บุคลิกภาพ หรือ Personality

หมายถึง ลักษณะของบุคคลที่แสดงออกมาในแง่ของหน้าตา ท่าทาง อารมณ์ ทัศนคติ ความคิด และพฤติกรรม  โดยจะแตกต่างกันตามแต่จิตใจและจิตใต้สำนึกของแต่ละบุคคล

แบบทดสอบบุคลิกภาพ

คือ แบบทดสอบทางจิตวิทยาที่ใช้วิเคราะห์วิธีการคิด และลักษณะนิสัยพื้นฐานของบุคคล

ประโยชน์ของแบบทดสอบบุคลิกภาพ

  • เพื่อใช้ในการคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงานกับองค์การ
  • เพื่อใช้ในการพัฒนาบุคลากรในองค์การ

รูปแบบทฤษฎีทางจิตวิทยาที่ถูกนำมาใช้

๑. DISC

คือ ทฤษฏีในการจำแนกบุคลิกภาพของมนุษย์ ที่คิดค้นโดย นักจิตวิทยา William Moulton Marston ซึ่งจะจำแนกลักษณะบุคลิกภาพออกเป็น 14 กลุ่ม โดยพิจารณาจากระดับคะแนนของรหัสลักษณะบุคลิกเด่น DISC ทั้ง 4  มักจะใช้เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยให้การติดต่อสื่อสารมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นั่นคือ รู้ว่าคนบุคลิกใด ควรติดต่อสื่อสารเช่นไร ซึ่ง DISC มีลักษณะเด่น ๆ ดังนี้ 

  1. D หรือ Dominace – ชอบควบคุม ชอบเป็นผู้นำ มุ่งเป้าประสงค์
  2. I หรือ Influent – ชอบชักจูง ชอบเข้าสังคม มีความคิดสร้างสรรค์ ต่อยอดเก่ง
  3. S หรือ Steady – ชอบนิ่ง ๆ อยู่ในสภาวะที่รู้สึกปลอดภัย และคุ้นเคย อนุรักษ์นิยม เอื้อเฟื้อ อดทน
  4. C หรือ Conscientious – ชอบรายละเอียด อยู่ในระเบียบแบบแผน กฏระเบียบ

โดยบางคน อาจเป็นประเภทลักษณะเด่นโดด ๆ ตัวเดียว เช่น D แต่บางคนอาจเป็นลักษณะผสม โดยมีลักษณะเด่นนำ 1 ตัว และตาม 1 ถึง 2 ตัว เช่น DC หรือ DCI เป็นต้น

๒. The 5 Factor Model (FFM)

คือ แบบจำลองการจำแนกบุคลิกภาพของมนุษย์ โดยพิจารณาใน 5 องค์ประกอบหลัก ซึ่งโดยทั่วไปรู้จักกันในนามของ The five-factors แบบจำลองนี้จะพิจารณาองค์ประกอบ 5 ตัวที่รู้จักในชื่อของ NEOCA หรือ OCEAN หรือ CANOE โดย Paul T. Costa, Jr. และ Robert R. McCrae คือ

  1. Neuroticism หรือ ความมั่นคงในอารมณ์ โดยพิจารณาในแง่ของความวิตกกังวล ความโกธร ความหดหู่ ความระมัดระวังในตนเอง ความหุนหันพลันแล่น และความอ่อนแอ
  2. Extraversion หรือ การเข้าสังคม พิจารณาในแง่ของการมีชีวิตชีวา ความกระตือรืนร้น ความตื่นเต้น อารมณ์ดี
  3. Openness to experience หรือ การเปิดกว้างในการเรียนรู้ประสบการณ์ทั้งในด้านศิลปะ อารมณ์ การผจญภัย แนวความคิด จินตนาการ และสิ่งแปลกใหม่
  4. Agreeableness หรือ การปรองดองเห็นพ้องต้องกัน พิจารณาในแง่ของความเห็นอกเห็นใจ การร่วมมือ เปิดเผย ตรงไปตรงมา อ่อนน้อมถ่อมตน
  5. Conscientiousness หรือ การมีสติ พิจารณาในแง่ของความรอบคอบ ระมัดระวัง มีวินัย รับผิดชอบ มีการวางแผน มีเป้าประสงค์

โดยบางคนอาจมีลักษณะเด่นตามทั้ง 5 องค์ประกอบ แต่บางคน อาจเด่น 4 ด้อย 3 คละเคล้ากันไป

๓. 4 Temperaments

คือ ทฤษฏีในการจำแนกบุคลิกภาพของมนุษย์ ที่คิดค้นโดย Dr. David Keirsey ซึ่งใช้ MBTI เป็นพื้นฐานต่อยอดสำหรับการคิดทฤษฎี 4 Temperaments จะจำแนกลักษณะบุคลิกภาพเด่น ๆ ออกเป็น 4 กลุ่ม จากการวิเคราะห์ 2 ประเด็น คือ

  • การสื่อสาร พิจารณาระหว่าง ข้อเท็จจริง กับ ความเชื่อ 
  • การกระทำ พิจารณาระหว่าง เป้าประสงค์ กับ ความถูกต้อง 

ซึ่งสรุปลักษณะเด่น ๆ ได้ 4 กลุ่มคือ 

  1. Artisan เน้น ข้อเท็จจริง กับ เป้าประสงค์ จึงมักจะมองเฉพาะสิ่งที่ได้รับรู้ สิ่งที่เป็นปัจจุบัน และทำทุกทางเพื่อมุ่งไปสู่เป้าประสงค์ ชอบความตื่นเต้น สนุกสนาน และท้าทาย
  2. Guardian เน้น ข้อเท็จจริง กับ ความถูกต้อง จึงมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับ และอยู่ในกรอบของกฏระเบียบ เคารพในสิทธิของผู้อื่น มีความสามารถในการบริหารจัดการสิ่งต่าง ๆ ได้ดี
  3. Rational เน้น ความเชื่อ กับ เป้าประสงค์ จึงมักคิดถึงสิ่งใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาใหม่ ๆ หรือ วิธีแก้ปัญหาใหม่ ๆ  และเลือกทำในสิ่งที่มีประสิทธิภาพที่สุดเพื่อให้ได้ตามเป้าประสงค์ เป็นนักปฏิบัติ ช่างคิดช่างสงสัย ช่างวิเคราะห์
  4. Idealist เน้น ความเชื่อ กับ ความถูกต้อง จึงมักคาดหวังว่าสิ่งดี ๆ จะเกิดขึ้น ทำและมุ่งไปสู่เป้าประสงค์โดยคำนึงถึงความถูกต้อง ประนีประนอม ชอบช่วยเหลือผู้อื่น

๔. 16 Personality Factor (16 PF) 

คือ ทฤษฏีในการจำแนกบุคลิกภาพของมนุษย์โดยพิจารณาจากปัจจัย 16 ลักษณะ ซึ่งคิดค้นโดย Raymond Bernard Cattell โดยจะพิจารณาถึงระดับความเข้มข้นในแต่ละปัจจัย

ปัจจัยหลัก น้อย มาก
Warmth – อบอุ่น เย็นชา เห็นแก่ตัว สนับสนุน ปลอบโยน
Reasoning – สติปัญญา ใช้สัญชาตญาณ ไม่มั่นคง ใช้ความคิด วิเคราะห์
Emotional Stability – ความมั่นคงทางอารมณ์ หงุดหงิด ฉุนเฉียว ขี้โมโห สุขุม สงบ
Dominance – มีอิทธิพล ก้าวร้าว ถ่อมตัว ว่านอนสอนง่าย ดื้อรั้น ใจแข็ง ชอบควบคุม
Liveliness – มีชีวิตชีวา ถูกควบคุม ซึมเศร้า ชอบความสนุกสนาน ยุ่งเหยิง ไม่ตกอยู่ภายใต้การควบคุม
Rule-Consciousness – รับผิดชอบต่อหน้าที่ นอกรีต กบฎ อนุรักษณ์นิยม
Social Boldness – กล้าเข้าสังคม อาย เก็บเนื้อเก็บตัว ไม่เข้าสังคม ไม่ปิดบัง กล้า
Sensitivity – อ่อนไหว หยาบคาบ ดื้อร้น ละเอียดอ่อน อ่อนโยน
Vigilance – ระมัดระวัง ไว้วางใจได้ สบายๆ ระมัดระวัง ขี้สงสัย
Abstractness – คิดในเชิงนามธรรม ตามกฏระเบียบ ปฏิบัติได้จริง ผิดแปลก เพ้อฝัน
Privateness – สันโดษ เปิดเผย เป็นมิตร เงี่ยบ สันโดษ เป็นส่วนตัว
Apprehension – วิตกกังวล เชื่อมั่น มั่นใจในตนเอง กลัว วิตกกังวล
Openness to Change – ใจกว้างเปิดรับต่อการเปลี่ยนแปลง ปิดกั้น ไม่รับสิ่งใหม่ อยากรู้อยากเห็น ชอบสำรวจสิ่งใหม่ ๆ
Self-Reliance – พึ่งตนเอง เป็นอิสระ ขอบสังคม เข้ากับคนอื่นได้ง่าย สันโดษ ต้องการอยู่ลำพัง
Perfectionism – ยึดถือความเป็นสมบูรณ์แบบ ไม่เป็นระเบียบ ยุ่งเหยิง ละเอียด เป็นระเบียบ รอบคอบ
Tension – ความตึงเครียด ผ่อนคลาย ใจเย็น เครียด ไม่พึงพอใจ

๕. Personality 16 Types (MBTI)

คือ ทฤษฏีในการจำแนกบุคลิกภาพของมนุษย์ ที่รวมเอาแนวคิดของ Carl Gustav Jung กับ Katharine Cook Briggs และ Isabel Briggs Myers เข้าด้วยกัน โดยสามารถจำแนกบุคลิกภาพออกเป็น 16 กลุ่ม ซึ่งพิจารณาจากองค์ประกอบใน 4 มุมมอง ดังนี้

  • การวางตัว ความสนใจ การเพิ่มพลังงาน โดยพิจารณาระหว่าง Extraversion (E) ชอบที่จะอยู่ท่ามกลางผู้คน และ Introversion (I) ชอบที่จะอยู่กับตัวเอง
  • บทบาท ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลหลัก แบ่งเป็น
  1. การรับรู้ข้อมูล โดยพิจารณาระหว่าง Sensing (S) รับรู้โดยสติปัญญาพินิจพิเคราะห์ เน้นข้อมูล รับรู้ทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และ iNtuition (N) รับรู้โดยสัญชาตญาณ ประสบการณ์ เน้นความคิดต่อยอด
  2. การตัดสินใจ โดยพิจารณาระหว่าง Thinking (T) ตัดสินใจโดยใช้เหตุผล และ Feeling (F) ตัดสินใจโดยใช้ความรู้สึก
  • วิถีทางการดำเนินชีวิต โดยพิจารณาระหว่าง Judgment (J) ดำเนินชีวิตตามกฎระเบียบ และ Perception (P) ดำเนินชีวิตตามความคิด ค่านิยมความเชื่อ

มุมมองผู้เขียน

อย่างไรก็ตามหากมองในแง่ของการมุ่งไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ (LO : Learning Organization) แล้วนั้น ในถ้าองค์การได้จัดให้พนักงานทั้งองค์การได้ทำแบบทดสอบ และนำผลที่ได้มาใช้ทั้งในแง่การบริหารทรัพยากรบุคคล เช่น การพัฒนาจุดเด่น ปิดจุดด้อยของบุคลากรในองค์การเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรนั้น ๆ  และสื่อสารให้บุคลากรในองค์กรเข้าใจในบุคลิกภาพของเพื่อนร่วมงานที่แตกต่างกัน เพื่อให้สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพย่อมเป็นแนวทางไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ผู้ให้คำแนะนำในการศึกษาข้อมูล :

Nittaya Onurai, MissConsult.com

แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง :

http://www.MissConsult.com

http://en.wikipedia.org/wiki/DiSC_assessment

http://en.wikipedia.org/wiki/Big_Five_personality_traits 

http://www.blogthings.com/thefivefactorpersonalitytest/

http://www.keirsey.com/

http://en.wikipedia.org/wiki/Four_Temperaments

http://en.wikipedia.org/wiki/16_Personality_Factors

http://similarminds.com/

http://en.wikipedia.org/wiki/MBTI

เรื่องนี้เป็นนิทานเรื่องเล่าที่ให้ข้อคิดในเชิงการบริหารบุคคลในองค์กรที่น่าสนใจครับ�
———————————————————— 

       หญิงชาวบ้านคนหนึ่งอาศัยอยู่คนเดียวในกระท่อม ด้วยความเหงานางจึงหาสัตว์มาเลี้ยงไว้เป็นเพื่อนสองตัว คือ ลิงและลา วันหนึ่งหญิงชาวบ้านคนนี้ต้องออกไปตลาดเพื่อซื้ออาหาร ก่อนออกจากบ้านเธอได้เอาเชือกมาผูกคอลิง แล้วมัดขาของลาเอาไว้ทั้งสองข้าง เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยงทั้งสองตัวเดินย่ำไปมาในกระท่อมจนทำให้ข้าวของต่างๆ ได้รับความเสียหาย

      ทันทีที่หญิงชาวบ้านออกจากบ้านไป ลิงซึ่งมีความฉลาดและแสนซนเป็นคุณลักษณะประจำตัวก็ค่อยๆ คลายปมเชือกออกจากคอของมัน อีกทั้งยังซุกซนไปแก้เชือกมัดขาให้แก่ลาอีกด้วย หลังจากนั้นเจ้าลิงก็กระโดดโลดเต้น ห้อยโหนโจนทะยานไปทั่วกระท่อมจนทำให้ข้าว ของต่างๆ ล้มระเนระนาดกระจัดกระจายไปทั่ว อีกทั้งยังซุกซนรื้อค้นเสื้อผ้าของหญิงชาวบ้านมาฉีกกัดจนไม่เหลือชิ้นดี ในขณะที่ลาได้แต่มองดูการกระทำของเจ้าลิงอยู่เฉยๆ

      สักครู่หนึ่ง หญิงชาวบ้านคนนี้ก็กลับมาจากตลาด เจ้าลิงมองเห็นเจ้าของเดินมาแต่ไกลจากทางหน้าต่าง ก็รีบเอาเชือกมาผูกคอตนไว้ อย่างเดิมและอยู่อย่างสงบนิ่ง…

Read more »

ความฉลาดทางอารมณ์ คือความสามารถทางอารมณ์ในการดำเนินชีวิตอย่างสร้างสรรค์และมีความสุข การรู้จักความฉลาดทางอารมณ์ของตนเองจะช่วยให้สามารถพัฒนาและสามารถใช้ศักยภาพของตนเองในการดำเนินชีวิตครอบครัว การงาน และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและประสบความสำเร็จ

ความฉลาดทางอารมณ์ แบ่งเป็น 3 ด้านใหญ่ๆ ได้แก่ ด้านดี ด้านเก่ง และด้านสุข

ด้านดี หมายถึง ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเอง รู้จักเห็นใจผู้อื่น และมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม

ด้านเก่ง หมายถึง ความสามารถในการรู้จักตนเอง มีแรงจูงใจ สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาและแสดงออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น

ด้านสุข หมายถึง ความสามารถในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข

ตามแนวคิดของ “คาร์ล กุสตาฟ จุง” (Carl Gustav Jung)

เคยไหมเวลาประชุมทีไร ลูกน้องมักไม่กล้าแสดงความเห็นสักเท่าไหร่ หรือเคยไหมที่เวลาคุณมอบหมายงานอะไรไป ลูกน้องไม่เข้าใจ แต่ก็ไม่กล้าถาม หรือเคยไหม ที่คุณได้ยินแว่วๆ มาจากคนอื่นว่าลูกน้องไม่ชอบคุณ

สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างของปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากคุณอาจใช้รูปแบบการบริหารคนไม่ถูกต้อง คุณยังไม่ได้ทำความเข้าใจและยอมรับว่าคนต่างสไตล์ย่อมต้องการการปฏิบัติ และการปฏิสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน

ดังนั้น หากคุณยังใช้วิธีการบริหารคนแบบ one size fit all อาจเกิดปัญหาสะสม ทวีความรุนแรงขึ้นจนส่งผลต่อประสิทธิภาพของการทำงานได้ ดังนั้นเพื่อต้องการให้ปัญหาเหล่านี้หมดไป จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้ว่ารูปแบบพฤติกรรมที่แตกต่างกันของคนแต่ละประเภทมีอะไรบ้าง แล้วนำแนวคิดดังกล่าวมาปรับใช้ในการบริหารคนอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Read more »

* ไม่ควร นึกถึงแต่เรื่องราวที่พึ่งเกิดขึ้น (Recency Effects)
* ไม่ควร นำพฤติกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับการประเมินมาประเมิน
* พิจารณาที่ พฤติกรรมการทำงาน ไม่ใช้ที่ผลงาน
   (คนที่ทำผลงานได้ดีอาจมีพฤติกรรมที่ไม่ดีก็ได้ คนที่มีผลงานไม่ดีอาจมีพฤติกรรมที่ดีก็ได้)
* แต่ละคน สมควรมีจุดอ่อนและจุดแข็ง
* ไม่จำเป็นต้องดีทั้งหมด หรือแย่ทั้งหมด
        ** “ในเมื่อเรื่องนั้นทำได้ขนาดนั้น ที่เหลือก็ประมาณนั้นแหละ” (Halo Effects)
       ** “คนคนนี้ทำอะไรก็คงแย่ ก็เหมือนเรื่องนั้นนั่นแหละ”  (Horns Effects)

* การประเมินสมรรถนะ มาจากการ สังเกตพฤติกรรม เทียบกับพฤติกรรมตามสมรรถนะต้นแบบ ไม่ได้ใช้การวิเคราะห์ หรือความรู้สึก
* การประเมินสมรรถนะเป็นไป เพื่อการพัฒนา ไม่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลงาน และการจ่ายค่าตอบแทน
* คะแนนการประเมินสมรรถนะของแต่ละคน ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ เพราะแต่ละคนมีสมรรถนะ และพฤติกรรมชี้วัดที่แตกต่างกัน
* ผู้ที่ได้คะแนนการประเมินสมรรถนะน้อยกว่ามาตรฐาน ไม่ได้แปลว่าไม่มีความสามารถเสมอไป
* ต้องแยกแยะความถูกใจหรือขัดใจ ออกจากการประเมินสมรรถนะ
* เทียบระหว่างพฤติกรรมของคนกับพฤติกรรมต้นแบบ ไม่ใช่ระหว่างคนกับคน

* ให้ตอบคำถามว่า ทำพฤติกรรมที่ระดับใด “บ่อยที่สุด”
* หาก พฤติกรรม ที่แสดงออก ตรงกับหลายระดับให้ตอบคำถามว่า ทำพฤติกรรมระดับใด “บ่อยกว่ากัน”
* หาก พฤติกรรม ที่แสดงออก “บ่อย” เท่าๆ กันทั้ง 2 ระดับ ให้เลือกระดับที่สูงกว่า
* ควรจะมีการแสดงพฤติกรรมจริง เกินครึ่งของจำนวนพฤติกรรมชี้วัด ของแต่ละระดับ