วว. กับงานด้านการเก็บรักษาและอนุรักษ์เห็ด

วว. กับงานด้านการเก็บรักษาและอนุรักษ์เห็ด

>>> บรรยาย โดย ลาวัลย์ ชตานนท์

>>> เรียบเรียง โดย นพวรรณ หาแก้ว

 

การวัดและประเมินผลการ

       ฝ่ายวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วว.) รับผิดชอบงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่าย ผลิต และเก็บรักษาเชื้อจุลินทรีย์  และยังได้ร่วมในโครงการ การเก็บรวบรวมเชื้อพันธุ์เห็ดในประเทศไทย โดยทำการแยกเชื้อเห็ดและเก็บเชื้อพันธุ์ด้วยวิธีเก็บในเมล็ดข้าวฟ่างไว้ที่อุณหภูมิเยือกแข็ง ซึ่งในการร่วมโครงการนี้คุณลาวัลย์ ชตานนท์ นักวิจัยจากฝ่ายชีวภาพ ได้กล่าวถึงวิธีการ พร้อมทั้งแนวทางการเก็บรักษาและการอนุรักษ์เห็ดในลักษณะโครงสร้างที่แห้ง (Herbarium) รวมไปถึงเชื้อพันธุ์ในด้านพันธุกรรมซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง  คุณลาวัลย์แสดงความเห็นว่า การอนุรักษ์เห็ดในลักษณะโครงสร้างที่แห้งหรือ herbarium นั้น มีการจัดการดูแลในลักษณะพิพิธภัณฑ์ เช่นที่ พิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยา ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หรือในลักษณะเชื้อพันธุ์เห็ด ก็มีการจัดการดูแลรักษาในรูปแบบของศูนย์เก็บรวบรวมเห็ดในประเทศไทย ที่กรมวิชาการเกษตร ในส่วนของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยนั้น ทางศูนย์จุลินทรีย์  โดยฝ่ายวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการอนุรักษ์สายพันธุ์เห็ดพื้นเมืองภาคอีสานกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำ herbarium ของเห็ดพื้นเมืองภาคอีสานมาเก็บไว้ที่ศูนย์จุลินทรีย์ วว. เพื่อเป็นคลังสำรองให้แก่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นอกจากนี้ศูนย์จุลินทรีย์ วว. ยังมีความพร้อมในการรับเก็บรักษาเชื้อพันธุ์เห็ดที่สามารถเพาะเลี้ยงได้ในเมล็ดข้าวฟ่าง จากนั้นจึงนำไปเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิเยือกแข็งเพื่อใช้เป็นคลังสำรองและ เพื่อความปลอดภัยของเชื้อพันธุ์เห็ดในอนาคต

         สำหรับวัตถุประสงค์หลักของการเก็บรักษาเห็ดนั้น คุณลาวัลย์ ได้กล่าวไว้ 2 ประการ คือ

  1. เพื่อคงโครงสร้างธรรมชาติ โดยมีวิธีการเก็บรักษา คือ การดอง การตากแห้ง และการอบ

วิธีการดอง

การวัดและประเมินผลการ

 

 

 

 

 

 

สูตรน้ำยาดองเห็ด น้ำยาฟอร์มาลิน (เข้มข้น) 40 มิลลิลิตร เอทิลแอลกอฮอล์ ( 95 %) 300 มิลลิลิตร น้ำกลั่น 2000 มิลลิลิตร

วิธีตากแห้ง

การวัดและประเมินผลการ

 

 

 

 

 

ตากแดด 1-3 วัน

วิธีการอบ

การวัดและประเมินผลการ

 

 

 

 

 

 

อบที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส 1-3 วัน และเก็บใส่ภาชนะให้มิดชิด

การเก็บรักษาตัวอย่างเห็ดลักษณะแห้งหรือ herbarium

  • เป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้เก็บรักษาที่ถาวร
  • ใช้เป็นหลักฐานในการอ้างอิง ศึกษารายละเอียด และการเปรียบเทียบ
  • ห้องเก็บ herbarium ควรรมด้วยด่างทับทิมและฟอร์มาลิน และวางลูกเหม็นตามชั้นตัวอย่างเห็ด เพื่อป้องกันแมลงมารบกวน

 

  1. เพื่อรักษาพันธุกรรม

โดยใช้วิธีการแยกเชื้อพันธุ์จากดอกเห็ด สามารถทำได้  2 วิธี คือ

การวัดและประเมินผลการ

 

 

 

 

 

 

  1. การทำรอยพิมพ์สปอร์ (spore print ) เลือกดอกเห็ดที่โตเต็มที่ผลิตสปอร์สามารถที่จะ

พิมพ์รอยได้

การวัดและประเมินผลการ

 

 

 

 

 

 

  1. การแยกเชื้อบริสุทธิ์จากดอกเห็ด เลือกดอกเห็ดที่เจริญเต็มที่ โดยการเขี่ยเนื้อเยื่อ

นอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์หลักๆ 2 ข้อ ข้างต้น คุณลาวัลย์ยังได้กล่าวเสริมอีกว่า การเก็บ รักษาเชื้อพันธุ์เห็ดนั้น ยังมีประโยชน์สำหรับผู้ค้นพบ ศึกษา เก็บไว้กับตนเอง และสำหรับหน่วยงาน เก็บเพื่อความปลอดภัย ฝากเก็บไว้กับสถานที่สำรอง

 

          สำหรับในส่วนของโครงการที่ วว.  ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในเรื่อง การจัดตั้งคลังเก็บรักษาสายพันธุ์เห็ดพื้นเมืองอีสานสำรอง (back-up ) ของพิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  เป็นระยะเวลา 5 ปี  (ตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2554 ถึง กุมภาพันธ์ 2559)นั้น ทางมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้มีการส่งตัวอย่างเห็ด : อบแห้ง จำนวนแต่ละชนิด : 3 ตัวอย่าง/ชนิด โดย วว. มีจำนวนตัวอย่างเห็ดที่รับเก็บรักษา ระยะเวลา 5 ปี จำนวน 7 ครั้ง รวมทั้งสิ้น  1,188 ชนิด 3,564 ตัวอย่าง

 รายการต่อไปนี้คือ ชื่อสกุลเห็ดจำนวน 10 ลำดับ ที่ วว.นำมาเก็บรักษา