษาดิน วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับดินนั้นเรียกรวมๆ กันว่า “ปฐพีวิทยา” ซึ่งแยกสาขาออกไปมากมาย เช่น ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการเกิด ของดินว่าเกิดได้อย่างไร มีปัจจัยอะไรเป็นตัวควบคุมการเกิดของดิน ศึกษา การสำรวจรวมทั้งทำแผนที่ดินเพื่อแบ่งชนิดของดินทางลักษณะต่างๆ ศึกษาเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ของดิน การแก้ไขหรือปรับปรุงดินให้ เหมาะสำหรับการเพาะปลูก ศึกษาชนิด ปริมาณและแร่ธาตุอาหารต่างๆ ที่พืชจะสามารถนำไปใช้ ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทางเคมีต่างๆ ที่ เกิดขึ้นในดินและคุณสมบัติทางเคมีที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืช ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางกายภาพ เช่น ลักษณะเนื้อดิน ความสามารถใน การอุ้มน้ำของดิน อุณหภูมิในดิน ตลอดจนคุณสมบัติทางกายภาพอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืช ศึกษาวิธีการป้องกันและรักษาดินให้มี ความอุดมสมบูรณ์เพื่อประโยชน์ในการเกษตร

ดินในแง่ของการเพาะปลูกมีส่วนประกอบดังนี้

  1. ส่วนที่เป็นอินทรียวัตถุ ได้แก่ ส่วนที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังหรือ การสลายตัวของเศษพืชและสัตว์ ส่วนนี้มักจะอยู่ที่ผิวดิน และมีความสำคัญ คือเป็นแหล่งกำเนิดอาหารให้พืชและจุลินทรีย์ในดิน
  2. ส่วนที่เป็นอนินทรียวัตถุ ได้แก่ ส่วนที่เกิดจากการสลาย ผุพังของ หินและแร่โดยกระบวนการทางเคมี กายภาพ และชีวเคมี ดินส่วนนี้มีความ สำคัญเช่นเดียวกับดินส่วนแรกคือเป็นแหล่งให้ธาตุอาหารแก่พืชและ จุลินทรีย์และเป็นส่วนควบคุมโครงสร้างของดิน
  3. ส่วนที่เป็นน้ำ ได้แก่ น้ำที่อยู่ในช่องว่างระหว่างก้อนดินหรืออนุภาค ของดิน ซึ่งมีความสำคัญคือเป็นตัวละลายและนำส่งอาหารให้แก่พืช
  4. ส่วนที่เป็นอากาศ ได้แก่ อากาศซึ่งแทรกอยู่ระหว่างก้อนดินหรือ อนุภาคของดิน ส่วนประกอบของอากาศที่สำคัญ ได้แก่ ออกซิเจน ไนโตรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์

ดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูกโดยทั่วๆ ไปควรจะประกอบด้วยส่วนที่ 1 ประมาณ 5% ส่วนที่ 2 ประมาณ 45% ส่วนที่ 3 และส่วนที่ 4 ประมาณ อย่างละ 25% การปลูกพืชจะได้ผลดีจำเป็นต้องพยายามรักษาความสมดุล ของส่วนประกอบดังกล่าวด้วย

1 Comment on “ดินเพื่อการเพาะปลูก

  1. แล้วดินที่อุดมสมบรูณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชมีวิธีสังเกตุอย่างไรบ้างครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*