ผมมีประสบการณ์หาแพทย์ที่เพิ่งจบใหม่หลายครั้ง พบว่าบางทีค่ารักษากับหมอใหม่แพงกว่าหมอที่มีประสบการณ์ยาวนาน ทั้งที่ขัดกับหลักตรรกที่ว่า หมอที่ทำงานยาวนานน่าจะคิดค่ารักษาแพงกว่า

เหตุผลก็เพราะว่า…หมอจบใหม่บางคนเกิดอาการเกร็งอาจเกิดความกลัววูบขึ้นมาว่า “จะเกิดอะไรขึ้นหากวินิจฉัยโรคพลาด?” เมื่อเกร็งก็เกิดความไม่แน่ใจ เพื่อความปลอดภัยต่ออาชีพของตน ก็สั่งให้มีการทดสอบในห้องแล็บเพิ่มอีกหลายรายการ

ยกตัวอย่างเช่นเมื่อคนไข้ท้องเสีย ก็สั่งตรวจดูว่าเกิดจากเชื้อโรคชนิดใด ทั้งที่คนไข้บอกว่าไม่ได้กินอาหารสกปรกอย่างแน่นอน ผลตรวจที่ออกมาสรุปว่าท้องเสียไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค หากเกิดจากความเครียด เมื่อรวมค่าตัวของหมอใหม่ (ซึ่งไม่สูงนัก) กับค่าตรวจในแล็บและอื่นๆ รวมๆ แล้วก็มากกว่าที่คนไข้ควรจ่าย เมื่อรักษากับหมอที่มีประสบการณ์กว่า

ครั้งหนึ่งผมเกิดอาการปวดหัวตึบๆ หมอใหม่ก็จัดการส่งผมไปสแกนสมอง
ทั้งที่ผมรู้ว่าไม่เป็นอะไรมาก
“เพื่อความชัวร์” หมอว่า
เมื่อเห็นใบเสร็จ ผมก็เกิดอาการปวดหัวกว่าเดิม

เพื่อนสถาปนิก-ผู้รับเหมา คนหนึ่งบอกผมว่า ในงานทุกชิ้นของเขา จะเจาะจงใช้แต่ช่างชั้นหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช้ ‘มือใหม่หัดขับ ‘ เลย ทั้งที่ค่าแรงช่างเก่าแพงกว่า 2-3 เท่า “ทำไม?” ผมถาม

เขายกตัวอย่างงานปูน ช่างปูนที่เพิ่งทำงานไม่นานค่าแรงต่อวันถูกมาก แต่เนื่องจากยังอ่อนประสบการณ์ จึงใช้ปูนซิเมนต์เปลืองมาก…  

Read more »

วันนี้มีเรื่องเล่ากันเล่นๆ แต่น่าสนใจสองตัวอย่าง สำหรับวิธีการคิดพิจารณาแก้ปัญหาโดยมุ่ง focus ในมุมมองที่แตกต่างกัน ระหว่างการ focus กรอบความคิดตรงเข้าที่ทฤษฎีของปัญหา กับการ focus ตรงไปที่การมุ่งหาแนวทางแก้ปํญหา

1. ปากกา

เมื่อองค์การนาซ่าได้เริ่มปล่อยจรวดเพื่อการสำรวจอวกาศ พวกเขาพบว่า ปากกาไม่สามารถเขียนได้ที่แรงโน้มถ่วงของโลกเท่ากับ 0 (น้ำหมึกไม่สามารถไหลออกมาที่กระดาษที่ต้องการเขียนได้)

การแก้ปัญหานี้ ได้ใช้เวลาราว 10 ปี และได้ใช้เงินมูลค่า 12 ล้านดอลล่าห์ (480 ล้านบาท) พวกเขาได้สร้างปากกาที่สามารถใช้งานได้ที่แรงโน้มถ่วงเป็นศูนย์ เขียนแบบคว่ำ หรือเขียนที่ใต้น้ำได้ สามารถเขียนได้ไม่ว่าสภาพผิวเป็นเช่นไร รวมทั้งผิว Crystal และที่อุณหภูมิช่วงต่ำกว่าจุดเยือกแข็งจนถึงที่มากกว่า 300 องศาเซลเซียลได้

ด้วยปัญหาแบบเดียวกัน ทางรัสเซียใช้ดินสอ

ตัวอย่างถัดมา

2. สบู่

หนึ่งในเรื่องที่นิยมใช้ในการสอนที่ประเทศญี่ปุ่นได้แก่ เรื่องของการเกิดปัญหาที่ว่า สบู่ที่ลูกค้าซื้อไป กลับได้แต่กล่องเปล่าๆ ไม่มีสบู่มาด้วย เรื่องนี้มาจากบริษัทยักษ์ใหญ่ในการผลิตเครื่องสำอางของญี่ปุ่น ที่ได้รับการร้องเรียนจากทางลูกค้าถึงปัญหาดังกล่าว

ทางด้านวิศวกรที่รับผิดชอบ ได้แก้ปัญหาโดยการสร้างเครื่อง X-ray เพื่อการตรวจดูว่าภายในของกล่องสบู่มีสบู่หรือไม่ และเพื่อการนี้ก็ได้ให้คน 2 คนคอย เฝ้าที่จอเพื่อดูให้แน่ใจได้ว่าไม่มีการหลุดของกล่องที่ไม่ได้บรรจุสบู่ไปแน่นอนว่าคน 2 คนที่ดูจอมอนิเตอร์ คงไม่สนุกในการทำงานนี้เท่าไหร่

ด้วยปัญหาเดียวกัน พนักงานหน้างานที่บริษัทผลิตสบู่เล็กๆ แห่งหนึ่ง เขาไม่ได้แก้ปัญหาโดยการสร้างเครื่อง X-ray แต่สิ่งที่เขาทำได้แก่ การไปซื้อพัดลมที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม แล้วนำมาเป่าที่รางสายพาน ขณะที่กล่องสบู่วิ่งผ่าน หากกล่องที่ไม่ได้บรรจุสบู่ เมื่อถูกลมก็จะปลิวออกนอกสายพานลำเลียงเอง

บางครั้งหากเรายึดติดอยู่เฉพาะภายในกรอบของทฤษฎีหรือหลักการหรือความมากรู้จนเกินไปนั้น ก็อาจมองข้ามการแก้ปัญหาด้วยองค์ความรู้หรือภูมิปัญญาเดิมที่เรามีอยู่ไปได้ ดังนั้นการจัดการองค์ความรู้และการมีระบบคิดที่ดี แม้จากพนักงานระดับเล็กๆ ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามละเลย เพราะหากยอมรับและได้รับการต่อยอด นำมาเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ย่อมสร้างประโยชน์ได้เช่นเดียวกัน บางเรื่องไม่จำเป็นต้องแก้ไขทำอะไรให้ใหญ่โตเกินกว่าปัญหา ดั่งขี้ช้างจับตั๊กแตน และไม่จำเป็นที่เราต้องเดินตามกรอบความคิดของใคร หรือทำตามสิ่งที่ได้รับการสอนมาแต่เพียงเท่านั้น เพราะนั่นอาจจะเป็นการปิดกั้นวิธีแก้ปัญหาที่ง่าย และได้ผลดีที่สุดออกไปก็ได้