โดย นายธันยกร อารีรัชชกุล และ ดร.ปฐมสุดา อินทุประภา
กองพัฒนาและจัดการความรู้องค์กร (กจค.) สำนักดิจิทัลและสารสนเทศ
บริการด้านการเงินสำหรับผู้ใช้งานจำนวนมหาศาลโดยเฉพาะในช่วงโควิท-19 สถาบันการเงินหลายแห่งมีการนำเทคโนโลยี electronic Know-Your-Customer (e-KYC) หรือการยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์มาช่วย เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดต่าง ๆ เพื่อให้ประสบการณ์ลูกค้าเป็นไปอย่างราบรื่น
เทคโนโลยี e-KYC ใช้เพื่อลดขั้นตอนการแสดงตัวตน หรือระบุตัวตนของลูกค้า (Identification & Verification) ช่วยลดขั้นตอนการทำความรู้จักลูกค้าใหม่ โดยสถาบันการเงินไม่พบหน้าลูกค้า แต่มีประสิทธิภาพและคุณภาพเทียบเท่าการพบหน้ากัน เพื่อป้องกันการกระทำความผิดและปกป้องคุ้มครองทรัพย์สินของลูกค้าหากเกิดความผิดพลาด เช่น การใช้ตัวตนปลอมหรือใช้ข้อมูลบุคคลอื่นในการเปิดบัญชี การซื้อขายแทนกัน หรือการถูกลักลอบใช้บัญชีซื้อขาย การถูกยักยอกเงิน
รูปแบบการยืนยันและพิสูจน์ตัวตนของลูกค้าถูกนำมาใช้ในกระบวนการ e-KYC คือ การยืนยันตัวตันด้วยชีวภาพ (Biometrics) เช่น ม่านตา ใบหน้า ลายนิ้วมือ เสียงพูด DNA เป็นต้น ตัวอย่างเช่น ในประเทศอินเดีย การใช้หมายเลขไอดีดิจิทัล Aaadhaar ผ่าน e-KYC เพื่อเปิดบัญชี หรือทำธุรกรรมทางการเงิน ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของสถาบันทางการเงิน โดยรัฐบาลอินเดียวได้จัดตั้งหน่วยงาน Unique Identification Authority of India (UIDA) ขึ้น ร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ดำเนินการลงทะเบียนและจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็น เช่น ชื่อ นามสกุล อายุ เพศ ที่อยู่ ลายนิ้วมือ และม่านตา เพื่อระบุตัวตน โดยผู้ลงทะเบียนจะได้รับบัตร Aadhaar ซึ่งจะมีหมายเลข 12 หลัก เป็นเลขประจำตัวอยู่ในฐานข้อมูลกลางซี่งมีหน่วยง่านของรัฐบาลเป็นผู้ดูแล บัตร Aadhaar ช่วยให้การระบุตัวตนของคนอินเดียวทำได้ง่ายและรวดเร็วมาก ไม่ต้องเตรียมเอกสารซ้ำซ้อน และใช้ประโยชน์จากการเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ สถาบันการเงิน เช่น การเปิดบัญชีธนาคาร ATM โทรศัพท์มือถือ ใบขับขี่
ธนาคารต่าง ๆ ในประเทศไทยได้รับอนุญาตให้นำเทคโนโลยีการจดจำและเรียนรู้ใบหน้า (Biometric facial recognition) มาใช้ในการยืนยันตัวตน ในการเปิดบัญชีเงินฝากจากระยะไกล (Remote account opening) โดยอ้างอิงข้อมูลบริการยืนยันตัวตนรูปแบบดิจิทัล (National Digital ID – NDID) ซึ่งบันทึกประวัติการทำธุรกรรมการเงิน ทั้งนี้ธนาคารในประเทศไทยและผู้ให้บริการธุรกรรมทางการเงินได้เริ่มนำเทคโนโลยีไบโอเมตริกมาใช้ภายใต้โครงการของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ชื่อว่า “โครงการ Regulatory Sandbox”
หลาย ๆ ประเทศที่ประชากรในอัตราการไม่รู้หนังสือระดับสูง และมีประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลยากลำบากในการเดินทางเพื่อเข้าถึงบริการทางการเงินได้เห็นประโยชน์จากการนำ e-KYC มาใช้ จะเห็นได้ได้รับประโยชน์เชิงพาณิชย์และการปฎิบัติตามกฏระเบียบข้อบังคับ
ทั้งนี้ การเปิดบัญชีรับฝากเงินหรือการรับเงินจากประชาชนผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์สถาบันการเงิน จะต้องขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทย โดยการระบุตัวตนของผู้ใช้บริการสถาบันการเงินต้องจัดให้มี อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ Video Conference ที่เจ้าหน้าที่ของสถาบันการเงินสามารถสัมภาษณ์และ สังเกตพฤติกรรมของลูกค้าในขณะนั้นได้ (Real time) โดยมีคุณภาพของภาพและเสียงที่ชัดเจนเพื่อให้มั่นใจว่า เป็นลูกค้าที่ต้องการมาเปิดบัญชีรายนั้นจริง และหากสถาบันการเงินต้องการใช้วิธีการหรือเทคโนโลยีอื่น ทดแทนนอกเหนือวิธี Video Conference ให้สถาบันการเงินขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ส่วนการพิสูจน์ตัวตนในการเปิดบัญชีผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์โดยเครื่องมือของลูกค้า เช่น เครื่อง คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ และโปรแกรมระบบงาน (Application) ที่สถาบันการเงินได้จัดเตรียมไว้ สถาบันการเงินต้องใช้ระบบการตรวจสอบสถานะของข้อมูลและบัตรประจ าตัวประชาชนของลูกค้าที่เป็นปัจจุบัน ประกอบกับระบบการตรวจสอบลายนิ้วมือของลูกค้าเป็นอย่างน้อย หากต้องการใช้เทคโนโลยีอื่นนอกจาก ที่ระบุให้ขออนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณี (“ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 7/2559”, 2561, น.46-53 ; สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย, 2560
ภาพ กระบวนการลงทะเบียน การพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยระบบ Digital ID ที่มา: แนวปฏิบัติในการน าเทคโนโลยีมาใช้ในการท าความรู้จักลูกค้า โดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์, 2561, https://capital.sec.or.th/webapp/phs/upload/phs1540966630 hearing_45_2561_s01.pdf