ปัจจุบันการสื่อสารสามารถทำได้หลายวิธี การสื่อสารด้วยการเขียนบทความก็เป็นวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ ยิ่งมีความจำเป็นในการเขียนบทความเชิงวิชาการเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยของตนและของหน่วยงาน ซึ่งการเขียนบทความเชิงวิชาการมีความแตกต่างกับบทความทั่วไป เพราะข้อมูลที่นำมาเขียนจะต้องเป็นข้อเท็จจริง และภาษาที่ใช้ควรจะเป็นภาษาเชิงวิชาการ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ จำเป็นต้องมีการหาข้อมูลและมีการฝึกฝนทักษะอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งการฝึกฝนทักษะดังกล่าวสามารถเริ่มได้โดยใช้เทคนิคง่ายๆ 3 ข้อ ดังนี้

  • การวางแผน

การเขียนบทความเชิงวิชาการจำเป็นต้องมีการวางแผนการเขียน โดยอาจทำโดยการใช้ mind map หรือ การวาง layout  ของสิ่งที่ต้องการจะเขียนก่อน เพื่อตีกรอบให้เรื่องที่จะเขียนอยู่ในประเด็นที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อ

Writing Clip Art #11024

  • การกำหนดโครงเรื่อง

การกำหนดโครงเรื่องเป็นสิ่งที่จำเป็นมากในการเขียนบทความเชิงวิชาการ ซึ่งโครงเรื่องจะต้องประกอบด้วย บทเกริ่นนำ (overview) ตัวเรื่อง (body) และบทสรุป (conclusion) โดยทั้งสามส่วนนี้จะต้องมีความต่อเนื่อง สอดคล้อง และสนับสนุนซึ่งกันและกัน

Student at Desk

  • การทบทวนแก้ไขบบทความ

เมื่อผู้เขียนเสร็จสิ้นการเขียนบทความแล้ว ผู้เขียนควรมีการทวนแก้ไข โดยตรวจทานในเรื่องของการใช้ภาษาที่ฟุ่มเฟือย การสะกดคำ และการใช้วรรคตอนที่ถูกต้องตามหลักภาษา นอกจากนี้ยังต้องตรวจสอบเอกสารอ้างอิงว่ามีครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ เพราะบทความวิจัยและบทความเชิงวิชาการนั้น จำเป็นต้องมีการอ้างอิงข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อให้บทความมีความน่าเชื่อถือ ไม่หลักลอยtyping-clipart-typing-on-computer

 

เทคนิคง่ายๆ 3 ข้อนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อฝึกฝน เพิ่มพูนทักษะการเขียนบทความเชิงวิชาการได้ และเมื่อมีการฝึกฝนบ่อยๆ จนเกิดความชำนาญ ผู้เขียนก็จะสามารถเขียนบทความให้มีความเป็นเอกภาพ ต่อเนื่อง กระชับ และมีความน่าอ่านได้ต่อไป ดังคำกล่าวที่ว่า “Practice makes perfect.”

เอกสารอ้างอิง

ธนกิจวนิชย์, เอก. 2559. เทคนิคการเขียนบทความวิจัย บทความวิชาการ และวารสารวิชาการ. ใน: เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง เทคนิคการเขียนบทความวิจัย บทความวิชาการ และวารสารวิชาการ วันที่ 25 สิงหาคม 2559. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, หน้า 1-15.

money1

ภาพจาก http://www.flickr.com/photos/tracy_olson/61056391/ By Tracy O

รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม คำ ๆ นี้ยังใช้ได้ดีอยู่ในทุกยุคสมัย เพราะในบางครั้งบางเรื่องราวที่ดูแล้วอาจไม่เกี่ยวข้องกับเราอย่างเช่นเรื่องของกฎหมายการ ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ฟังดูเหมือนเป็นกฎหมายที่ไกลตัวของบุคคลธรรมดาโดยทั่วไป เพราะมักคิดว่าคงไม่ได้ไปทำสิ่งผิดกฎหมายมา เช่น การกรรโชกทรัพย์ หรือความผิดเกี่ยวกับอาวุธสงคราม และเราอาจมีเงินหรือทรัพย์สินไม่มากพอที่จะต้องไปเกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับนี้ อย่างไรก็ตามกฎหมายฉบับนี้ได้ระบุผู้มีหน้าที่ต้องรายงานธุรกรรมไว้ และถ้าท่านเป็นผู้ที่ต้องรายงานธุรกรรมตามที่กฎหมายฉบับนี้ระบุไว้ หากเพิกเฉยก็อาจตกเป็นผู้ถูกกล่าวโทษได้โดยไม่รู้ตัว ดังนั้นกฎหมายฉบับนี้จึงไม่ใช่เรื่องไกลตัว แต่เป็นเรื่องใกล้ตัวอย่างมาก” อย่างไรก็ตามขอเน้นย้ำว่าถ้าท่านต้องเป็นผู้รายงานธุรกรรมทางการเงิน หน้าที่ของท่านคือถามที่มาของเงิน ไม่ใช่ผู้สอบสวน

Read more »

มโนทัศน์แห่งอนาคต (VISIONS: HOW SCIENCE WILL image_visionREVOLUTIONIZE THE 21ST CENTURY)

ผู้แต่ง/ผู้แปล : MICHIO KAKU / กุลพันธ์ พิมพ์สมาน
ปีที่พิมพ์ 2554

จะดีแค่ไหนถ้าคุณ…
–  มีหุ่นยนต์ไว้ทำงานแทน
–  มีปัญญาประดิษฐ์คอยอำนวยสะดวก ให้บ้านอัจฉริยะเป็นวิมานของคุณ
–  เดินทางระหว่างดวงดาวเพื่อหาบ้านใหม่ในอวกาศ
–  ย้อนเวลากลับไปยังอดีตได้
–  รักษาโรคมะเร็งได้โดยไม่ต้องผ่าตัด
–  เป็นหนุ่มสาวตลอดกาล
ฯลฯ
ทั้งหมดนี้กำลังจะเกิดขึ้นจริงในอนาคตอีกเพียงร้อยปีข้างหน้า ไม่ใช่แค่เรื่องเพ้อฝันที่มีอยู่แต่ในนวนิยายวิทยาศาสตร์อีกต่อไป โดยมีรากฐานมาจากการปฏิวัติควอนตัม การปฏิวัติเชิงชีวโมเลกุล และการปฏิวัติคอมพิวเตอร์ ร่วมเดินทางสู่อนาคตไปพร้อมเหล่านักวิทยาศาสตร์เปี่ยมวิสัยทัศน์ใน “มโนทัศน์แห่งอนาคต” โดยมิชิโอะ คากุ นักฟิสิกส์ชื่อดังเจ้าของผลงาน “จักรวาลคู่ขนาน” (Parallel Worlds) บอกเล่าผลการวิจัยล่าสุดจากห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ระดับโลกถึงความก้าวหน้าในการค้นคว้า ที่จะเปลี่ยนชีวิตของเราและโฉมหน้าโลกในศตวรรษที่ 21 ไปอย่างสิ้นเชิง และบางสิ่งก็กำลังเกิดขึ้นแล้วตอนนี้!!!

ถอดรหัสลับปฏิบัติการพลิกโลกimage_whathappened

ผู้แต่ง :  ทัศนัย  ปัญญา
ปีที่พิมพ์ 2554

ในโลกใบนี้ยังคงมีสิ่งลี้ลับที่รอการพิสูจน์อยู่อีกมากมายนับไม่ถ้วน บ้างก็ได้ข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์  บ้างก็ได้ข้อสรุปทางความเชื่อที่มีคนมากมายให้การสนับสนุน แต่ก็มีไม่น้อยเช่นกันที่ไม่มีกระทั่งข้อสรุป นี่จึงถือว่าเป็นเสน่ห์ของความลี้ลับที่ยังคงหลับใหลรอคอยให้มีการส่งต่อความพยายามในการไขข้อสงสัยจากรุ่นสู่รุ่น เชื่อแน่ว่าเรื่องบางเรื่องในหนังสือเล่มนี้จะทำให้คุณตกใจ และอุทานออกมาว่า “จริงหรือนี่” ได้อย่างแน่นอน

ซากุระ กรรมศาสตร์image_sagura

ผู้แต่ง/ผู้แปล : Morinosuke  Kawaguchi / ปฏิมา  สินธุภิญโญ
ปีที่พิมพ์ 2554

บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สัญชาติญี่ปุ่น ตั้งแต่เครื่องใช้ไม้สอยต่าง ๆ รอบตัวไปจนถึงนวัตกรรมไฮเทค ซึ่งล้วนแต่มีที่มาจากวัฒนธรรม ความรู้สึกนึกคิด และจิตวิญญาณแบบคนญี่ปุ่น ที่หล่อหลอมให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ของญี่ปุ่นที่มีความสร้างสรรค์

 

มายากลศาสตร์image_maya

ผู้แต่ง/ผู้แปล : MISTER TOMPKIN
ปีที่พิมพ์ 2554

“สิ่งที่เห็นอาจไม่ใช่สิ่งที่เป็น” สายรุ้งสีสวย เครื่องบินเหาะข้ามทวีป เรือใบแล่นฉิวกลางมหาสมุทร สายฟ้าฟาดกลางทุ่งนา สายฝนโปรยปรายชุ่มฉ่ำ ฯลฯ สิ่งต่างๆ ที่เราพบเจอในชีวิตประจำวัน บ่อยครั้งที่ผ่านสายตาเราไปโดยไม่ได้รับความสนใจ แต่ก็มีบางทีที่เกิดคำถามว่า… เอ๊ะ! มันเกิดขึ้นได้ยังไงนะ? เอ…แล้วทำไมมันต้องเป็นแบบนี้ด้วยล่ะ? หันซ้ายหันขวาถามคนนู้น สะกิดคนนี้อาจไม่ได้รับคำเฉลย แต่ทว่า…”ฟิสิกส์ (Physics)” มีคำตอบ! Mister Tompkin มิใช่ชาวต่างชาติ แต่คือนามปากกาของชายหนุ่มสัญชาติไทยผู้หลงใหลในวิทยาศาสตร์ มุ่งศึกษาค้นคว้าและถ่ายทอดวิชาฟิสิกส์สู่สายตาผู้อ่าน ซึ่งความโดดเด่นของงานเขียนแนว Popular Science สไตล์มิสเตอร์ทอมกิ้น ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ล้ำลึก คุณก็สามารถเข้าใจและเพลิดเพลินได้ ด้วยสำนวนภาษที่เป็นกันเอง อธิบายทฤษฎีให้เข้าใจได้ด้วยมุมมองที่เปิดกว้างต่อคำถามระดับมนุษยชาติ โดยแต่ละเรื่องที่นำเสนอให้สาระแง่คิดแก่คุณผู้อ่านนำไปต่อยอดในองค์ความรู้อื่นๆ ได้อีกหลากหลาย เพราะในยุคที่เทคโนโลยีก้าวล้ำทุกขณะ ส่งผลให้ความรู้และวิทยาการได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าทุกวินาที สิ่งที่เราไม่รู้ในวันวานกำลังถูกค้นคว้าหาคำตอบในวันนี้ ทำให้ความรู้ความเข้าใจที่เคยยึดถือตามหลักการเดิมนั้น สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นความรู้ใหม่ที่ผ่านการพิสูจน์จากผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์นั้นๆ

image_mahassajan

มหัศจรรย์ชั้นบรรยากาศ : ชุดมหัศจรรย์โลกธรรมชาติ (WONDER OF THE AIR)

ผู้แต่ง/ผู้แปล : TAMRA ANDREWS / ประสิทธิ์ ตั้งมหาสถิตกุล
ปีที่พิมพ์ 2554

มหัศจรรย์ชั้นบรรยากาศ คือการศึกษาวิทยาศาสตร์ผ่านตำนานปรัมปรา เพื่อช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจถึงความปรารถนาจะไขความลี้ลับในธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งเริ่มต้นจากการใช้สายตากับสติปัญญาเป็นองค์ประกอบสำคัญเพื่อแสวงหาความรู้ จนนำไปสู่การสร้างคำอธิบายโลกธรรมชาติรอบตัวเราในปัจจุบัน ตำนานหลายแห่งทั่วโลกสะท้อนถึงความกลัวของคนโบราณว่ารุ้งกินน้ำคืองูยักษ์ที่อาจกลืนกินน้ำจนหมดโลก และจะทำให้เกิดภัยแล้งได้ ตำนานจากแดนหนาวบอกว่าหิมะคือยักษ์อำมหิตที่ต้องการแช่แข็งทุกสิ่งทุกอย่างบนโลก โดยแท้จริงแล้ว นิทานหรือตำนานปรัมปราก็คือความพยายามไขปริศนาลี้ลับในธรรมชาติของคนโบราณนั่นเอง

image_phiphopมหัศจรรย์พื้นพิภพ : ชุดมหัศจรรย์โลกธรรมชาติ (WONDER OF THE LAND)

ผู้แต่ง/ผู้แปล : KENDALL HAVEN / ประสิทธิ์ ตั้งมหาสถิตกุล
ปีที่พิมพ์ 2554

มหัศจรรย์พื้นพิภพ เป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่างตำนานปรัมปราอันน่าสนุกตื่นเต้นจากทั่วทุกมุมโลก ไปสู่ดินแดนของเหตุผลและข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ ถือเป็นการผสมผสานระหว่างพลังจินตนาการเข้ากับความรู้สมัยใหม่ จนสามารถสร้างแรงบันดาลใจ เพื่อพร้อมเปิดประตูสู่การศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น เชื่อหรือไม่ว่า พื้นพิภพที่เราอาศัยอยู่มาตลอดชีวิตนี้ มีความมหัศจรรย์มากมายเหลือคณานับเพราะครั้งหนึ่งเคยมีไดโนเสาร์เยื้องย่างผ่านไปมา เคยถูกปกคลุมด้วยธารน้ำแข็งนับไม่ถ้วนครั้งและยังคงมีภูเขาไฟที่หลับใหลเฝ้ารอเวลาปะทุใหม่อีกมากมาย โดยเรื่องราวเหล่านี้ถูกอธิบายไว้อย่างแจ่มชัดละเอียดลอออยู่ภายในหนังสือเล่มนี้แล้ว

เหตุผลของธรimage_thamachatรมชาติ

ผู้แต่ง    : นพ.ชัชพล เกียรติขจรธาดา
ปีที่พิมพ์ 2554

เป็นหนังสือภาคต่อของหนังสือ “เรื่องเล่าจากร่างกาย” ที่สร้างปรากฏการณ์ Pop Science ในวงการหนังสือไทย ซึ่งเนื้อหาในเล่มได้แบ่งออกเป็นสามตอนใหญ่ๆ ด้วยกัน โดยสองตอนแรกจะเป็นตัวอย่างของฟิสิกส์และเคมีที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต สำหรับตอนที่สามจะเป็นเรื่องของการวิวัฒนาการมาร่วมกันระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆ และผลบางอย่างที่เกิดขึ้นตามมา

เรื่องเล่าจากร่างกาย image_body

ผู้แต่ง: นพ.ชัชพล เกียรติขจรธาดา
ปีที่พิมพ์ 2554

เป็นหนังสือที่นำเสนอเรื่องราวของ ร่างกาย พฤติกรรมมนุษย์และธรรมชาติ ผ่านกระบวนการวิวัฒนาการ ตอบโจทย์ปัญหาว่า “ทำไมร่างกายเขาเราจึงมีร่างกายและความคิดอย่างปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะเรื่อง “การมีชู้” , เครียดเพราะอ้วน , ทำไมจึงหล่อ จึงสวย , สมองคุยกับร่างกายอย่างไร , ทำไมต้องเดินสองขา เป็นต้น และเมื่อเราเข้าใจเรื่องราวเหล่านี้ ดีแล้ว เราจะไปดูกันว่าเรื่องเล่าจากร่างกายเหล่านี้ จะช่วยนำทางเราเดินสู่ปัจจุบันและก้าวต่อไปในอนาคตได้อย่างไร

image_body2มหัศจรรย์แห่งร่างกาย เล่ม 2 (THE ODD BODY 2)

ผู้แต่ง/ผู้แปล : STEPHEN JUAN / โรจนา นาเจริญ
ปีที่พิมพ์ 2554

หนังสือเล่มนี้แปลจากเรื่อง The Odd Body 2 ของ ด็อกเตอร์สตีเฟ่น ฮวน ผู้ซึ่งได้รวบรวมคำถามที่เขาเรียกว่า Odd Body Questions (OBQs) จากคนขี้สงสัยทั่วโลกในทุกประเด็นเกี่ยวกับร่างกายมนุษย์ แล้วหาคำตอบมาให้ความกระจ่างแก่ผู้ถามและผู้อ่านในรูปแบบที่ไม่เครียดเกินไป หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมสารพัดคำถามที่แปลกยิ่งกว่าเดิม จากคนช่างสงสัยทั่วโลกที่ส่งกันเข้ามาถาม อย่างเช่น ทำไมลูกตาถึงไม่เย็นจนแข็งตัวในอากาศหนาวจัด? หรือทำไมเราต้องมีรูจมูก 2 รู? นั่นคือตัวอย่างของคำถามในหนังสือเล่มนี้ ซึ่งเชื่อว่าท่านผู้อ่านจะได้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลินเกินราคา แค่ความจริงที่น่าทึ่งก็คุ้มแล้ว!!!

วิทยาศาสตร์มหัศจรรย์แห่งการค้นพimage_discoveries

ผู้แต่ง/ผู้แปล : ALAN LIGHTMAN/บุญญานาถ นาถวงษ์ และคณะ
ปีที่พิมพ์ 2554

รวมบทความงานวิจัยวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในศตวรรษที่ 20 จำนวน 25 ชิ้น ผู้รวบรวมคืออลัน ไลท์แมน เจ้าของผลงาน ความฝันของไอน์สไตน์ (Einstein’s Dream) แบ่งเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ออกเป็น 22 บท เรียงตามลำดับเวลาที่บทความเหล่านั้นตีพิมพ์ อลัน ไลท์แมนเริ่มต้นแต่ละบทด้วยส่วนแนะนำที่เล่าชีวประวัติของนักวิทยาศาสตร์แต่ละคนและเรื่องราวการค้นคว้าที่นำไปสู่บทสรุปซึ่งก็คือตัวบทความต้นฉบับในส่วนถัดไป นอกจากนี้ อลัน ไลท์แมนยังอธิบายเนื้อหาส่วนบทความและที่มาที่ไปให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น เพราะหนังสือเล่มนี้มีลักษณะค่อนไปทางงานวิชาการเนื้อหาเข้มข้น บทความต่างๆ ที่รวบรวมอยู่ในหนังสือเล่มนี้ล้วนมีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการของวงการวิทยาศาสตร์ เป็นองค์ความรู้บริสุทธิ์ที่นักวิทยาศาสตร์รุ่นต่อๆ มานำไปศึกษาต่อยอดจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ วิทยาศาสตร์มหัศจรรย์แห่งการค้นพบนอกจากจะให้องค์ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของหนังสือเล่มนี้แล้ว ยังให้ภาพรวมเกี่ยวกับวงการวิทยาศาสตร์ของยุโรปในศตวรรษที่ 20 และพัฒนาการในการศึกษาค้นคว้าด้านฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา ซึ่งล้วนเอื้อให้เกิดความก้าวหน้าแก่กันและกัน

กรุงเทพฯ 21 พ.ย.-นักเรียนไทยสร้างชื่อคว้าเหรียญทอง จากการแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์โลก ณ เมืองอาบูดาบี ยูเออี และยังคว้ารางวัลรวม 8 รางวัล ประกอบด้วย 2 เหรียญทอง ประเภทหุ่นยนต์เตะฟุตบอล และประเภท Green City Challenge 3 เหรียญทองแดง 3 รางวัลพิเศษ

นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกับสถาบันพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และบริษัท แกมมาโก้ (ประเทศไทย) จำกัด คัดเลือกและนำนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทุกสังกัด เป็นตัวแทนนักเรียนจากประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ WRO 2011 : World Robot Olympiad 2011 ระหว่างวันที่ 18-22 พฤศจิกายน 2554 ณ เมืองอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) จำนวน 34 ทีม โดยการแข่งขันแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ ประเภทหุ่นยนต์อัตโนมัติ และประเภท Green City Challenge ซึ่งผู้เข้าแข่งขันจะต้องสร้างโปรแกรม ประกอบหุ่นยนต์และนำไปปฏิบัติภารกิจบนสนาม ประเภทโครงงานหุ่นยนต์อัตโนมัติ จะเป็นการประกวดโครงงานหุ่นยนต์ในหัวข้อ “หุ่นยนต์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต” และประเภทหุ่นยนต์เตะฟุตบอล แต่ละประเภทการแข่งขันยังแบ่งออกเป็น 3 รุ่น คือ รุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี รุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี และรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี

ผลการแข่งขันปรากฏว่า นักเรียนไทยกวาดรางวัลจากการแข่งขันได้ถึง 8 รางวัล ดังนี้ ประเภทหุ่นยนต์เตะฟุตบอล ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทองได้แก่ ทีมนักเรียนจากโรงเรียนโยธินบูรณะ กรุงเทพฯ ซึ่งเคยได้รับรางวัลเหรียญทองแดงจากการแข่งขันดังกล่าวในปีที่ผ่านมา ประเภท Green City Challenge รุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทอง ได้แก่ ทีมนักเรียนจากโรงเรียนเทศบาลเพชรวิทย์ จ.ตาก รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปีได้รับ รางวัลเหรียญทองแดง ได้แก่ ทีมนักเรียนจากโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา 2 จ.สุราษฎร์ธานี ประเภทหุ่นยนต์อัตโนมัติ รุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี ได้รับรางวัลเหรียญทองแดงได้แก่ ทีมนักเรียนจากโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล จ.ชัยภูมิ และประเภทโครงงานหุ่นยนต์อัตโนมัติ รุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี ได้รับรางวัลเหรียญทองแดงได้แก่ ทีมนักเรียนจากโรงเรียนอนุบาลปทุมธานี จ.ปทุมธานี

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้รับรางวัลพิเศษอีก 3 รางวัล คือ รางวัลความคิดสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม ประเภทโครงงานหุ่นยนต์อัตโนมัติรุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี ได้แก่ โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์ กรุงเทพฯ รางวัลเทคนิคยอดเยี่ยมประเภทหุ่นยนต์เตะฟุตบอลรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี ได้แก่ ทีมรวมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และรางวัลทีมยอดเยี่ยมประเภทหุ่นยนต์เตะฟุตบอลรุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี ได้แก่โรงเรียนธัญบุรี จ.ปทุมธานี.

ที่มา: สำนักข่าวไทย
http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/296292.html

1.  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

ยังไม่มีชื่อพรรณไม้ที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ใช้พระนามาภิไธยเป็นชื่อพรรณไม้

2. สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

ชื่อพรรณไม้ที่ได้รับพระราชทานพระราชานุญาต ให้ใช้พระนามาภิไธยเป็นชื่อพรรณไม้

  • ต้นโมกราชินี Wrightia sirikitiae D.J. Middleton & Santisuk เมื่อ พ.ศ. 2543
  • ต้นมหาพรหมราชินี Mitrephora sirikitiae Weerasooriya, Chalermglin & R.M.K. Saunders  เมื่อ พ.ศ. 2547

ชื่อพันธุ์ของดอกไม้ที่มีชื่อตามพระนาม สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ “ควีนสิริกิติ์”

  • ดอกกล้วยไม้คัทลียา  “ควีนสิริกิติ์” Cattleya “Queen Sirikit”
  • ดอกกุหลาบ “ควีนสิริกิติ์” Rosa “Queen Sirikit”
  • ดอกดอนญ่า “ควีนสิริกิติ์” Massaenda “Dona Queen Sirikit”

3. สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

ชื่อพรรณไม้ที่ได้รับพระราชทานพระราชานุญาต ให้ใช้พระนามาภิไธยเป็นชื่อพรรณไม้

  • ต้นกันภัยมหิดล Afgekia mahidoliae B.L.Burtt & Chermsir. เมื่อ พ.ศ. 2514

4. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมรี

ชื่อพรรณไม้ที่ได้รับพระราชทานพระราชานุญาต ให้ใช้พระนามาภิไธยเป็นชื่อพรรณไม้

  • ต้นสิรินธรวัลลี Bauhinia sirindhorniae K. & S.S. Larsen เมื่อ  พ.ศ. 2541
  • ต้นจำปีสิรินธร Magnolia sirindhorniae Noot. & Chalermglin เมื่อ  พ.ศ. 2543
  • ต้นเอื้องศรีประจิม Sirindhornia mirabilis H.A.Pedernsen & Suksathan เมื่อ  พ.ศ. 2545
  • ต้นเอื้องศรีอาคเนย์ Sirindhornia monophylla H.A.Pedernsen & Suksathan เมื่อ  พ.ศ. 2545
  • ต้นเอื้องศรีเชียงดาว Sirindhornia pulchella H.A.Pedernsen & Indhamusika เมื่อ  พ.ศ. 2545
  • ต้นเทียนม่วงสิริน Impatiens sirindhorniae Triboon & Suksathan เมื่อ  พ.ศ. 2552

—————————————————
ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น รวบรวม
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554

เรียบเรียงโดย จารุจินต์ นภีตะภัฏ

 ข่าวการฆ่าตัวตายของหญิงผู้หนึ่ง โดยการโดดลงไปในบ่อจระเข้ที่ฟาร์มจระเข้ที่จังหวัดสมุทรปราการ ได้ก่อให้เกิดความสนใจต่อสัตว์เลื้อยคลานเลือดเย็นชนิดนี้มากขึ้น บางครั้งข่าวที่น่าสนใจอาจจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดต่อจระเข้มากขึ้นกว่าเดิม ในแง่ที่เป็นสัตว์ที่กระหายเลือดกินมนุษย์เป็นอาหาร

จระเข้ (crocodiles) เป็นสัตว์เลื้อยคลานกลุ่มหนึ่งที่ยังคงหลงเหลือมาจากยุคไดโนเสาร์ มีลำตัวยาว ปาก ยาว ภายในมีฟันแหลมเรียบเป็นแถว กินเนื้อสัตว์อื่นเป็นอาหาร ในประเทศไทยมีจระเข้อยู่ 3 ชนิด ได้แก่ จระเข้น้ำจืด (Crocodylus siamensis) จระเข้ น้ำเค็ม (C. porosus) และตะโขงหรือจระเข้ปากกระทุงเหว (Tomistoma schlegeli) ทุกชนิดกำลังมีจำนวนน้อยมากในธรรมชาติจนอาจจะสูญพันธุ์หมดไปในอนาคต

นิสัยการกินอาหารของจระเข้

นิสัยการกินอาหารของจระเข้จะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุของการเจริญเติบโต ปกติจะเริ่มหาอาหารกินในเวลาเย็น ลูกจระเข้กินสัตว์ขนาดเล็ก กบ แมลงปอ ปู และแม้แต่ลูกน้ำยุง นิสัยการล่าชอบใช้ลำตัวและหางที่ยาวโอบล้อมเหยื่อไว้ก่อนที่จะกัดกิน ถ้าเหยื่อมีขนาดใหญ่วิธีการล่าจะเปลี่ยนเป็นการว่ายน้ำเข้าสู่เหยื่ออย่างช้าๆ ก่อนที่จะพุ่งตัวเข้างับ โดยการแกว่งปากไป งับทางด้านข้างเพราะตาของจระเข้อยู่ทางด้านข้างของส่วนหัว เมื่อเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จระเข้ขนาดเล็กจะเปลี่ยนไป กินหอยและปลา ส่วนจระเข้ที่โตเต็มที่มักชอบกินปลาเป็นอาหารหลัก แต่ บางครั้งจะกินเหยื่อขนาดใหญ่ เช่น นกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หรือแม้แต่จระเข้ด้วยกันเองที่มีขนาดเล็กกว่า

ยุทธวิธีในการล่าเหยื่อ

ยุทธวิธีในการล่าเหยื่อของจระเข้ขนาดใหญ่ ใช้วิธีพรางตัวลอยอยู่บนผิวน้ำ ซึ่งจะเห็นเพียงลูกตาทั้งสองและปุ่มจมูกที่เรียกว่าก้อนขี้หมาอยู่เหนือน้ำ ค่อยๆ ส่ายเข้าหาเหยื่ออย่างช้าๆ จึงโผขึ้นงับหัวหรือขา แล้วลากลงใต้น้ำให้เหยื่อจมน้ำตาย บนพื้นดินจระเข้จะซุ่มดักรอตามทางเดินของสัตว์ หรือบริเวณใกล้แอ่งน้ำ เมื่อเหยื่อเข้าใกล้จึงเข้างับแล้วพยายามลากลงสู่แหล่งน้ำที่ใกล้ที่สุด บางตัวอาจใช้หางฟาดเหยื่อเพื่อลดการดิ้นรนอีกด้วย

จระเข้มีฟันเป็นซี่แหลมเรียวไปตามความยาวของปาก ฟันนี้ใช้ในการจับเหยื่อออกเป็นชิ้นๆ หากเหยื่อมีขนาดเล็กจะกลืนกินทั้งตัว
ฟันเมื่อหลุดออกไปจะมีซี่ใหม่งอกขึ้นมาแทนที่อย่างรวดเร็ว วิธีการฉีกเหยื่อของจระเข้ ใช้การงับบริเวณขาหรือแขนของเหยื่อแล้วม้วนตัวไปอย่างรวดเร็ว เหยื่อจะฉีกออกโดยง่าย

ในกรณีที่เหยื่อเป็นมนุษย์ จระเข้เพียงบางตัวเท่านั้นที่กล้าพอที่จะงับมนุษย์ ส่วนใหญ่เหยื่อจะเป็นเด็ก หรือจระเข้ตัวนั้นมีขนาดใหญ่ และแข็งแรงพอที่จะลากมนุษย์ลงในน้ำได้ การที่จระเข้กัดคนที่ตกลงในบ่อเลี้ยงเนื่องจากได้รับการฝึกจนรู้ว่าสิ่งที่ทิ้งลงไปคืออาหาร เมื่อมีอาหารตกลงไปจระเข้จึงมุ่งเข้ามาแย่งกันกิน โดยไม่คำนึงว่าเหยื่อจะเป็นอะไร เคยพบในกระเพาะของจระเข้มีวัตถุที่มิใช่อาหารมากมาย เช่น ก้อนหิน ท่อนไม้ ฯลฯ แม้แต่จระเข้ด้วยกันเอง จระเข้ตัวใหญ่จะจับจระเข้ขนาดเล็กกว่ากินเป็นอาหาร เมื่อสังเกตดูจระเข้ที่นอนผึ่งแดดตามชายตลิ่ง จะพบว่าเป็นจระเข้ที่มีขนาดใหญ่ไล่เลี่ยกันทั้งสิ้น

นิสัยการกินอาหารของจระเข้ มีส่วนสำคัญในการช่วยปรับปรุงสุขภาพของเหล่าปลาในแหล่งน้ำที่มันอาศัยอยู่เป็นอย่างมาก โดยจระเข้จะกินเฉพาะปลาที่อ่อนแอ ปลาพิการ และปลาเป็นโรค ทำให้ประชากรปลาที่เหลืออยู่มีคุณภาพของประชากรที่ดีขึ้นเรื่อยๆ นอกจากประโยชน์ดังกล่าวนี้หนังและเนื้อของจระเข้มีประโยชน์ต่อมนุษย์อย่างอเนกอนันต์ สัตว์เลื้อยคลานที่ไม่ค่อยมีคนชอบนี้ได้มีวิวัฒนาการมาบนพื้นโลกกว่าร้อยล้านปี และกำลังจะหมดไปจากโลกในอนาคตอันใกล้


นายฉาดเฉลียว บุนนาค ผู้เชี่ยวชาญด้านดับเพลิงและผจญเพลิง ได้ให้ความรู้ว่า การเผายางรถยนต์ส่งผลกระทบในเรื่องสภาพอากาศอย่างเห็นได้ชัด เพราะการเผาไหม้ของยางรถยนต์จะใช้เวลาในการเผานานกว่าเชื้อเพลิงอย่างอื่นหลายเท่า อีกทั้งเขม่าควันจากยางรถยนต์จะเห็นได้ชัดว่าเป็นกลุ่มควันสีดำลอยไปตามอากาศ ซึ่งหากสูดดมเข้าไปย่อมทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จากการเผา (Carbon monoxide : CO) เมื่อหายใจเอาก๊าซดังกล่าวเข้าไปแล้ว ก๊าซจะรวมตัวกับฮีโมโกลบิน (Haemoglobin) ในเม็ดเลือดแดงได้มากกว่าออกซิเจนถึง 200-250 เท่า เกิดเป็นคาร์บอกซีฮีโมโกลบิน (Carboxyhaemoglobin : CoHb) ซึ่งลดความสามารถของเลือดในการเป็นตัวนำออกซิเจนจากปอดไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย หรือทำให้ออกซิเจนในเลือดน้อยลง ส่งผลให้ผู้ที่หายใจเข้าไปมีอาการหายใจขัดและอึดอัดเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก ดังนั้น ประชาชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงจึงควรหลีกเลี่ยงการสูดดมเขม่าควันดังกล่าวเข้าสู่ร่างกาย โดยไม่ควรอยู่ใต้ลม

ทั้งนี้วิธีป้องกันของประชาชนคือ หากอยู่ในจุดที่ดับไฟจากการเผายางได้ แนะนำให้ใช้วิธีเขี่ยยางที่สุมกันอยู่หลายวงออกมาทีละเส้น ให้วางยางในลักษณะแนวราบ จากนั้นใช้น้ำดับโดยราดน้ำไปรอบๆ ยางเพียงไม่กี่ขันก็สามารถดับไฟได้ หรือใช้โฟมฉีดไปรอบๆ ยางรถยนต์ก็ดับไฟได้เช่นกัน

ด้าน รศ.ดร.ศิริรัตน์ จิตการค้า วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาให้ความรู้ถึงอันตรายจากการเผายางรถยนต์ว่า ยางรถยนต์ มีไฮโดรคาร์บอน ซึ่งเป็นองค์ประกอบประเภทเดียวกับสารประกอบในน้ำมันนั้น เป็นองค์ประกอบอยู่ถึง 50-60% ซึ่งแฝงตัวอยู่ในรูปของยางที่เป็นวัตถุดิบ จึงถือเป็นแหล่งพลังงานแหล่งใหญ่เลยทีเดียว

“การเผายางรถยนต์ 1 เส้น จะให้ความร้อนออกมามากกว่าการเผาน้ำมันทั่วไปที่มีน้ำหนักเท่ากันถึง 1.25 เท่า พูดง่ายๆ คือ น้ำมันติดไฟง่ายกว่า แต่ปลดปล่อยความร้อนออกมาน้อยกว่า แต่น้ำมันลุกลามได้ไวกว่า เนื่องจากน้ำมันมีความหนาแน่นน้อยกว่า จึงไหม้อย่างรวดเร็วกว่าแต่ดับได้ง่ายกว่า ในขณะที่ยางรถยนต์ มีเนื้อยางที่มีความหนาแน่นมากกว่า ติดไฟยากกว่า แต่เมื่อจุดติดแล้ว จะให้ความร้อนสูงมากกว่า และดับได้ยากกว่า มีอำนาจและเวลาในการทำลายล้างมากกว่า” รศ.ดร.ศิริรัตน์ กล่าว

นอกจากนี้ส่วนประกอบสำคัญหลักๆ ของยางรถยนต์ ไม่ได้มีแค่ยางสังเคราะห์ และ ยางธรรมชาติ แต่ยังมี ผงถ่านคาร์บอน(carbon black) น้ำมัน (Extender oil) ลวด และสารเคมี เช่น ซิงค์ออกไซด์ (Zinc Oxide: ZnO) และ ซัลเฟอร์ (Sulfur : S) เป็นองค์ประกอบ

ดังนั้น เมื่อยางรถยนต์เกิดการเผาไหม้จึงไม่ได้ปล่อยแค่เขม่าควัน ฝุ่นละออง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ แต่ยังปล่อยสารพิษอีกมากมาย เช่น ก๊าซที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบ ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) ที่มีกลิ่นเหม็นรุนแรง อีกทั้งก๊าซชนิดนี้ยังมีภาวะเป็นกรด เมื่อสูดหายใจเข้าร่างกายอาจก่อให้เกิดการกัดกร่อนเนื้อเยื่อที่บริเวณทางเดินหายใจได้

อีกทั้งยางสังเคราะห์ที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นยางชนิด สไตรีน-บิวทาไดอีน (Styrene-Butadiene Rubber : SBR) เมื่อเผาไหม้จะเกิดก๊าซพิษสไตรีนออกไซด์ ซึ่งนอกจากจะเป็นสารก่อมะเร็งแล้ว ยังเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ และระบบทางเดินอาหารอีกด้วยจึงนับว่าเป็นอันตรายมาก

————————————-
ตัดตอน เรียบเรียงจาก:
ผู้เชี่ยวชาญชี้เผายางรถยนต์สร้างก๊าซพิษ-เลือดรับออกซิเจนน้อยลง
ข่าววิทยาศาสตร์ – โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 พฤษภาคม 2553 17:40 น.
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000068779

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เตรียมทูลเกล้าฯถวายรางวัลนักประดิษฐ์โลกแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระปรีชาสามารถด้านการประดิษฐ์

ศ.ดร.อานนท์ บุณยะรัตเวช เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวว่า ได้รับการประสานจากสมาพันธ์นักประดิษฐ์นานาชาติ (IFIA) ซึ่งมีสมาชิกกว่า 80 ประเทศ ในยุโรป สมาคมส่งเสริมการประดิษฐ์ สาธารณรัฐเกาหลีใต้ หรือ คิปา (KIPA) และองค์กรนักประดิษฐ์แห่งรัสเซีย (Association Russian House) ได้เตรียมทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลนักประดิษฐ์โลกแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ 9 กันยายนนี้ เวลาประมาณ 17.00 น. เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และชื่นชมในพระปรีชาสามารถการประดิษฐ์ โดยเฉพาะผลงานกังหันน้ำชัยพัฒนา ฝนหลวง และแนวพระราชดำริเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มาจากพระอัจฉริยภาพในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงคิดค้นขึ้น เพื่อนำมาแก้ปัญหาให้แก่ประชาชน โดยต้นแบบของกังหันน้ำชัยพัฒนากำเนิดขึ้นครั้งแรกในปี 2532 และได้รับการจดสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2536

อย่างไรก็ตาม จากพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาจากองค์กรการประดิษฐ์นานาชาติว่า เป็นพระบิดาแห่งการประดิษฐ์โลก และยังกำหนดให้วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็นวันนักประดิษฐ์โลก (International inventor day convention: IICD) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ได้รับการยกย่องจากทั่วโลก

 

ที่มา: สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ http://thainews.prd.go.th

นักวิจัยเกาหลี ผู้ร่วมบุกเบิกพัฒนาเกาหลีด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในช่วง 40 ปีก่อน เผยแดนกิมจิก้าวหน้าได้ด้วยกลุ่มวิศวกร 20 คน ชี้กระบวนการพัฒนาไม่ได้ใช้คนนับพัน แต่ใช้แค่ไม่กี่คนที่มีความมุ่งมั่น และผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ ต้องมีนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่ทำงานอย่างตั้งใจ

ดร.ยง-อ๊ก อัน (Dr.Young-Ok Ahn) ที่ปรึกษาและนักวิจัยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนาโน (Institute of Nano Science and Technology) มหาวิทยาลัยฮันยาง (Hanyang University) กรุงโซล เกาหลีใต้ หนึ่งใน 20 วิศวกรเกาหลีที่ร่วมพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีของเกาหลี ได้เดินทางมาปาฐกถาพิเศษเรื่อง “สร้างประเทศเกาหลีด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม” ภายในการประชุมสมัชชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา ครั้งที่ 8 ซึ่งจัดขึ้นโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 24 ก.ค.52 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค

นักวิจัยอาวุโสจากเกาหลีกล่าวปาฐกถาว่า เกาหลีมีแผนพัฒนาประเทศเป็นแผน 5 ปี ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2505 ด้วยความพยายามอย่างยิ่งในการริเริ่มของ ปาร์ก ชุงฮี (Park Chunghee) อดีตประธานาธิบดีเกาหลี ซึ่งแผนพัฒนาฯ หลายฉบับร่างขึ้นโดย มร.โอ วอนชุล (O Wonchul) ผู้ช่วยพิเศษของประธานาธิบดี และมี มร.คิม กวางโม (Kim Kwangmo) ซึ่งเป็นวิศวกรเคมีและเพื่อนร่วมชั้นกับ ดร.อันด้วยนั้น เป็นทีมงานสำคัญของอดีตประธานาธิบดี

ในช่วงของแผนพัฒนาฉบับที่ 1 นั้น ขนาดเศรษฐกิจของเกาหลียังไม่สำคัญระดับโลก และการวางแผนเน้นไปที่การทดแทนนำเข้า และส่งเสริมการส่งออกโดยอาศัยนโยบายสนับสนุนของรัฐบาล ช่วงนั้นเกาหลีเริ่มผลิตยางยนต์และส่งออกไม้อัด พร้อมตั้งโรงงานปุ๋ยยูเรีย โรงกลั่นน้ำมัน โรงงานซีเมนส์และโรงงานแก้ว มาถึงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 2 ระหว่างปี 2510-2514 ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการก่อตั้ง สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งเกาหลี (Korea Institute of Science and Technology: KIST) ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเกาหลี
Read more »

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจประกาศคะแนนประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ ปี 2551 จำนวน 52 แห่ง ไม่นับรวมบางจาก ณ วันที่ 22 มิ.ย. 52

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ

[คลิกที่นี่เพื่อเปิดคะแนนประเมินผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจทั้ง 52 แห่ง]