ดร. ปฐมสุดา อินทุประภา
กองพัฒนาและจัดการความรู้องค์กร

    เมื่อวันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมงานสัมมนา SOE Digital Transformation for Thailand 4.0 ที่จัดขึ้นโดยชมรมเทคโนโลยีสารสนเทศรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย ซึ่งนับว่าเป็นการเปิดมุมมองใหม่ในฐานะคนนอกวงการ IT เพราะส่วนใหญ่บุคลากรที่มีโอกาสได้เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้จะเป็นคนในแวดวง IT ไม่ว่าจะเป็น Programmer, System analyst และ Network engineer ซึ่งแต่ละคนก็จะมีการใช้คำพูดด้วยคำศัพท์ที่เป็น Technical terms ที่ผู้เขียนไม่ค่อยคุ้นหู และไม่เข้าใจความหมายเท่าไรนัก เพราะผู้เขียนเป็นแค่ End user หรือผู้ใช้ระบบที่เขาเหล่านั้นได้พัฒนาขึ้นมาแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ในฐานะ End user ที่เข้าร่วมในการสัมมนาในครั้งนี้ ผู้เขียนรู้สึกว่านับเป็นความโชคดีอย่างยิ่ง เนื่องจากผู้เขียนได้เห็นถึงความร่วมมือร่วมใจของกลุ่มรัฐวิสาหกิจไทยที่มุ่งมั่นจะพัฒนาระบบ Infrastructures, program และบุคลากร เพื่อให้ประเทศไทยก้าวไปสู่ Thailand 4.0 ได้อย่างเต็มรูปแบบ

  ในงานสัมมนา ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดและได้กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง SOE Digital Transformation for Thailand 4.0 ซึ่งท่านได้กล่าวว่า ในปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวข้ามผ่านความล้าหลังแล้ว และกลุ่มรัฐวิสาหกิจของไทยก็มีศักยภาพทั้งในเรื่องเงินทุน กำลังคน และเทคโนโลยีที่จะผลักดันประเทศไทยไปสู่ 4.0 และหากกลุ่มรัฐวิสาหกิจไทยสามารถวางเป้าหมายร่วมกันได้ ท่านก็เชื่อว่ากลุ่มรัฐวิสาหกิจไทยจะเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนประเทศไทยความเป็นสู่ 4.0 อย่างเต็มรูปแบบ ท่านยังเน้นย้ำว่าทุกรัฐวิสาหกิจควรที่จะตั้งเป้าร่วมกันคือ การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน โดยต้องไม่ลืมถึงความมั่นคงปลอดภัยต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องของการคมนาคม ระบบ logistic และการทำธุรกรรมการเงินผ่านทางอินเทอร์เน็ต ในส่วนของรัฐบาลเองก็กำลังดำเนินการอยู่ 5 เรื่องหลักๆ เพื่อการขับเคลื่อน Digital 4.0 ซึ่ง ก็คือ SIGMA แปลว่า S = Security (ความปลอดภัย), I = Infrastructure (โครงสร้างพื้นฐาน), G = Government (รัฐบาล), M = Manpower (กำลังคน) และ A = Application (การประยุกต์ใช้) โดยทั้งหมดนี้ก็หมายความถึง การคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้บริการในโลกออนไลน์และความมีเสถียรภาพของระบบต่างๆ การลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานของระบบเครือข่ายให้ครอบคลุม การทำระบบ e-government เพื่อให้ประชาชนมีความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลและบริการต่างๆ ของรัฐบาลได้อย่างทั่วถึง การพัฒนากำลังคนหรือบุคลากรที่จำเป็นเพื่อใช้พัฒนา วิเคราะห์ และวางระบบต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ และการนำเอาระบบต่างๆ ที่ได้รับการพัฒนามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทยในแต่ละภูมิภาค ซึ่งเหล่านี้ก็เชื่อมโยงกับการเสวนาของ คุณเทวินทร์ วงวานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) คุณชัยยงค์ พัวพงศกร ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง และคุณมนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ซึ่งทั้งสามท่านได้กล่าวถึง ความพร้อมในด้าน Manpower และ Infrastructure ของหน่วยงาน นอกจากนี้ท่านทั้งสามยังยกตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ รวมไปถึงการเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีต่างๆ ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการเตรียมพร้อมเกี่ยวกับใช้พลังงานไฟฟ้าในรถยนต์ การเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยบนระบบเครือข่ายความเร็วสูงที่ครอบคลุมไปทั่วประเทศ

 

 นอกจากนี้ในการเสวนาช่วงบ่ายของ ดร. ณัฐพล นิมมานพัชริทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัล และ นพ. ศุภชัย ปาจริยานนท์ ผู้ก่อตั้ง RISE และ CEO บริษัท MCFIVA ทั้งสองท่านยังได้เน้นย้ำถึงการเตรียมความพร้อมของบุคลากรของภาครัฐให้มีความเป็นนักนวัตกร (Innovator) คือ การที่บุคลากรภาครัฐสามารถนำเอาผลงานวิจัยมาต่อยอดหรือสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ ผลิตภัณฑ์ที่ได้นี้ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถเปลี่ยนวิถีชิวิตของผู้บริโภคได้อย่างเป็นรูปธรรม เช่น สร้างความสะดวกสบาย ประหยัดเวลา หรือประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ เป็นต้น นวัตกรจำเป็นต้องมีความเข้าใจถึงมุมมองของนักลงทุนและสามารถสื่อสารกับนักลงทุนให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงานที่มีความแปลกใหม่และตอบสนองชีวิตในยุค digital 4.0 ได้ ซึ่งบุคลากรภาครัฐควรได้รับการฝึกฝนและพัฒนาทัศนคติ รวมถึงแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ แปลกใหม่ และหลุดออกจากกรอบความคิดเดิมๆ เพื่อสร้างสรรค์งานที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ให้แก่สังคม

 สำหรับในเรื่องของ Security นั้น ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ก็ได้กล่าวบรรยายพิเศษในหัวข้อ Cyber Security for New Generation ซึ่งในการบรรยายท่านก็ได้เน้นย้ำถึง การโจมตีทางไซเบอร์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นความท้าทายของทั้งภาครัฐและเอกชนที่จำเป็นจะต้องมีการกำหนดกลยุทธ์ด้านการรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับเป้าหมายในการปฏิรูปธุรกิจ โครงสร้างพื้นฐานของระบบจำเป็นต้องเข้มแข็ง และสามารถตรวจจับเครือข่ายแปลกปลอมต่างๆ ที่แทรกซึมเข้ามาในระบบได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เรื่องนี้นับว่าเป็นความท้าทายที่สำคัญอย่างยิ่งของการพัฒนาสู่ Thailand 4.0 อย่างมีประสิทธิภาพ

  ในช่วงท้ายของงานซึ่งเป็นการบรรยายพิเศษเรื่อง Challenging to change in digital era โดย พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ได้กล่าวถึง การเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยี ทำให้หลายธุรกิจต้องปิดตัวลง ดังนั้นในยุคที่ทุกอย่างสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในพริบตา บุคลากรภาครัฐจึงจำเป็นต้องพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแลงที่รวดเร็วเช่นนี้ เพราะคลื่นลูกใหม่แห่งความเปลี่ยนแปลงอาจจะถาโถมลงมาได้อีกในไม่กี่ปีข้างหน้า

 ท้ายสุดนี้ ข้อคิดที่ได้จากเข้าร่วมสัมมนาในฐานะ End user ผู้เขียนได้ตระหนักถึงสิ่งที่ End user ต้องเตรียมรับมือเพื่อก้าวเข้าสู่ Thailand 4.0 อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นก็คือ Digital literacy หรือความตระหนักรู้เท่าทันเทคโนโลยี เพื่อให้เราสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างปลอดภัยและเกิดประโยชน์สูงสุดนั่นเอง

       ผู้เขียนได้มีโอกาสร่วมประเมินโครงการวิจัยพัฒนากับ ดร.เสริมพล รัตสุข, อ.อัครพงศ์ ผ่องสุวรรณ, Innovation Developer จาก สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) และ ผู้เชี่ยวชาญ จาก สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ทำให้ได้รับความรู้ในเรื่องของมุมมองในการคิดงานวิจัยพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมที่ผลผลิตสามารถนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้อย่างเป็นรูปธรรม จึงขอนำความรู้ดังกล่าวมาแบ่งปันเพื่อนักวิจัยรุ่นใหม่และผู้ที่กำลังคิดสร้างนวัตกรรมสามารถกำหนดเป้าหมายและทิศทางในการดำเนินงานได้อย่างเหมาะสม

       ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่าง นวัตกรรม กับ สิ่งประดิษฐ์ ในมุมมองของการตลาดอย่างง่ายๆกันดีกว่า

       นวัตกรรม (Innovation) คือ การสร้างสิ่งใหม่ที่ขายได้ ถ้าขายไม่ได้ ถือว่าเป็นแค่ การประดิษฐ์ (Invention)

       นวัตกรรมที่น่าสนใจในมุมมองของการตลาดจำเป็นต้องตอบโจทย์ในประเด็นดังนี้

  • Fixing Pain Point คือ การแก้ปัญหา หรือข้อจำกัด ที่ผู้ใช้ได้รับจากบริการหรือผลิตภัณฑ์ ซึ่งทำให้ยังไม่รู้สึกพอใจหรือได้ประโยชน์สูงสุดตามที่ได้ลงทุนไป
  • Market Impact คือ ผลที่ได้เมื่อเรานำสิ่งที่เราคิดไปจัดจำหน่ายในท้องตลาด เช่น เป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อนและน่าสนใจจนสร้างรายได้ให้แก่ผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการนวัตกรรมนั้นๆ ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด ลงทุนน้อยกว่าคู่แข่ง ราคาถูกกว่าคู่แข่ง มีคุณค่าที่แตกต่างจากคู่แข่ง
  • Disrupt Industry คือ การเปลี่ยนมุมมองการผลิตและการบริการที่ออกนอกกรอบกฏเกณฑ์ที่มีอยู่ทั่วไปในท้องตลาด หรือ อุตสาหกรรม จนสามารถสร้างพื้นที่ใหม่ของผลิตภัณฑ์และบริการ ในฐานะของการเป็นเจ้าแรกที่มีความแตกต่างจากของเดิมที่มีอยู่ในท้องตลาดเพื่อตอบโจทย์ในเรื่องเดียวกัน ทั้งนี้แนวความคิดที่เรียกว่า Disruption นั้นจะไม่มีกฏเกณฑ์ที่ตายตัว สามารถเปลี่ยนได้ตลอดเวลาตามสภาพแวดล้อมและบริบทที่เปลี่ยนไป

       จากนั้น เพื่อให้ได้มาซึ่งแหล่งเงินทุนสนับสนุนในการดำเนินการ หัวใจสำคัญของข้อเสนอโครงการที่ดี อย่างน้อยต้องประกอบด้วย

  • ชื่อโครงการ ที่แสดงให้เห็นว่า เมื่อดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว อะไรคือนวัตกรรมที่จะได้ โดยสามารถตอบโจทย์ในประเด็นดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้การจะได้มานั้นซึ่งนวัตกรรมที่เราต้องการจะสร้างนั้น เราจำเป็นต้องศึกษา ค้นคว้า ข้อมูลผลิตภัณฑ์และบริการที่มีอยู่ในท้องตลาด รวมถึงงานวิจัยทั้งที่ดำเนินการแล้วเสร็จ ที่กำลังดำเนินการอยู่ และที่มีการวางแผนจะดำเนินการ ไม่ใช่แค่เพียงเฉพาะแค่ในประเทศแต่ต้องรวมถึงที่มีในต่างประเทศด้วย เพื่อจะได้เกิดความแน่ใจว่าสิ่งที่เราคิดจะสร้างนั้น มีใครทำแล้วหรือคิดเหมือนเราไหม ถ้าเหมือนก็ไม่ควรที่จะทำ ถ้าต่างเราก็ต้องตอบได้ว่าต่างกันตรงไหน ระหว่างเรากับเขาใครดีกว่ากัน ถ้าดีกว่าก็ลุย
  • มีการระบุกลุ่มลูกค้า หรือ ผู้ได้รับผลประโยชน์ จากโครงการที่ชัดเจน ยิ่งถ้าสามารถแสดงให้เห็นว่ามีคนรอใช้ผลผลิตของโครงการเราอยู่จำนวนไม่น้อย โอกาสที่ข้อเสนอโครงการจะผ่านก็ยิ่งมีมาก
  • มีแผนและงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินโครงการที่ครอบคลุมทุกกิจกรรม รวมทั้งมีระยะเวลาในการดำเนินงานที่เหมาะสม สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม คือ การศึกษา กฏระเบียบ ข้อกำหนด และมาตรฐานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่เราจะดำเนินการ เช่น ถ้าจะทำเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพสักชนิด เราจำเป็นต้องรู้ว่าการที่เราจะผลิตออกขายในท้องตลาดได้นั้น เราต้องได้รับการรับรองหรืออนุญาตจากใครบ้าง และระยะเวลาตลอดจนค่าใช้จ่ายในการขอการรับรองและการอนุญาตนั้นมากน้อยแค่ไหน เพื่อจะทำให้เราสามารถกำหนดกรอบระยะเวลาดำเนินการและงบประมาณที่ต้องใช้ได้อย่างครบถ้วนเหมาะสม
  • มีแบบจำลองธุรกิจ หรือ Business Model  ที่แสดงให้เห็นว่า ผลของโครงการจะสามารถทำเงินให้กับลูกค้า หรือ ผู้ได้รับผลประโยชน์จากโครงการ อย่างไร โดยแสดงให้เห็นวิธีการ ทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ และต้นทุนในการดำเนินงานในโครงการนั้นๆประกอบด้วย
  • ระยะเวลาการคืนทุนไม่ควรเกิน 2 ปีครึ่ง

       เพียงแค่นี้ ไม่ยากใช่ไหมคะที่เราจะคิดสร้างนวัตกรรม และทำข้อเสนอโครงการเพื่อขอทุนสนับสนุนในการดำเนินงาน มาร่วมกันสร้างนวัตกรรมที่มี Impact กันเถอะค่ะ

อรุณี ชัยสวัสดิ์
นักวิจัย
ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมหุ่นยนต์และเครื่องจักรกลอัตโนมัติ (ศนย.)

     การพัฒนานวัตกรรม ให้เป็นที่ยอมรับและต้องการของตลาด  มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ สามารถขายและสร้างเป็นธุรกิจได้นั้น  ต้องมีองค์ประกอบหลายประการ  เช่น ความใหม่ (Newness)   ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) มีความแตกต่าง ไม่ซ้ำ หรือเลียนแบบ สามารถใช้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ (Economic Benefit) หรือสามารถขยายผลสร้างมูลค่าเพิ่มต่อเนื่องได้

     กระบวนการสร้างนวัตกรรม เกิดขึ้นหลากหลายวิธี เช่น ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) ความต้องการแก้ปัญหา (Problem) การจัดการและต่อยอดองค์ความรู้ (Knowledge Management) และการปรับปรุงและพัฒนา (Improvement) ซึ่งวิธีนี้เป็นที่นิยม เนื่องจากประหยัดทั้งเวลาและงบประมาณ อีกทั้งมีโอกาสสำเร็จสูง สามารถนำไปใช้ได้ทั้ง นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation) และนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) วิธีการโดยการระดมความคิด เพื่อค้นหาจุดบกพร่องของผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการเดิม ประกอบกับการประเมินความต้องการหรือความพึงพอใจของผู้ใช้ นำมาใช้เป็นข้อมูลป้อนเข้า (Input) เพื่อใช้วิเคราะห์หาสาเหตุและปัจจัยที่แท้จริงของปัญหา ดังนั้น การวางแผนเพื่อพัฒนานวัตกรรมด้วยวิธีนี้ จึงต้องมีการกำหนดแผนและวิธีการดำเนินงาน ในรูปแบบของกระบวนการ (Process Approach) โดยพิจารณาถึงความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงที่ส่งผลกระทบต่อเนื่องกัน รูปแบบนี้สามารถใช้ได้กับ งาน กระบวนการ และ กิจกรรมทุกประเภท นั่นคือ พิจารณาจาก ส่วนปัจจัยนำเข้า (Input) คือ ทรัพยากร วัตถุดิบ ประกอบด้วย ชนิด ประเภท สัดส่วน ปริมาณ น้ำหนัก ความชื้น ฯลฯ ส่วนกระบวนการ (Process) คือ วิธีการ ขั้นตอนการทำงาน ขั้นตอนการผลิต ได้แก่ กระบวนการ เทคโนโลยี เครื่องมืออุปกรณ์ ระยะเวลาการผลิต อุณหภูมิ ความดัน ระบบควบคุม ระบบ IT การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพ ฯลฯ เพื่อให้ได้ผลผลิต (Output) คือ ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ บริการใหม่ หรือนวัตกรรมใหม่ ตามต้องการ

     หลักการ Process Approach เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยนำเข้า (Input) เช่น เปลี่ยนวัตถุดิบ สัดส่วนหรือปริมาณฯลฯ ก็จะทำให้ผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์เปลี่ยนแปลงเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ สำหรับกระบวนการ (Process) สามารถจำแนกเป็น กระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนหรือวิธีการ เช่น เปลี่ยนเทคโนโลยี/เปลี่ยนระบบ เปลี่ยนเครื่องมือ ระยะเวลา อุณหภูมิ ความดัน ฯลฯ ทำให้ผลผลิตที่เกิดขึ้นเปลี่ยนแปลง เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เช่นกัน สำหรับกระบวนการทำงานในภาคธุรกิจบริการ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบบ เช่น การบริหารงานคุณภาพ การนำระบบ IT มาใช้ สามารถลดขั้นตอน การซ้ำซ้อน ใช้คนน้อยลง ลดความผิดพลาด รวดเร็วขึ้น ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น เกิดเป็นกระบวนการใหม่ ซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการใหม่นี้ หากสามารถสร้างรายได้ หรือมูลค่าเชิงพาณิชย์ ก็จะกลายเป็นนวัตกรรมใหม่นั่นเอง

     อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการดำเนินงานในภาคธุรกิจ หรือภาคอุตสาหกรรมการผลิตนั้น ประกอบด้วย กิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆมากมาย เมื่อนำมาเชื่อมโยงกัน จะทำให้ Output ของ Process หนึ่งไปเป็น Input ของอีก Process หนึ่ง เกิดความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) จนเกิดเป็นระบบ (System Approach) ดังนั้น หาก Input เริ่มต้นดี จะส่งผลให้ได้ Output ดี เช่นกัน แต่หาก Input ไม่ดี ก็จะส่งผล Output ไม่ดีหรือด้อยคุณภาพ ซึ่ง Output ที่ไม่ดีหรือด้อยคุณภาพนี้จะกลายเป็น Input ของกระบวนการต่อไปอีก ส่งผลกระทบต่อเนื่อง ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลลัพธ์ด้อยคุณภาพ ดังนั้นการปรับปรุงและพัฒนา เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่โดยใช้ Process Approach และ System Approach จะช่วยให้นวัตกร (Innovator) สามารถตรวจสอบความเชื่อมโยงของกระบวนการ และค้นหาจุดบกพร่อง เพื่อดำเนินการแก้ไขปรับปรุง ทำให้สามารถลดความเสี่ยงจากความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น นอกจากนี้การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continual Improvement) โดยใช้กระบวนการ PDCA เป็นเครื่องมือดำเนินการ ประกอบกับความคิดสร้างสรรค์ จะทำให้สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ได้อย่างต่อเนื่องและหลากหลาย สามารถตอบสนองความคาดหวัง และความต้องการของผู้บริโภค มีความทันสมัย โดดเด่นและแตกต่าง สร้างเป็นธุรกิจต่อเนื่องได้อย่างไม่สิ้นสุด

 

นายสุรพล  ตนานนท์ชัย (นักประชาสัมพันธ์อาวุโส)

          การสื่อสารในยุคดิจิทัล  การถ่ายภาพเป็นความนิยมของผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนในการบันทึกภาพเพื่อประโยชน์ในการทำงานและชีวิตส่วนตัว  กองสื่อสารภายใน (กสน.) สำนักสื่อสารองค์กร (สสอ.) จึงจัดการอบรมหลักสูตร Introduction Photo Class for TISTR :   การถ่ายภาพให้สวยงามด้วยกล้องและสมาร์ทโฟนด้วยตนเอง ตามโครงการ TISTR Photo’s Stock ซึ่งได้รับความร่วมมือจากพนักงาน และลูกจ้าง วว. เกินเป้าหมาย   นับเป็นการอบรมเชิงถ่ายทอดประสบการณ์เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างดียิ่ง

การอบรมถ่ายภาพให้สวยด้วยอุปกรณ์ถ่ายภาพแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การถ่ายภาพด้วย Smart Phone โดย วิทยากรจากภายนอก นายญาณพัฒน์  บุญเกตุ วิทยากรที่มีชื่อเสียงในการโฆษณาแบบ Emotional Communication มีประสบการณ์ในวงการนักสร้างสรรค์งานโฆษณาโดยตรง ปัจจุบันทำงานที่บริษัท Creative Juice  และเป็นช่างภาพอิสระ   มี Facebook ที่แบ่งปันภาพถ่ายสวยๆ ชื่อ facebook.com/Nickplus    วิทยากรท่านนี้เป็นผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับมุมมองการถ่ายภาพ เทคนิคการใช้ Smart Phone  function หลักของ Smart Phone ทั้ง 2 ค่าย คือ iphone และ Samsung ที่ใช้ในการถ่ายภาพให้สวยงาม

Pic1

หลายคนได้รับความรู้ที่ได้จากการถ่ายภาพด้วย Smart Phone ด้วยแนวคิด “ภาพ 1 ภาพ คือการเล่าเรื่องราว” ดังนั้น จึงควรรู้สิ่งที่พึงปฏิบัติและไม่ควรปฏิบัติ 20 ประการสำหรับการจัดองค์ประกอบภาพ ได้แก่

  • ไม่ไกลเกินไป : ในการถ่ายภาพควร Focus วัตถุที่จะถ่ายไม่ไกลเกินไป เพื่อจะได้รูปคน รูปวัตถุ ที่เราต้องการจะสื่อให้ทราบว่าเป็นภาพอะไร ทำอะไร ที่ไหน
  • ไม่บัง : ก่อนถ่ายภาพควรสำรวจหน้ากล้องทุกครั้ง เปิดหน้ากล้องหรือยัง หรือขณะที่ถ่ายภาพนิ้วมือไม่ควรบังหน้ากล้อง
  • ไม่มืด : หากถ่ายภาพในที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ เราควรเปิด Flash ตามความเหมาะสม
  • ไม่เอียง : การถ่ายภาพคน หรือสถาปัตยกรรม ไม่ควรเอียงกล้องถ่ายภาพ แต่ควรถ่ายแบบตั้งตรงตามที่เรามองเห็นก่อนถ่าย
  • ไม่น้อย : การถ่ายภาพคน หรือวัตถุ ไม่ควรถ่ายเพียงนิดเดียว ควรถ่ายให้เต็มวัตถุนั้น เพื่อจะได้รู้ว่าวัตถุนั้นคืออะไร ถ้าเป็นภาพคนจะได้ทราบใครทำอะไร ที่ไหน
  • ไม่เบลอ : เราควร Focus วัตถุที่จะถ่ายภาพ เพื่อเล่าเรื่องสื่อให้คนดูทราบว่าเราจะเล่าเรื่องอะไร
  • ไม่ซ้าย/ไม่ขวา : ในการถ่ายภาพไม่ควรหนักด้านซ้าย หรือด้านขวามากเกินไป ควรจัดภาพให้สมดุล ภาพจะออกมาสวยงาม
  • อย่ากระพริบตา : ขณะถ่ายภาพควรสำรวจด้วยว่าคนที่เราถ่ายกระพริบตาหรือไม่
  • ไม่ใกล้เกินไป : ไม่ควรถ่ายภาพวัตถุที่ต้องการใกล้เกินไป เพียงถ่ายให้รู้ว่าวัตถุนั้นคือภาพอะไร
  • ไม่รก : การถ่ายภาพควรพิจารณาว่าสิ่งที่ตั้ง หรือวาง นั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราจะถ่ายเพื่อเล่าเรื่องนั้นหรือไม่
  • ถ่ายในระดับสายตา : ควรถ่ายภาพให้พอดีกับวัตถุนั้น เพื่อบอกเล่าเรื่องในสิ่งที่เรามองเห็น
  • ไม่แบ่งแยก : ภาพที่ถ่ายไม่ถ่ายแบ่งแยกเป็นส่วน เพราะจะทำให้ไม่รู้ว่าวัตถุที่ถ่ายนั้นคืออะไร
  • ไม่ถ่ายภาพหมู่ : ในการถ่ายภาพหมู่ควรจัดให้กระจาย โดยจัดสัดส่วนของภาพ เพื่อให้มองเห็นทุกคน
  • ไม่ถ่ายเท้า : ควรจัดระดับกล้องไม่สูง หรือต่ำเกินไป เพื่อได้ภาพครบทุกส่วนตามต้องการ
  • ไม่สั่น : ไม่ควรถ่ายภาพมือเดียว ควรจับกล้องสองมือ โดยใช้นิ้วโป้งกด Shutter
  • ไม่เงา : หลีกเลี่ยงเงาตกกระทบภาพ ขณะถ่ายภาพไม่ควรหันหลังให้แสง
  • ดูเพื่อนด้วย : ควรดูความพร้อมของเพื่อนก่อนถ่ายภาพ
  • เป็นธรรมชาติ : ควรตกแต่งภาพหลังถ่ายให้เป็นตามธรรมชาติ
  • ไม่แตก : ควรเลือกภาพถ่ายที่คมชัด
  • ไม่เปิดFlash : การเปิด Flash ถ่ายภาพบางครั้งก็ไม่สามารถเล่าเรื่องได้ เพราะแสงของ Flash จะสะท้อนเข้ามา เช่นการถ่ายภาพกับกระจกในห้องน้ำ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีการฝึกแต่งภาพด้วย Snapseed ซึ่งเป็น Free Application บนมือถือที่ใช้งานง่ายและสะดวก เสริมด้วยการแนะนำเว็บไซต์ Pixabay ซึ่งเป็นแหล่งรวมภาพ วีดีโอ ภาพประกอบให้เลือก Download มากมายจากช่างภาพทั่วโลก สามารถ Download ภาพสวยๆ มาใช้งานได้ฟรีไม่มีลิขสิทธิ์ มีการแนะนำวิธีการตรวจสอบที่มาของภาพ บรรยากาศในการอบรมจากการฟังบรรยายในช่วงแรก จะเป็นช่วงตื่นเต้น สนใจ ภายหลังครึกครื้น เพราะมีการถ่ายภาพนางแบบจริงมาอธิบาย มีการนำภาพของแต่ละคนมาให้ข้อเสนอแนะเชิงวิชาการ ทำให้มีความเป็นกันเองมากขึ้น

Pic2

สรุปได้ว่า  การถ่ายภาพ  ต้องขึ้นอยู่กับแสง   การจัดองค์ประกอบของภาพ และที่สำคัญ คือภาพต้องบรรยายเรื่องราวที่ต้องการสื่อได้อย่างชัดเจน

ช่วงบ่าย นางสาวศศิกานต์ แต่งเสร็จ จาก สสอ.  แบ่งปันความรู้และประสบการณ์การถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอล DSLR เทคนิคการถ่ายภาพแบบ Manual การล็อกค่ารับแสง และFocus ทำให้ได้ความรู้ว่า การตั้งค่าการถ่ายภาพสำคัญมาก ต้องมีความรู้เรื่องการจัด Frame ภาพ การตั้งค่ารูปรับแสง ความเร็ว Shutter ค่า ISO ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมระดับความไวต่อแสง ซึ่งการตั้งค่า ISO สูงๆ ทำให้ถ่ายภาพในที่มืดได้ โดยวิทยากรได้แสดงการสาธิตการถ่ายภาพที่ปรับรูปรับแสง ความเร็ว Shutter และค่า ISO ที่ค่าต่างๆ แสดงให้เห็นเปรียบเทียบจนเกิดความเข้าใจได้ง่าย

การอบรมในครั้งนี้นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง  เหมาะสำหรับผู้ที่ยังใช้งานกล้องไม่เป็น หรือ มือใหม่หัดถ่ายภาพ  เทคนิค  ลูกเล่น  มุมมอง  การจัดองค์ประกอบภาพ  การใช้แสง เวลาที่เหมาะสมในการถ่ายภาพ ล้วนเป็นการถ่ายภาพที่ช่วยให้ได้ภาพที่สวยงามนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  

ทุกคนเริ่มสนุกกับการถ่ายภาพ และคงได้เล่าเรื่องราวผ่านภาพถ่ายที่จะเก็บไว้ในความทรงจำ  เหมือนการได้เรียนรู้ในวันนี้  …สนุกแบบลืมไม่ลงทีเดียว

 

โดย ปุณณภพ โผผิน (กองประชาสัมพันธ์)

           หลายคนคงคุ้นหู กับ คำว่า โลโก้ (logo) คุ้นตา กับ ภาพกราฟฟิกแปลกๆ รูปคนบ้าง รูปสัตว์บ้าง หรือลายเส้น ตัวอักษรไม่กี่ตัวหรือคำสั้นๆ ก็มี รูปแบบเหล่านี้เรียกว่า โลโก้ (logo) หรือตราสัญลักษณ์ ซึ่งบางคนนำตัวอักษรตัวหน้าของบริษัท หน่วยงานมาเป็นโลโก้ แล้วอ่านใหม่ให้กระชับ จำง่ายขึ้น   จึงทำให้โลโก้ (logo)  มี 2 รูปแบบใหญ่ๆ

  1. 1. โลโก้แบบตัวอักษร (word mark) ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทที่เกิดขึ้นใหม่ไม่นาน หรือเป็นบริษัทที่ต้องการให้ลูกค้าจดจำชื่อ คุ้นหู ติดปาก ไปพร้อมๆกัน แต่การใช้โลโก้แบบนี้หากไปอักษรภาษาไทย จะต้องปรับเป็นภาษาอังกฤษด้วย ถ้าต้องการนำบริษัทเข้าสู่ระดับสากล
  2. coke1-Uw3dXdNSkWBfd_edot3pNw
  3. 2. โลโก้แบบกราฟฟิก (symbol) ปัจจุบันบริษัทน้อยใหญ่นำมาใช้กันเป็นจำนวนมาก แต่ในบริษัทใหญ่ๆที่เปิดตัวมานานแล้วจะทำการพัฒนาจากโลโก้ตัวอักษรมาป็นโลโก้กราฟฟิกแทน ทำให้โลโก้ดูทันสมัย ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ลักษณะของโลโก้แบบกราฟฟิกนี้จะทำการตัดทอนรูปแบบ หรือสร้างเป็นรูปสัตว์ รูปอุปกรณ์ ที่ไม่ให้ยุ่งยาก ทำให้จดจำง่าย
  4. symbolic-logo logo (1)

โลโก้ดีๆ เค้าเป็นกันอย่างไร?

หลักการเบื้องต้นของการสร้างโลโก้ใน 1 ชิ้น ต้องสร้างรูปแบบที่ไม่ยุ่งยาก จดจำง่าย นำไปใช้ได้หลากหลายสถานะ สีที่ใช้ไม่ควรเกิน 3 สี  (จำนวนสียิ่งน้อย ยิ่งเป็นการดี) เพื่อง่ายต่อการนำไปใช้กับเนื้องานหรือวัสดุรองรับอื่นๆ และไม่สิ้นเปลืองค่าทำเพลทสีในระบบการจัดพิมพ์ สังเกตได้ว่าบางบริษัทใช้แค่สีเดียว เพื่อให้มีจุดเด่น จดจำง่าย

158_20110201115650z8

แม้ปัจจุบัน การนำโลโก้ไปใช้ไม่ได้อยู่แค่บนสิ่งพิมพ์หรือบนผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังนำไปใช้บนสื่อมัลติมีเดียต่างๆ อาทิเช่น  เว็บไซต์  เฟสบุ๊ก  ไลน์  หรือระบบสื่อสารต่างๆ แต่ก็ยังใช้แนวคิดหรือหลักการในการออกแบบโลโก้ที่เหมือนๆ กัน

afd-19215

จำเป็นหรือไม่…ที่ต้องยึดหลักในการออกแบบโลโก้

การออกแบบงานที่ดีควรอยู่บนหลักการที่ดี แต่ในบางครั้งการออกแบบโลโก้ ก็ไม่จำเป็นต้องยึดหลักการทั้งหมด เพราะหลักการไม่ใช่เหตุผล ในบางคราวผู้ออกแบบต้องคำนึงถึงความต้องการของเจ้าของสินค้าเป็นเหตุผลหลัก คือ ความต้องการจากเจ้าของนั่นคือเหตุผลหลัก… ทั้งเรื่องรูปแบบ การจัดวางองค์ประกอบ เรื่องของสี รายละเอียดที่ต้องการใส่ และอีกหลายๆอย่าง ซึ่งในบางครั้งอาจมีอิทธิพลมาจากความเชื่อโชคลาง การถูกโฉลกของสี มีโชคลาภ เงินทอง เป็นต้น จึงทำให้โลโก้บางชิ้นถูกออกแบบมาตรงกับความต้องการของเจ้าของ แต่ไม่ตรงตามหลักการของผู้ออกแบบ เราจึงได้พบเห็นโลโก้ที่ตรงหลักการบ้าง    ตรงใจเจ้าของบ้าง ใช้ปะปนกันไป  ซึ่งผู้ออกแบบต้องปรับตัวมากขึ้น เช่น ออกแบบโลโก้โดยอยู่บนพื้นฐานของ    โงวเฮ้ง ฮวงจุ๊ย หรือความเชื่อส่วนบุคคลเสริมเข้าไปในการทำงาน หรือการนำเสนอผลงาน จะเป็นการดีมากๆ

googlechrome_logo

การออกแบบโลโก้เพื่อนำมาใช้ประโยชน์สักชิ้นหนึ่งกับผลิตภัณฑ์ของเรานั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่า โลโก้นั้นตอบโจทย์กับผลิตภัณฑ์ของเราได้มากแค่ไหน ช่วยให้เราจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้มากแค่ไหน หรือทำให้ผู้คนรู้จักเราได้มากแค่ไหน

….แนวคิดดังกล่าว คือ ประโยชน์จากการใช้ “โลโก้”….

อ้างอิง

https://gengsittipong.com

http://www.myhappyoffice.com/index.php/2012/06/logo-design-message/

http://www.neutron.rmutphysics.com

http://technologywisdom.com/es/logo-design-form.ph

http://www.udondesign.com

https://freedesignfree.wordpress.com

โดย ปุณณภพ โผผิน 

            เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยในปัจจุบันคือ ยุคไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งเป็นยุคที่มีการนำเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตมาใช้ในการพัฒนาและช่วยในการขายสินค้า ดังนั้นในส่วนของงานกราฟิกดีไซน์จึงจำเป็นต้องมีการปรับตัวเพื่อให้เข้ากับยุคไทยแลนด์ 4.0 การออกแบบต่างๆ ต้องมีการศึกษาเทรนด์ที่มีความเป็นสากล เหมาะสมกับยุคสมัย เพื่อให้งานการฟฟิกดีไซน์มีความสอดคล้องกับผลิตภัณฑ์หรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นในยุคนี้ ซึ่งเทรนด์ในงานกราฟฟิกดีไซน์ต่างๆ สามารถสรุปย่อๆ ได้ ดังนี้

        1. การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น วารสาร (magazine) จุลสาร (booklet) โปสเตอร์ (poster) แผ่นพับหรือใบปลิว (leaflet) เทรนด์งานกราฟิกดีไซน์สำหรับสื่อประเภทนี้ ปัจจุบันจะมุ่งเน้นไปที่ความเรียบง่าย มีความเป็นธรรมชาติ มีการเลือกใช้สีที่สื่อถึงความสดใหม่ สดใส ตื่นตัว มีการใช้ลูกเล่นโดยการไล่เฉดสี สำหรับลักษณะการใช้ลายเส้นจะเป็นการเลียนแบบจากธรรมชาติรอบตัว เช่น คลื่นทะเล ลายหินอ่อน ใบไม้ ดอกไม้ ปีกนก นอกจากนี้การดีไซน์ยังมีกลิ่นไอของการออกแบบในยุค 80 ที่ผสมอยู่ในการใช้สีและการลักษณะเลือกใช้ตัวอักษร (font) อีกด้วย  ในส่วนของการใช้ภาพประกอบนั้น จะเน้นไปที่การสร้างกราฟฟิกแทนการใช้ภาพจริง หรือใช้ภาพวาดมือ (hand-drawn) ผสมผสานกับกับการใช้ภาพกราฟิก

    So-Schmeckt-2017-wpcf_700x454

tpc_general_spring-summer_2017

        2.การออกแบบโลโก้ ยุคนี้ก็ยังคงยึดถือปรัชญาเดิมคือ การสร้างความน่าจดจำและสื่อถึงผลิตภัณฑ์หรือบริการของบริษัท โดยการออกแบบจะมุ่งเน้นไปที่ความเรียบง่าย ลายเส้นไม่ซับซ้อน ดูสบายตา ใช้การออกแบบที่เป็นแบบแบน (flat design) และมีการใช้การออกแบบที่ว่างรอบวัตถุให้เกิดภาพซ้อนอีกภาพหนึ่ง (negative space) สำหรับลักษณะลายเส้นที่ใช้ในการสร้างโลโก้ก็จะเน้นไปที่เส้นหนาทึบเสมอกันวางอยู่พื้น (background) สีเดียว นอกจากนี้หลายแบรนด์ยังเลิกใช้ตัวอักษรในโลโก้ เพื่อให้โลโก้ดูเรียบง่าย สะอาดตา สำหรับภาพที่ใช้ในการสร้างโลโก้หากไม่ได้สร้างจากลายเส้นก็จะนิยมใช้เป็นภาพวาดมือ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของสินค้าหรือบริการให้ดูมีความอบอุ่นและมีเสน่ห์

                                        003-logo590 winelogo

                      2011-logo-rebranding-starbucks Insta-1

      images cafeB

         3. การออกแบบสื่อออนไลน์ที่เป็นภาพนิ่ง การใช้ภาพนิ่งเพื่อเป็นสื่อในการประกาศ โฆษณา หรือแจ้งข่าวสาร ผ่านทางโซเซียลมีเดีย มีความสำคัญอย่างมากในยุคนี้ ดังนั้นการออกแบบสื่อออนไลน์จึงต้องมีความทันสมัยไม่ตกเทรนด์ ซึ่งเทรนด์ของปีนี้ก็ยังเน้นไปที่ความเรียบง่ายเช่นเดียวกับสื่อสิ่งพิมพ์และโลโก้ แต่จะต่างกันตรงที่สื่อออนไลน์ยุคนี้จะนิยมใช้ cinemagraphy หรือการสร้างภาพเคลื่อนไหวเฉพาะจุด เพื่อให้ดูมีมิติ ดึงดูดสายตาและความสนใจของผู้อ่าน ซึ่งภาพเคลื่อนไหวนี้นิยมใช้ในการทำโลโก้ที่ปรากฏบนสื่อออนไลน์เช่นกัน ตัวอย่างภาพนิ่งในลักษณะ cinemagraphy สามารถหาดูได้จาก ที่นี่

        4. การออกแบบสื่อออนไลน์ที่ภาพเคลื่อนไหว (motion graphic) ยุค 4.0 มีการใช้ motion graphic ในการสื่อสารโน้มน้าวใจ ให้ความรู้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเทรนด์ในยุคนี้จะมีการใช้ภาพกราฟฟิกในลักษณะ 2D และ 3D ผสมผสานกันในสื่อตัวเดียว การเปลี่ยนฉากในแต่ละฉากจะมีความต่อเนื่องกัน (seamless transitions) โดยสิ่งที่เห็นในฉากก่อนหน้าจะปรากฏ และค่อยๆ เปลี่ยนแปลงลักษณะในฉากต่อไป ซึ่งสร้างความรู้สึกต่อเนื่องให้แก่ผู้ชม สำหรับลักษณะเนื้อเรื่องที่นิยมใช้จะเป็นกึ่งสารคดีแอนนิเมชัน มีการใช้ตัวอักษรน้อย เน้นที่การบรรยายเล่าเรื่อง หรือเพลงประกอบที่เข้ากับเนื้อหาของเรื่อง ส่วนภาพแอนนิเมชันจะใช้ไม่กี่สีและมีการไล่เฉดสี ลายเส้นในการสร้างภาพจะไม่ซับซ้อน หนักแน่น เรียบง่าย และสะอาดตา เช่นเดียวกับสื่ออื่นๆ ตัวอย่าง motion graphic ของปี 2017 สามารถหาดูได้จาก https://envato.com/blog/best-motion-graphics-trends-design-2017/

จะเห็นได้ว่าเทรนด์ในการออกแบบกราฟิกของสื่อต่างๆ ยุคนี้จะเน้นไปที่ความเรียบง่าย สะอาดตา เพื่อสร้างความสบายตาให้แก่ผู้ชม ดังนั้นการออกแบบสื่อต่างๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์เอง จึงควรจะมีการพัฒนาเพื่อให้เกิดความน่าสนใจและไม่ตกเทรนด์ เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศในยุคไทยแลนด์ 4.0 ด้วยเช่นกัน

อ้างอิงจาก

https://webdesignledger.com/9-graphic-design-trends-need-aware-2017/

http://www.indesignskills.com/inspiration/2017-graphic-design-trends/

http://justcreative.com/2017/01/01/2017-logo-design-trends-forecast/

https://envato.com/blog/best-motion-graphics-trends-design-2017/

ขอบคุณภาพประกอบจาก Google Image 

 

โดย ดร. นารินทร์  จันทร์สว่าง ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ (ศคช.)

        ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ วว. ที่ได้ให้โอกาสนารินทร์ได้เข้าร่วมประชุม 13th Science and Technology in Society forum (STS forum) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-4 ตุลาคม 2560 ณ กรุงเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ทำให้นารินทร์ได้เปิดโลกทัศน์แลกเปลี่ยนความรู้  จากการได้สนทนาหรือฟังการบรรยายจากผู้ทรงเกียรติที่ได้รับรางวัลโนเบล นักวิจัยผู้มีประสบการณ์สูง นักธุรกิจ นักการเมือง และนักวิจัยรุ่นเยาว์ที่มาจากทั่วโลก  วัตถุประสงค์ของงานประชุม STS forum คือ การจัดหากลไกใหม่ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้วยการเปิดให้มีการแสดงความคิดเห็นและการสร้างเครือข่ายเพื่อวิเคราะห์และแก้ปัญหาจากการประยุกต์ใช้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอกจากนี้งานประชุมยังให้ความสำคัญกับจริยธรรม ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการจัดการอย่างชาญฉลาดและเหมาะสมจะทำให้มนุษย์ในศตวรรษที่ 21  อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข  ก่อนการเริ่มงานอย่างเป็นพิธีการในวันถัดไป ทางผู้จัดงานได้จัดกลุ่มนักวิจัยรุ่นเยาว์ที่มีลักษณะงานใกล้เคียงกันประมาณ 7-8 ท่าน จากนั้นเชิญผู้มีชื่อเสียงและนักวิจัยที่ได้รับรางวัลโนเบลเข้าร่วมสนทนากับนักวิจัยรุ่นเยาว์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและเกิดความสำเร็จในอาชีพการทำงาน โดยกลุ่มของนารินทร์ ได้รับเกียติจากนักวิจัยที่ได้รับรางวัลโนเบล 2 ท่าน คือ คุณหมอ Peter Agre และ ดร. Tim Hunt มาร่วมสนทนา

Narin
Peter Agre

        เริ่มแรกขอกล่าวถึงประวัติของคุณหมอ Peter Agre   คุณหมอเป็นชาวอเมริกัน จบการศึกษาสาขาวิชาแพทยศาสตร์จาก Johns Hopkins School of Medicine และมีประสบการณ์ด้านงานวิจัยและการสอนหนังสือจนกระทั่งคุณหมอได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ถึง 19 ใบจากมหาวิทยาลัยทั่วโลก เช่น ญี่ปุ่น นอร์เวย์ กรีซ เม็กซิโก ฮังการี และจากสหรัฐอเมริกา คุณหมอได้วิจัยเกี่ยวกับโรคมาลาเรียมาเป็นเวลานาน ยิ่งกว่านั้นเขาได้ค้นพบ Aquaporins ซึ่งเป็นช่องทางเฉพาะที่โมเลกุลน้ำผ่านเข้าออกระหว่างเซลล์ และเขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี ปี 2546 (ค.ศ. 2003) ทางด้าน “discoveries concerning channels in cell membranes” คุณหมอเล่าว่าเขาชอบทำงานวิจัย ชอบการเรียนรู้ ชอบทำประโยชน์เพื่อสังคมโดยเขาได้ทำงานวิจัยเกี่ยวกับโรคมาลาเรียในประเทศกำลังพัฒนา  นอกเหนือจากความสำเร็จทางด้านหน้าที่การงาน เขายังมีครอบครัวที่อบอุ่น ลูกสามคนของเขา จบการศึกษาที่ดีและมีความเจริญก้าวหน้าในบริษัทที่มั่นคงและขนาดใหญ่ระดับโลก  คุณหมอยังกล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า “การทุ่มเท ตั้งใจทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวมจะทำให้เกิดความสำเร็จและเกิดความภาคภูมิใจในคุณค่าของตัวเอง”

Tim Hunt
 Tim Hunt

        ท่านผู้ทรงเกียรติลำดับถัดมา คือ ดร. Tim Hunt เป็นชาวอังกฤษ จบการศึกษาปริญญาเอกจาก University of Cambridge ท่านและทีมงานได้ทำงานวิจัยแล้วพบว่ากลูต้าไธโอน (glutathione) ปริมาณเพียงเล็กน้อยสามารถยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนในเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ยังไม่เจริญเต็มที่ และยังพบว่าสาย RNA ใช้เป็นตัวเริ่มต้นการสังเคราะห์ haemoglobin (สารสีแดงในเม็ดเลือดเป็นโปรตีนที่มีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบ ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย)  ดร. Tim Hunt ได้รับรางวัลโนเบลสาขา Physiology or Medicine ปี 2544 (ค.ศ. 2001) ร่วมกับนักวิจัยอีกสองท่านทางด้าน “for their discoveries of key regulators of the cell cycle” ในการการค้นพบ Cyclins ซึ่งเป็นกลุ่มโปรตีนสำคัญที่ควบคุมการแบ่งเซลล์   ดร. Tim Hunt กล่าวว่าเขาชอบทำงานวิจัย จะรู้สึกความตื่นเต้นที่ได้ทราบผลการทดลองจากลูกศิษย์ และท่านยังบอกถึงเคล็ดลับในการประสบผลสำเร็จว่า การที่เขามีลูกศิษย์มากมาย ทำให้งานวิจัยนั้นมีปริมาณมากและมีองค์ความรู้มาก ซึ่งจะทำให้งานวิจัยมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

        จากการสนทนากับผู้ทรงเกียรติทั้งสองท่านนี้ ทำให้นารินทร์ได้ทราบว่าความสำเร็จไม่ได้มาง่ายๆ สิ่งนั้นมาจากการทุ่มเท ตั้งใจทำงาน สะสมประสบการณ์และองค์ความรู้ การทำงานเป็นทีมทำให้ได้งานที่มีความสมบูรณ์มากขึ้น  รวมทั้งไม่ลืมที่จะใส่ใจครอบครัว จะทำชีวิตเรามีความสุขและความสมดุล….:)

ปฐมสุดา อินทุประภา

Pitch ในพจนานุกรมของ Cambridge มีหลายความหมาย แต่หากพูดถึงในด้านการนำเสนองานนั้น คำว่า Pitch จะหมายถึง a speech or act that attempts to  persuade  someone to buy or do something หรือแปลว่า การกระทำหรือคำพูดที่โน้มน้าวใจผู้ฟังให้ซื้อสินค้า บริการ หรือทำตามที่เราต้องการ ซึ่งการนำเสนองานในรูปแบบนี้จะใช้เวลาประมาณ 5-7 นาที เท่านั้น โดยผู้นำเสนอแต่ละคนจะมีโอกาสนำเสนองานต่อหน้าผู้ฟังหรือนักลงทุนตามเวลาที่กำหนดไว้ จากนั้นจะมีเวลาให้อีก 2-3 นาที เพื่อตอบคำถาม

ในปัจจุบันการนำเสนองานในลักษณะนี้ มักจะเกิดขึ้นในธุรกิจ Startup  ที่ต้องการผู้ร่วมลงทุน เหล่านักธุรกิจหน้าใหม่ (entrepreneur)  จะต้องนำเสนอผลงานหรือไอเดียธุรกิจให้แก่นักลงทุนเพื่อให้เกิดการร่วมทุน หรือแม้แต่การซื้อผลงานไปผลิตในเชิงพาณิชย์ ซึ่ง  Pitch Presentation   นั้น ผู้นำเสนอจำเป็นต้องมีทักษะในการดึงดูดผู้ฟังให้สนใจงานของตนให้ได้ในระยะเวลาอันสั้น ทั