ปัจจุบันภาครัฐรณรงค์ให้เกษตรกรทำการเกษตร ที่มุ่งเน้นระบบการผลิตพืชแบบเกษตรปลอดภัย เกษตรอินทรีย์ โดยใช้ชีวภัณฑ์ในการควบคุมศัตรูพืชมากขึ้น เพื่อการขับเคลื่อนเกษตรกรรมของประเทศให้ยั่งยืน
“ชีวภัณฑ์” เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะมาจาก พืช สมุนไพร จุลินทรีย์ มีหลายรูปแบบ ที่คุ้นเคยและเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ EM (Effective microorganisms) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์มีหน้าที่ในด้านการย่อยสลายเศษซากพืช ช่วยเร่งปฏิกิริยาในการผลิตปุ๋ย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ผลิตฮอร์โมน หรือเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมักร่วมกับสมุนไพรเพื่อนำไปใช้เป็นปุ๋ยนำ หรือใช้ป้องกันกำจัดแมลง นอกจากนี้ยังมีจุลินทรีย์เดี่ยวๆ โดยทั่วไปที่ผลิตขายเชิงพาณิชย์และผ่านการขึ้นทะเบียนกับสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร จะมี 5 สายพันธุ์หลัก คือ ไตรโคเดอร์มา บิววาเรีย เมธาไรเซียม บีที และบีเอส ซึ่งจุลินทรีย์ทั้ง 5 ชนิดนี้จะนำไปใช้ในการควบคุมศัตรูพืช คือ โรคและแมลงของพืช

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมขับเคลื่อนนโยบาย BCG Model โดยมีองค์ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง สร้างความเข้มแข็งให้กับทุกภาคส่วนของประเทศ โดยเฉพาะภาคการเกษตรที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างงาน สร้างอาชีพอย่างเป็นรูปธรรมให้แก่พี่น้องประชาชน ผ่านการดำเนินงานโดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ ในส่วนของ ศูนย์นวัตกรรมผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรม (Innovative Center for Production Industry microorganisms : ICPIM 2) ที่มีสายการผลิตชีวภัณฑ์ครอบคลุมตอบโจทย์ทั้งสายการผลิตเชื้อราและแบคทีเรีย มีกำลังการผลิตรวมต่อปี 115,000 ลิตร สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้ชีวภัณฑ์ทั้งรายย่อยและรายใหญ่


รูปแบบสารชีวภัณฑ์ที่ได้จากการผลิตโดย ICPIM 2 มี 3 รูปแบบ ดังนี้

1.หัวเชื้อเหลว

2.หัวเชื้อผง

3.หัวเชื้อสด
มีบรรจุภัณฑ์ 3 ขนาด คือ เล็ก กลาง และใหญ่ โดย วว. พร้อมให้บริการแก่ผู้สนใจ เพื่อนำไปใช้ทางการเกษตร

นอกจากนี้ยังมีการวิจัยพัฒนาถังหมักระดับชุมชนที่สามารถตอบโจทย์เกษตรกร ผู้ประกอบการ ในการขยายชีวภัณฑ์ที่มีคุณภาพมาตรฐานให้เพียงพอกับการใช้ประโยชน์ด้านเกษตรกรรม


จุดเด่นของสารชีวภัณฑ์ที่ วว. ผลิต
1.ผ่านการวิจัยและพัฒนาประสิทธิภาพในการควบคุมศัตรูพืช
2.มีการทดสอบความเป็นพิษในห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน ISO/IEC 17025 ตามหลัก OECD GLP GUILDLINE
3.ผ่านการผลิตในโรงงานด้วยเครื่องจักรระดับกึ่งอุตสาหกรรมที่ได้มาตรฐาน กระบวนการผลิตสะอาด ปราศจากเชื้ออื่นปนเปื้อน


ประโยชน์ของการใช้สารชีวภัณฑ์ เป็นการยกระดับผลิตผลทางการเกษตรรองรับนโยบายของรัฐบาล มุ่งสู่ระบบการผลิตพืชปลอดภัย และระบบการผลิตพืชอินทรีย์ เพิ่มมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร ลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกร ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือ ลดการตกค้างของสารเคมีในพืชผลการเกษตร ปลอดภัยทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค ต่อสิ่งแวดล้อม ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรไทย


สอบถามรายละเอียดและรับบริการ “สารชีวภัณฑ์” ติดต่อได้ที่ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ วว. โทร. 0 2577 9016, 02-577 9021 โทรสาร 0 2577 9009 E-mail : icpim2@administrator
นำเสนอข่าวโดย
กองประชาสัมพันธ์ สำนักสื่อสารองค์กร วว.
โทร. 0 2577 9360
E-mail : pr@tistr.or.th
Line@TISTR
IG : tistr_ig