อรุณรัตน์ แสนสิ่ง
ฝ่ายวิศวกรรม
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

          สารหล่อเย็น เป็นน้ำมันที่ได้จากพืช สัตว์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ได้มาจากธรรมชาติ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันของมวลมนุษย์ โดยผ่านกรรมวิธีต่างๆ เพื่อให้ได้คุณสมบัติของน้ำมันตามความต้องการใช้งาน ซึ่งจะนำมาใช้ทางตรงและทางอ้อม ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ในการหล่อลื่นมากกว่าใช้จุดให้เกิดแสง

          สารหล่อเย็น เป็นส่วนสำคัญที่มีบทบาทต่องานช่างอุตสาหกรรมเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการทำงานของเครื่องจักรที่เกี่ยวข้องกับงานโลหะ เพราะใช้ในการลดแรงเสียดสี และระบายความร้อนที่เกิดขึ้นกับคมตัดชิ้นงาน ซึ่งสารหล่อเย็นที่นิยมใช้ในวงการอุตสาหกรรมมีมากมายหลายชนิดแตกต่างกันออกไป และแต่ละชนิดจะขึ้นอยู่ความต้องการ และเหมาะสมกับงานเฉพาะ ซึ่งมีชื่อเรียกกันแตกต่างออกไปหลายอย่าง เช่น Coolant, Cutting oil, Cutting compound, Cutting lubricant

สาเหตุที่ต้องใช้สารหล่อเย็น

          ในการทำงานของเครื่องจักรกลที่เกี่ยวข้องกับคมตัดงานนั้นๆ ย่อมเกิดการเสียดสีและเกิดความร้อนขึ้นระหว่างชิ้นงานกับคมตัด ผลที่ตามมา คือ การสึกหรอของคมตัด อายุการใช้งานสั้นลง การขยายตัวของชิ้นงานเพิ่มขึ้น ทำให้ขนาดของงานเปลี่ยนแปลงไป จึงมีวิธีการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ โดยการระบายความร้อนระหว่างชิ้นงานกับคมตัดออก วิธีที่ดีที่สุดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คือ การใช้สารหล่อเย็นเข้ามาช่วยหล่อเย็น ดังนั้น การแบ่งสารหล่อเย็นตามลักษณะของวัสดุที่นำมาทำงาน เช่น เหล็ก โดยทั่วๆ ไป จะนิยมใช้ Coolant เป็นสารหล่อเย็น เพราะราคาถูก อะลูมิเนียมหรือทองเหลือง ควรที่จะใช้กับน้ำมันก๊าด

          จุดประสงค์ของการใช้สารหล่อเย็น คือ ช่วยระบายความร้อน ช่วยระบายเศษโลหะออกจากปลายคมตัด ช่วยให้คมตัดมีอายุการใช้งานได้นาน ช่วยหล่อลื่นบริเวณพื้นที่สัมผัส ช่วยป้องกันผิวไม่ให้เกิดสนิม ช่วยลดการเสียดสี และทำให้เครื่องจักรมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น

ประเภทของสารหล่อลื่นเย็น

          สารหล่อลื่นเย็นที่ใช้ในอุตสาหกรรมมีหลายชนิด สารหล่อลื่นเย็นนิยมใช้ ได้แก่

  1. Soluble oil มีชื่อเรียกทั่วไปว่า น้ำสบู่ สามารถผสมกับน้ำแล้วจะมีลักษณะขาวขุ่น ข้อดีของ Soluble oil คือ สามารถละลายรวมตัวกับน้ำได้ดี มีประโยชน์เกี่ยวกับการตัดเฉือนมาก ช่วยคายเศษโลหะ (Chip bearing pressure) ส่วนมากจะใช้กับงานโลหะประเภทเหล็ก ยกเว้นเหล็กหล่อ โดยทั่วไปใช้อัตราส่วน คือ น้ำมัน  1 ส่วน ต่อ  น้ำ  50 ส่วน สำหรับเครื่องเจียระไน (Grinding machine) ควรจะเลือกสารหล่อเย็นที่ไม่มีไขมัน ถ้ามีไขมันจะเข้าไปฝังอยู่ตามหน้าหินเจียระไน ทำให้เกิดการอุดตัน ดังนั้น ส่วนมากสารหล่อเย็นจะผสมน้ำยากันสนิมเข้าไปด้วย  
  2. Mineral oil เป็นน้ำมันแร่ที่ได้จากการสกัดจากปิโตเลียม หรือ น้ำมันที่มีสารพวกไฮโดรคาร์บอนอื่นๆ ที่ได้จากแหล่งแร่ โดยทั่วไปใช้สำหรับงานเบา และพวกโลหะที่ไม่ใช่เหล็ก เช่น นิเกิล, โครเมียม และจำพวกอโลหะทั้งหลาย จะใช้น้ำมัน Mineral oil เป็นตัวระบายความร้อน

          ข้อควรระวัง คือ จะเป็นสารไวไฟ (Flamable substance) ความหนืดประมาณ 100 cP ที่ 37.7 องศาเซลเซียส

  1. Lard oil ได้จากการสกัดไขมันจากสัตว์ เช่น โค กระบือ หมู หรือการกลั่นจากสารเคมี สามารถผสมกับน้ำ โดยใช้ในการระบายความร้อนของการคายเศษ เช่น เหล็ก อะลูมิเนียม
  2. Mineral lard oil ใช้ในกรณีทำการตัดเฉือนทีละมากๆ เกิดจากส่วนผสมของ Mineral oil กับ Lard oil เข้าด้วยกัน

วิธีการเลือกใช้น้ำมันหล่อเย็น

         การเลือกใช้สารหล่อเย็น ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุ งานที่จะทำการขึ้นรูปแบบต่างๆ ตลอดจนกรรมวิธีการตัดเฉือน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการทำงานมาก ดังนี้

         1. เหล็กคาร์บอนต่ำ (Low carbon steel)แบ่งการใช้น้ำมันหล่อเย็นออกไปตามลักษณะของเครื่องจักรที่ใช้

               ก. งานกลึง ใช้พวก Soluble oil ส่วน ต่อ น้ำ 15 ส่วน

               ข. งานเจาะและงานกัด (Drilling and milling) ใช้ Soluble oil 1 ส่วน ต่อ น้ำ 15 ส่วน

               ค. งานเจียระไน (Grinding) จะนิยมใช้ทั้ง Soluble oil กับ Mineral oil

          2. เหล็กผสม (Alloy steel)

              ก. งานกลึงจะใช้ Mineral oil 75% ผสมกับ Soluble oil 25%

              ข. งานตัดเกลียว (Tapping) จะใช้ Miner oil 80-90% กับ Lard oil 10%

          3. ทองเหลืองรีด (Brass rod)

              ก. งานกลึง ใช้ Mineral oil

              ข. งานกัด ใช้ Soluble oil 5% ผสมกับน้ำ 95%

คุณสมบัติพิเศษของสารหล่อเย็น เช่น ไม่ทำให้ชิ้นงานมีรอยด่าง ไม่บูดเน่าง่าย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : 0 2577 9260 (ฝ่ายวิศวกรรม) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

อรุณรัตน์ แสนสิ่ง
ฝ่ายวิศวกรรม
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

          เครื่องจักรความเร็วสูง เป็นหนึ่งในเครื่องจักรที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการควบคุมเชิงตัวเลข (CNC : Computer Numerical Control) ในการตัดเฉือนโลหะที่มีประสิทธิภาพสูงทั้งความเที่ยงตรงและคุณภาพผิวชิ้นงาน อีกทั้งยังสามารถลดเวลาและต้นทุนในการผลิตได้ด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องจักรทั่วไป

         หลักการทำงาน คือ เป็นการนำเศษโลหะที่ตัดเฉือนออกอย่างรวดเร็ว (High material removal rates) อุณหภูมิที่เกิดขึ้นระหว่างมีดตัด (Tooling) กับชิ้นงาน (Work piece) อุณหภูมิที่เกิดขึ้นต่ำด้วยระยะเวลาที่สั้น ทำให้อายุการใช้งานมีดตัดและความเร็วการตัด (Cutting speed) เพิ่มขึ้น ด้วยความเร็วรอบตั้งแต่ 10,000 รอบ/นาที ขึ้นไป ความเร็วอัตราป้อน (Feed rate) มากกว่า 1 เมตร/นาที

องค์ประกอบในการทำงาน ประกอบด้วย

  1. เครื่องจักร (HSM machine tool)
  2. เป็นเครื่องจักรที่รองรับการทำงานที่รวดเร็ว แข็งแรง สามารถตัดเฉือนงานหยาบ (Roughing) และงานละเอียด (Finishing) ได้ดี
  3. มีดตัด (Cutting tool)
  4. มีดตัดต้องมีคุณสมบัติพิเศษในการทนอุณหภูมิสูงที่บริเวณผิว ส่วนใหญ่จะใช้เป็นมีดตัดหัวกลม (Ball end mill) ในการขึ้นรูป 3 มิติ และรูปร่างที่มีความซับซ้อน
  5. ชุดควบคุมเครื่องจักร (Controller)
  6. สามารถรองรับรหัส (G-code) ความเร็วสูงได้ การอ่านค่าโปรแกรมล่วงหน้า การเร่งความเร็วและการชะลอการอ่านโปรแกรมเส้นโค้งบริเวณมุมได้ดี ทำงานที่ละเอียด ความเรียบสูง ที่เป็นเส้นตรงและเส้นโค้ง LINE, SPLINE, NURBS
  7. การเขียนโปรแกรมทำงาน (CAD/CAM)
  8. เป็นโปรแกรมที่ใช้เขียนรหัส (G-code) สามารถทำงานด้วยคำสั่งที่ระบุความเรียบ ความละเอียดที่สูง และทำงานต่อเนื่องได้ มีการเลือกวิธีการในการกัดอย่างเหมาะสม ทั้งงานหยาบ (Roughing) และงานละเอียด (Finishing)
  9. การปรับแต่งโปรแกรม
  10. เป็นการกำหนดเงื่อนไข ขั้นตอนการทำงาน การติดตั้งเครื่องมีดตัด และทำการปรับแต่งค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ที่เหมาะสมและถูกต้องของโปรแกรมก่อนส่งเข้าเครื่องจักร เพื่อนำไปสู่การทำงานจริง

             สำหรับ แนวโน้มการนำไปใช้งานนั้น เครื่องจักรความเร็วสูง สามารถนำไปใช้ในงานขึ้นรูปที่มีความละเอียดสูงที่ใช้ได้กับงานตกแต่งผิวสำเร็จในงานแม่พิมพ์ที่มีความเรียบสูง ซึ่งสามารถลดเวลาทำงานได้ 30-40% ลดการทำงานด้วยเครื่องจักร Electrical Discharge Machining (EDM) ที่ใช้ในงานผลิตแม่พิมพ์เพราะเครื่องจักรสามารถทำงานได้ความเรียบผิวสูง และลดการขัดแม่พิมพ์จากแรงงานคน ใช้ในการตัดเฉือนโลหะแข็ง ความแข็งสูงถึง 30-45 HRC ส่วนข้อเสีย คือ เครื่องจักรมีราคาค่อนข้างสูง

               เครื่องจักรความเร็วสูงมีประสิทธิภาพสูง เที่ยงตรง แม่นยำ ลดต้นทุนการผลิตได้ แต่ยังมีราคาค่อนข้างสูง จึงขึ้นอยู่กับผู้ใช้ที่จะเลือกใช้ให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้งานนั่นเอง

               การนำเทคโนโลยีการผลิตด้วยเครื่องจักรความเร็วสูง เพื่อแก้ปัญหาคุณภาพผิวชิ้นงานสำเร็จหลังการขึ้นรูป ซึ่งวิธีนี้จะทำให้คุณภาพผิวชิ้นงานมีความละเอียดสูง เป็นที่นิยมนำไปใช้ในการขึ้นรูปแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก เพราะต้องการความละเอียดผิวชิ้นงานที่สูง เป็นการลดการขัดผิวชิ้นงาน ลดเวลา และลดต้นทุนการผลิต

อนันต์ พิริยะภัทรกิจ 
กองกลาง ฝ่ายบริการกลาง 
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทไทย

          ปลูกสิ่งใดมักได้สิ่งนั้น? นั่นคงเป็นคำถามในใจสำหรับใครหลายๆ คน หลังจากที่ซื้อต้นไม้ที่ชอบมาปลูกด้วยความยากลำบาก พอหลายปีผ่านไป กลับพบว่าไม่ใช่ต้นไม้ที่เรานำมาปลูกกลายเป็นต้นอื่น โดยเฉพาะการปลูกเลี้ยงต้นมหาพรหมราชินี ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ที่มีผู้ให้ความสนใจนำไปปลูกเลี้ยงจำนวนมาก ภายหลังจากการปลูกไปแล้ว ประมาณ 2-3 ปี ต้นไม้ก็เริ่มออกดอกบานสะพรั่ง แต่กลับพบว่า ดอกที่ออกมา ไม่เหมือนกับภาพในหนังสือไม้ดอก จึงเกิดความสงสัย และเมื่อสอบถามจากแหล่งข้อมูล เพื่อคลายความสงสัยกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับต้นไม้ที่นำมาปลูก

          โดยทั่วไป การขยายพันธุ์พืช มักใช้วิธีการเพาะเมล็ด แต่เนื่องจากพืชบางชนิดมีเมล็ดจำนวนน้อยหรือบางครั้งอยากให้มีลักษณะพิเศษเหมือนต้นเดิม เช่น ออกดอกไว ให้ผลเร็ว จึงนิยมขยายพันธุ์ด้วยการเสียบยอดหรือทาบกิ่ง วิธีการดังกล่าว ต้องอาศัยต้นตอที่มีความแข็งแรงและต้องเป็นพืชสกุลเดียวกัน ต้นมหาพรหมราชินีก็ต้องอาศัยวิธีการดังกล่าว โดยใช้ต้นมะป่วนเป็นต้นตอ เป็นต้น

ทำไมต้นไม้ถึงเปลี่ยนไป!

          สาเหตุนั้นเกิดจากการดูแลรักษาภายหลังการปลูกต้นไม้ ที่ได้จากการทาบกิ่งหรือเสียบยอด ควรหมั่นสังเกตดูว่า ต้นไม้ที่ปลูกตามบริเวณใต้รอยแผลที่ทาบหรือเสียบยอด มียอดใหม่ของต้นตอแตกขึ้นมาหรือไม่ เมื่อพบว่ามียอดใหม่แตกขึ้นมา ควรตัดทิ้งทันที อย่าไปเสียดาย เพราะยอดดังกล่าวจะไปแย่งอาหารจากโคนต้นและดันตัวเองให้เติบโตสูงชะลูดขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งมีลำต้นใหญ่และแข็งแรง เจริญเติบโตแซงกิ่งพันธุ์ (มะป่วน) ในที่สุดกิ่งพันธุ์ที่ทาบหรือเสียบยอด (มหาพรหมราชินี) ที่นำมาปลูกก็ไม่สามารถเติบโตต่อไปได้ และตายไปในที่สุด กลายเป็นว่าเราปลูกต้นตอ (มะป่วน) ที่ออกดอกสะพรั่งแทนที่มหาพรหมราชินี

          ท้ายสุด เมื่อวันเวลาผ่านล่วงเลยไป แม้จะไม่ได้ต้นไม้อย่างที่คัดเลือกมาปลูกตั้งแต่แรก อย่างเช่น ต้นมหาพรหมราชินีที่กล่าวมานั้น แต่กลับได้ต้นไม้ชนิดใหม่ที่ให้ความร่มเงา สร้างความร่มรื่น ออกดอกที่สวยงาม แม้ขนาดดอกจะมีขนาดที่เล็กกว่าก็ตาม หากทำความเข้าใจและรู้จักให้ดี คงไม่เสียหายที่ได้ต้นไม้อื่น และควรดูแลเขาให้ดีตลอดไป

          ดังนั้น การหมั่นดูแลเอาใจใส่ตั้งแต่ต้นยังเล็กๆ อยู่ คอยตัดยอดของต้นตอที่จะแทรกแตกออกมา เพื่อไม่ให้ยอดต้นตอมาแย่งน้ำและอาหารของต้นมหาพรหมราชินี เหล่านั้นล้วนเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการได้พันธุ์ไม้ที่แท้จริง ดั่งเรื่องราวของมหาพรหมราชินีนี้


          ต้นไม้ก็เหมือนสิ่งมีชีวิตทุกอย่างบนโลก ต้องหมั่นดูแลเอาใจใส่ แล้วผลลัพธ์จะงดงามสมความตั้ง

 


 

หลักสูตรฝึกอบรมสำหรับบุคลากรภาครัฐและเอกชน
เดือนกรกฎาคม – กันยายน  2557
โดย กองจัดการความรู้  ศูนย์ความรู้
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

……PROMOTION! หนึ่งหน่วยงานสมัครอบรม 1 หลักสูตร จำนวน 4 ท่าน เข้าอบรมฟรี 1 ท่าน……..

• หลักสูตรอบรม ณ โรงแรมเค ยู โฮม (KU HOME) อาคารสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน  เวลา 08.30-16.00 น.
สอบถามเส้นทาง โทร. 0 2579 0010-15

ลำดับ ชื่อหลักสูตร

วัน/เดือน/ปี

วิทยากร

ค่าลงทะเบียน
1. กระบวนการเตรียมสารสกัดจากสมุนไพร เพื่อใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ

17 ก.ค.57

อ.ธัญวรัตน์ กาจสงคราม
อ.สิทธิพงศ์ สรเดช

2,300
2. เทคนิคการถ่ายทอดความรู้ : ด้านการจัดการฝึกอบรมและเทคนิคการเป็นพิธีกรอย่างมีประสิทธิภาพ

7 ส.ค.57

อ.อัปสร เสถียรทิพย์

2,300
3. เสริมทักษะการจัดประชุม เขียนและจดรายงาน เพื่อบริหารและพัฒนาโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ

21-22 ส.ค.57

อ.พรสวรรค์ วินิจสร
อ.อัปสร เสถียรทิพย์

4,500
4. เสริมทักษะการนำเสนองาน (Presentation) อย่างมีประสิทธิภาพ

29 ส.ค.57

อ.อัปสร เสถียรทิพย์

2,300
5. การเขียนบทความวิชาการ/บทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์ทั้งในและต่างประเทศ

4 ก.ย.57

ดร.นฤมล รื่นไวย์

2,300
6. KM กับการประยุกต์ใช้ในองค์กร

8-9 ก.ย.57

ดร.นฤมล รื่นไวย์

4,500
7. เทคนิคการเขียนหนังสือและบันทึกติดต่องาน เพื่อบริหารและพัฒนาโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ

9-10 ก.ย.57

อ.พรสวรรค์ วินิจสร
อ.อัปสร เสถียรทิพย์

4,500
8. เทคนิคการบรรยายและนำเสนองานภาษาอังกฤษ

11 ก.ย.57

ดร.ประไพภัทร คลังทรัพย์

2,300
9. มาตรฐานการผลิตผลิตภัณฑ์เวชสำอางจากสมุนไพรเพื่อการจดแจ้ง อย. :
เสริมธุรกิจ ผลิตสู่เชิงพาณิชย์และก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

11 ก.ย.57

อ.ภัทรา อะหมะดี พีรซะหีด และคณะ

2,300

• หลักสุตรอบรม ณ ห้องประชุม วว. เทคโนธานี ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เวลา 08.30-16.00 น.
สอบถามเส้นทาง โทร. 0 2577 9000

ลำดับ ชื่อหลักสูตร

วัน/เดือน/ปี

วิทยากร

ค่าลงทะเบียน
10. การผลิตและแปรรูปน้ำผลไม้พร้อมดื่ม และการออกแบบบรรจุภัณฑ์

25 ก.ค.57

อ.อินทราวุธ ฉัตรเกษ และคณะ

1,000

11. การผลิตผลิตภัณฑ์น้ำยาทำความสะอาดพื้น น้ำยาล้างจานให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน และการออกแบบบรรจุภัณฑ์

30 ก.ค.57

อ.วันทนา สะสมทรัพย์ และคณะ

1,000

12. การผลิตและแปรรูปน้ำมะขามพร้อมปรุง และการออกแบบบรรจุภัณฑ์

15 ส.ค.57

อ.อินทราวุธ ฉัตรเกษ และคณะ

1,000

13. การผลิตผลิตภัณฑ์น้ำยาซักผ้าขจัดคราบ น้ำยาปรับผ้านุ่มให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน และการออกแบบบรรจุภัณฑ์

29 ส.ค.57

อ.วันทนา สะสมทรัพย์ และคณะ

1,000

14. Clean and Green Building  คุณภาพความปลอดภัยทางอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในอาคาร

8 ก.ย.57

ดร.ภูษิตา วรรณิสสร
ดร.สมชาย ดารารัตน์

1,000

• หลักสูตรศึกษาดูงาน ณ โครงการศูนย์ศึกษา การพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฉะเชิงเทรา

15. เสริมความรู้ทางการเกษตร :
ศึกษาดูงานโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฉะเชิงเทรา

26 ส.ค.57

ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น

1,500

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
กองจัดการความรู้ ศูนย์ความรู้
โทรศัพท์ 0 2577-9083, 0 2577-9082 มือถือ 089-813 4127
โทรสาร 0 2577-9083-4
E-mail : training@tistr.or.th

ดาวน์โหลดรายละเอียดหลักสูตร
เข้าเว็บไซต์ www.tistr.or.th -> สัมมนา/ฝึกอบรม -> ชื่อหลักสูตร -> เอกสารแนบ (ดูรายละเอียด)

……PROMOTION! หนึ่งหน่วยงานสมัครอบรม 1 หลักสูตร จำนวน 4 ท่าน เข้าอบรมฟรี 1 ท่าน……..

กรุงเทพฯ 21 พ.ย.-นักเรียนไทยสร้างชื่อคว้าเหรียญทอง จากการแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์โลก ณ เมืองอาบูดาบี ยูเออี และยังคว้ารางวัลรวม 8 รางวัล ประกอบด้วย 2 เหรียญทอง ประเภทหุ่นยนต์เตะฟุตบอล และประเภท Green City Challenge 3 เหรียญทองแดง 3 รางวัลพิเศษ

นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกับสถาบันพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และบริษัท แกมมาโก้ (ประเทศไทย) จำกัด คัดเลือกและนำนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทุกสังกัด เป็นตัวแทนนักเรียนจากประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ WRO 2011 : World Robot Olympiad 2011 ระหว่างวันที่ 18-22 พฤศจิกายน 2554 ณ เมืองอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) จำนวน 34 ทีม โดยการแข่งขันแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ ประเภทหุ่นยนต์อัตโนมัติ และประเภท Green City Challenge ซึ่งผู้เข้าแข่งขันจะต้องสร้างโปรแกรม ประกอบหุ่นยนต์และนำไปปฏิบัติภารกิจบนสนาม ประเภทโครงงานหุ่นยนต์อัตโนมัติ จะเป็นการประกวดโครงงานหุ่นยนต์ในหัวข้อ “หุ่นยนต์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต” และประเภทหุ่นยนต์เตะฟุตบอล แต่ละประเภทการแข่งขันยังแบ่งออกเป็น 3 รุ่น คือ รุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี รุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี และรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี

ผลการแข่งขันปรากฏว่า นักเรียนไทยกวาดรางวัลจากการแข่งขันได้ถึง 8 รางวัล ดังนี้ ประเภทหุ่นยนต์เตะฟุตบอล ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทองได้แก่ ทีมนักเรียนจากโรงเรียนโยธินบูรณะ กรุงเทพฯ ซึ่งเคยได้รับรางวัลเหรียญทองแดงจากการแข่งขันดังกล่าวในปีที่ผ่านมา ประเภท Green City Challenge รุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทอง ได้แก่ ทีมนักเรียนจากโรงเรียนเทศบาลเพชรวิทย์ จ.ตาก รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปีได้รับ รางวัลเหรียญทองแดง ได้แก่ ทีมนักเรียนจากโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา 2 จ.สุราษฎร์ธานี ประเภทหุ่นยนต์อัตโนมัติ รุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี ได้รับรางวัลเหรียญทองแดงได้แก่ ทีมนักเรียนจากโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล จ.ชัยภูมิ และประเภทโครงงานหุ่นยนต์อัตโนมัติ รุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี ได้รับรางวัลเหรียญทองแดงได้แก่ ทีมนักเรียนจากโรงเรียนอนุบาลปทุมธานี จ.ปทุมธานี

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้รับรางวัลพิเศษอีก 3 รางวัล คือ รางวัลความคิดสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม ประเภทโครงงานหุ่นยนต์อัตโนมัติรุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี ได้แก่ โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์ กรุงเทพฯ รางวัลเทคนิคยอดเยี่ยมประเภทหุ่นยนต์เตะฟุตบอลรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี ได้แก่ ทีมรวมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และรางวัลทีมยอดเยี่ยมประเภทหุ่นยนต์เตะฟุตบอลรุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี ได้แก่โรงเรียนธัญบุรี จ.ปทุมธานี.

ที่มา: สำนักข่าวไทย
http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/296292.html

1.  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

ยังไม่มีชื่อพรรณไม้ที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ใช้พระนามาภิไธยเป็นชื่อพรรณไม้

2. สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

ชื่อพรรณไม้ที่ได้รับพระราชทานพระราชานุญาต ให้ใช้พระนามาภิไธยเป็นชื่อพรรณไม้

  • ต้นโมกราชินี Wrightia sirikitiae D.J. Middleton & Santisuk เมื่อ พ.ศ. 2543
  • ต้นมหาพรหมราชินี Mitrephora sirikitiae Weerasooriya, Chalermglin & R.M.K. Saunders  เมื่อ พ.ศ. 2547

ชื่อพันธุ์ของดอกไม้ที่มีชื่อตามพระนาม สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ “ควีนสิริกิติ์”

  • ดอกกล้วยไม้คัทลียา  “ควีนสิริกิติ์” Cattleya “Queen Sirikit”
  • ดอกกุหลาบ “ควีนสิริกิติ์” Rosa “Queen Sirikit”
  • ดอกดอนญ่า “ควีนสิริกิติ์” Massaenda “Dona Queen Sirikit”

3. สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

ชื่อพรรณไม้ที่ได้รับพระราชทานพระราชานุญาต ให้ใช้พระนามาภิไธยเป็นชื่อพรรณไม้

  • ต้นกันภัยมหิดล Afgekia mahidoliae B.L.Burtt & Chermsir. เมื่อ พ.ศ. 2514

4. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมรี

ชื่อพรรณไม้ที่ได้รับพระราชทานพระราชานุญาต ให้ใช้พระนามาภิไธยเป็นชื่อพรรณไม้

  • ต้นสิรินธรวัลลี Bauhinia sirindhorniae K. & S.S. Larsen เมื่อ  พ.ศ. 2541
  • ต้นจำปีสิรินธร Magnolia sirindhorniae Noot. & Chalermglin เมื่อ  พ.ศ. 2543
  • ต้นเอื้องศรีประจิม Sirindhornia mirabilis H.A.Pedernsen & Suksathan เมื่อ  พ.ศ. 2545
  • ต้นเอื้องศรีอาคเนย์ Sirindhornia monophylla H.A.Pedernsen & Suksathan เมื่อ  พ.ศ. 2545
  • ต้นเอื้องศรีเชียงดาว Sirindhornia pulchella H.A.Pedernsen & Indhamusika เมื่อ  พ.ศ. 2545
  • ต้นเทียนม่วงสิริน Impatiens sirindhorniae Triboon & Suksathan เมื่อ  พ.ศ. 2552

—————————————————
ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น รวบรวม
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554

ในขณะที่เด็กๆ คนอื่นจะไปซ้อมนั่งเก้าอี้นายกที่ทำเนียบ ปีนรถถัง กินไอติมกันในช่วงวันเด็กๆ ก็มีเยาวชนจำนวนหนึ่งทำกิจกรรมที่ต่างออกไป ด้วยการดูนก-ดูแมลงภายในป่าเต็งรังและป่าดิบแล้งที่สะแกราช ซึ่งยูเนสโกจัดให้เป็น “แหล่งสงวนชีวมณฑล” แห่งแรกของไทยมากว่า 30 ปี

เป็นอีกครั้งที่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV- ผู้จัดการออนไลน์ได้ไปเยือน “สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช” สถานีวิจัยภูมิภาคของ สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดยการร่วมกิจกรรม “ค่ายคุยกัน…ฉันวิทย์สัญจร” ที่จัดต้อนรับวันเด็กแห่งชาติโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระหว่างวันที่ 7-8 ม.ค.54 ทั้งนี้สถานีวิจัยตั้งอยู่บนพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา

สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชได้รับการรับรองจากยูเนสโกให้เป็น “แหล่งสงวนชีวมณฑล” แห่งแรกของประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2519 ซึ่งทั่วโลกมีแหล่งสงวนชีวมณฑลนี้ 529 แห่งใน 105 ประเทศ ภายในสถานีมีพื้นที่ป่ากว่า 50,000 ไร่ และเป็นป่าต้นแบบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือผสมผสานระหว่างป่าเต็งรังและป่าดิบแล้ง ซึ่งมีความสมบูรณ์ที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

นกแขกเต้าตัวผู้ มีปากสีแดง

นายทักษิณ อาชวาคม ผู้อำนวยการสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช ให้ข้อมูลว่าป่าของสถานีวิจัยนั้นเป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์ป่าหลายชนิด บางชนิดเป็นสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์และบางชนิดเป็นสัตว์ป่าเฉพาะถิ่น ซึ่งจากการสำรวจพบว่ามีสัตว์ป่าถึง 385 ชนิด เช่น เก้ง กวาง กระทิง หมี หมูป่า กระต่ายป่า อ้นเล็ก พญากระรอกดำ กระลอกบินเท้าขน หมีควาย แมวป่า และเสือโคร่ง เป็นต้น โดยเมื่อต้นปี 2552 สามารถจับภาพเลียงผาและหมีควาย ซึ่งเป็นสัตว์หายากได้ด้วยกล้องดักจับภาพสัตว์ (Camera Trap)

ในค่ายคุยกันฉันวิทย์สัญจรนี้มีเยาวชนกว่า 140 คน จากหลายโรงเรียน อาทิ โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย โรงเรียนสาธิตแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น เข้าร่วมกิจกรรม และมีกิจกรรมดูนกและดูไก่ฟ้าในตอนเช้าและตอนเย็น ซึ่งเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ที่โดดเด่นของสถานีวิจัยแห่งนี้ ตกกลางคืนมีกิจกรรมดูดาวและดูแมลง แต่เนื่องจากสภาพฟ้าปิดเยาวชนในค่ายนี้จึงพลาดโอกาสดูดาว

ในช่วงกิจกรรมดูนกเราได้เห็นนกประจำถิ่นจำนวนหนึ่ง โดยนกตัวแรกที่เราได้เห็นคือนกโพระดกสวน จากนั้นเราได้พบนกแขกเต้าซึ่งเป็นนกในวงศ์นกแก้วเมืองไทย 2 ตัว เป็นตัวผู้ที่มีปากสีแดงและตัวเมียที่มีปากสีดำซึ่งกำลังป้อนอาหารกัน นกแขกเต้านี้ถือเป็นนกประจำถิ่นของป่าสะแกราช และช่วงนี้เป็นช่วงผสมพันธุ์ของนกแขกเต้าเราจึงได้เห็นนกตัวผู้ตัวเมียจับคู่กัน ส่วนนกตัวสุดท้ายที่เราได้เห็นคือนกจับแมลงสีฟ้าบนต้นประดู่ ซึ่งบินโฉบจับแมลงแล้วกลับมาจับกิ่งไม้เดิมอยู่หลายครั้ง

มาถึงกิจกรรมช่วงกลางคืน แม้ว่าจะพลาดโอกาสดูดาวแต่เรามีโอกาสได้ดูแมลงกลางคืนรูปร่างแปลกตาจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นผีเสื้อกลางคืนที่บินมาหาหลอดไฟที่ทางเจ้าหน้าที่เปิดล่อแมลง และขึงผืนผ้าใบให้แมลงมาเกาะ ผีเสื้อกลางคืนที่เราได้เห็นมีทั้งผีเสื้อสามเหลี่ยมซึ่งเป็นผีเสื้อบินเร็ว และผีเสื้อราบซึ่งกางปีกราบไปกับสิ่งที่ยึดเกาะ ส่วนใหญ่เป็นผีเสื้อตัวเล็ก บินไม่เร็วและชอบเกาะราบไปกับต้นไม้หรือใบไม้

ความแตกต่างระหว่างผีเสื้อกลางคืนและผีเสื้อกลางวัน อย่างแรกคือสีสันของผีเสื้อกลางคืนจะไม่สดใสเหมือนผีเสื้อกลางวัน ทั้งนี้ เพื่อช่วงในการพลางตัวผู้ล่าในช่วงกลางวัน ลักษณะหนวดยังมีความแตกต่างอย่างชัดเจน โดยผีเสื้อกลางคืนมีหนวดคล้ายซี่หวี ส่วนผีเสื้อกลางวันมีหนวดคล้ายเส้นด้ายหรือทรงกระบอก นอกจากนี้การวางปีกยังแตกต่างกัน ผีเสื้อกลางคืนจะกางปีกออก แต่ผีเสื้อกลางวันจะหุบปีกเข้า

นอกจากนี้ผีเสื้อกลางคืนจำนวนมากแล้วเรายังได้เห็น แมลงปอเข็ม แมลงช้างซึ่งดูคล้ายแมลงปอเข็มแต่มีลักษณะแตกต่างที่เห็นได้ชัดคือมีหนวดเพิ่มมา 2 คู่ ในช่วงเป็นตัวอ่อนแมลงช้างจะขุดรูเป็นหลุมทรงกรวย ชอบเดินถอยหลังและชอบกินมด อีกทั้งยังมีแมลงปีกแข็งชื่อ “แมลงนูน” ตัวสีเขียว มอสมะเดื่อซึ่งในระยะตัวหนอนจะกินต้นมะเดื่อเป็นอาหาร แมลงส่วนใหญ่มีอายุไม่เกิน 1 ปี ยกเว้นจักจั่นที่จะใช้ชีวิตอยู่ใต้ดินนาน 16 ปี ก่อนจะขึ้นมาผสมพันธุ์และใช้ชีวิตนาน 1 เดือนแล้วตาย

น.ส.น้ำฝน เกิดผล นักเรียนชั้น ม.4 โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ กรุงเทพฯ ซึ่งกล่าวถึงกิจกรรมครั้งนี้ว่าเป็นของขวัญวันเด็กที่พิเศษ เธอเพิ่งมีโอกาสดูนกเป็นครั้งแรก และประทับใจภาพนกแขกเต้าป้อนอาหารกัน โดยได้เรียนรู้ว่านกนั้นมีสีสันกลืนกับธรรมชาติ ต้องมีความชำนาญจึงจะแยกแยะได้ แล้วยังได้แง่คิดอีกว่าสัตว์ทุกชนิดต่างปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเพื่อความอยู่รอด ส่วนการดูแมลงนั้นเป็นประสบการณ์ครั้งที่ 2 โดยครั้งแรกเข้าค่ายที่ประจวบคีรีขันธ์ตอนเรียน ม.1 ซึ่งการดูแมลงนั้นทำให้รู้ว่าประเทศเรานั้นมีแมลงเยอะ แต่ก็หาดูไม่ง่าย อีกทั้งแมลงบางชนิดยังหายากด้วย

ด้าน นายภานุสรณ์ เจียรสุมัย นักเรียนชั้น ม.4 โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย กล่าวว่า เคยมาเข้าค่ายที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชก่อนหน้านี้ แต่ครั้งนี้ได้เห็นนกมากกว่าครั้งก่อน โดยเห็นนกถึง 5 ชนิด ซึ่งที่ประทับใจคือนกแขกเต้าเพราะมีสีสันสวย และนกเขาใหญ่ นอกจากนี้ยังได้เห็นผีเสื้อแปลกๆ ระหว่างการดูแมลงด้วย และได้เรียนรู้สิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งพันธุ์ไม้และสัตว์ในป่า รวมถึงการอยู่ร่วมกันด้วย

สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชยังมีกิจกรรมเดินป่าเต็งรังเป็นอีกกิจกรรมเด่น ซึ่งการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ของสถานีที่เน้นการถ่ายทอดความรู้ในการอยู่ร่วมกันของธรรมชาติ การพึ่งพาอาศัยและได้ประโยชน์ร่วมกัน การสร้างสมดุลระหว่างธรรมชาติและคนในท้องถิ่น ตลอดจนการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว ทำให้ได้รับการยกย่องจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ดีเด่น ประจำปี 2549

ดูภาพเพิ่มเติม และที่มาบทความได้จาก…

Read more »

ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบ โน เป็นปรมาจารย์ทางด้านการคิดชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียงรู้จักกันทั่วโลก เขาได้ศึกษาและคิดค้นวิธีคิด (Thinking Method) เพื่อช่วยให้มนุษย์มีการคิดที่มีประสิทธิภาพ สร้างสรรค์ และครอบคลุม รอบด้านยิ่งขึ้น

เดอ โบ โน เกิดเมื่อปี ค.ศ.1935 จบการศึกษาทางด้านการแพทย์ศาสตร์จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด เขามีความ สนใจเรื่องการทำงานของสมอง และใช้เวลาค้นคว้าในเรื่องทักษะการคิดมาเป็นเวลายาวนานกว่า 20 ปี โดย เดอ โบ โน ไม่เห็นด้วยกับวิธีคิดในรูปแบบเดิม ที่คนเรามักนิยมทำกันเมื่อถกเถียงหรืออธิบายหาเหตุผล (นั่นคือเอาข้อเท็จจริง อารมณ์ หรือเหตุผลส่วนตัว มาปะปนกันในการถกเถียงเพื่อหวังเป็นผู้ชนะ)

เดอ โบ โน เชื่อว่าวิธีการคิด การหาเหตุผลดังกล่าวข้างต้นเป็นวิธีที่ผิดและเสียเวลา ดังนั้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 1970 เขาจึงเสนอวิธีคิดแบบ Six Thinking Hats หรือ การคิดแบบหมวก 6 ใบ ขึ้น โดยแยกกรอบความคิดออกเป็นด้านๆ อย่างชัดเจน จากนั้นจึงวิเคราะห์หา เหตุผลภายในกรอบความคิดนั้นๆ อันจะช่วยพิจารณาสิ่งต่างๆ ได้ครอบคลุม และมีคุณภาพมากขึ้น แทนที่จะคิดทุกด้านในเวลาเดียวกัน ซึ่งมักก่อให้เกิดความสับสน

หมวกแห่งความคิด 6 ใบ หรือการคิด 6 ด้าน ประกอบด้วย
• หมวกสีขาว หมายถึงข้อมูลข่าวสาร
• หมวกสีแดง หมายถึงอารมณ์ความรู้สึก
• หมวกสีดำ หมายถึงการตั้งคำถามหรือตั้งข้อสงสัย
• หมวกสีเหลือง หมายถึงการมองในแง่ดีเต็มไปด้วยความหวัง
• หมวกสีเขียว หมายถึงการ คิดอย่างสร้างสรรค์
• หมวกสีฟ้า หมายถึงการสามารถควบคุมความคิดทั้งหมดให้มองเห็นภาพรวมของการคิด

ดร.เดอ โบ โน ได้ยกตัวอย่างการนำวิธีคิดแบบหมวก 6 ใบ มาใช้ในการบริหารองค์กรเช่น ในการประชุมแทนที่ทุกคนจะตั้งป้อมหาเหตุผล มาหักล้างกันผู้บริหารอาจเริ่มให้ทุกคนสวม “หมวกสีขาว” คิด ด้วยการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของแต่ละคนออกมา ไม่ต้องวิเคราะห์หรือ ถกเถียงกันว่าข้อมูลของใครดีกว่ากัน ต่อมาถึงขั้นตอนการคิดแบบ “หมวกสีแดง” ทุกคนสามารถแสดงอารมณ์ความรู้สึกในเรื่องนั้นได้อย่าง เต็มที่ จากนั้นเป็น “หมวกสีดำ” ขั้นตอนของการใช้เหตุผลวิพากษ์ วิเคราะห์ ตั้งข้อสงสัย ข้อควรระวัง ตามด้วย “หมวกสีเหลือง” ซึ่งเป็นสีของความหวัง ที่ทุกคนจะหาแง่มุมด้านบวกของประเด็นนี้ (แม้คนไม่เห็นด้วยก็ต้องพยายามหาข้อดีของประเด็นนั้น) เมื่อถึงช่วง ของ “หมวกสีเขียว” จะเป็นโอกาสที่ทุกคนต้องแสดงความคิดสร้างสรรค์ กล่าวคือหาทางออก หรือแนวคิดใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาที่มีอยู่

ลำดับสุดท้ายเมื่อทุกคนสวม “หมวกสีฟ้า” จะเป็นการมองภาพรวมหาบทสรุป และสำรวจความคืบหน้าของการคิดหรือการอภิปราย ที่ได้ดำเนินมาตั้งแต่ต้น

Read more »

ในวงการวิทยาศาสตร์นั้น จำเป็นต้องมีการเขียนรายงานทางวิชาการ ซึ่งจะเป็นทั้งหลักฐานและการต่อยอดความรู้อันไม่รู้จบ แต่นอกจากการจงใจแล้ว หลายครั้งที่ความอ่อนด้อยทางภาษา ทำให้หลายคน “โจรกรรมวิชาการ” คนอื่นโดยไม่รู้ตัว

       ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและอาจารย์ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวไว้ในการบรรยายเรื่อง “โจรกรรมทางวิชาการ” ภายในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน ครั้งที่ 4 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-21 มี.ค.52 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ซึ่งทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ ได้เข้าฟังด้วยว่

       ศ.นพ.ยง อธิบายว่า โจรกรรมทางวิชาการ หรือ Plagiarism นั้น คือการคัดลอกหรือขโมยผลงานคนอื่นมาเป็นของตัวเอง แต่ทั้งนี้แปลว่า “โจรกรรม” อาจจะไม่ตรงตามความหมายที่แท้จริงเท่าใดนัก และไม่มีภาษาไทยที่ตรงกับคำนี้ ซึ่งโดยส่วนตัว ศ.นพ.ยงเชื่อว่านักวิทยาศาสตร์ยุคก่อนๆ เช่น หลุยส์ ปาสเตอร์คงไม่รู้จักคำนี้ เพราะไม่ทำพฤติกรรมนี้ การเป็นนักวิทยาศาสตร์อยู่ในสายเลือด มิได้หวังผลประโยชน์ตอบแทน แต่สมัยนี้มีการขโมยหรือเอาผลงานคนอื่นมา ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ

       “แม้ไม่ผิดกฎหมาย แต่ผิดจริยธรรม การลอกทั้งหมดหรือบางส่วนก็ผิดทั้งนั้น การคัดลอกตัวเองก็ไม่สมควร การคัดลอกตัวเองคือนำผลงานที่ตีพิมพ์แล้ว ส่งตีพิมพ์ในอีกวารสาร หรือส่งตีพิมพ์พร้อมๆ กันหลายวารสาร ด้วยผลงานเดียวกัน ซึ่งแม้จะเป็นวารสารต่างภาษาก็ทำไม่ได้ ผิดจริยธรรมทั้งนั้น แต่ถ้าส่งผลแล้วถูกปฏิเสธ สามารถแก้ไขตามคำแนะนำ แล้วค่อยส่งไปอีกฉบับหนึ่งสามารถทำได้” ศ.นพ.ยงกล่าว

       ทั้งนี้ มีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัย เซาธ์เวสต์ เท็กซัส (Southwest Texas University) สหรัฐฯ ได้พัฒนาโปรแกรมตรวจสอบงานวิจัยในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีงานวิจัยที่มีความคลับคล้ายคลับคลา กับงานวิจัยของคนอื่นอยู่จำนวนมาก และยังพบด้วยว่ามีงานวิจัยที่เข้าข่ายต้องสงสัยว่า จะเป็นการโจรกรรมผลงานคนอื่นหรือผลงตัวเอง ส่วนมากมักเป็นรายงานการวิจัยจากประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก

 

Read more »

พิจารณาคัดเลือกจากหนังสือวิทยาศาสตร์กว่า 700 เล่ม ที่เขียนขึ้นโดยคนไทย และพิมพ์ขึ้นในระหว่างปี 2537-2548 จนเหลือเพียง 100 เล่ม แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ บันเทิงคดี 30 เล่ม และ สารคดีและความรู้ทั่วไป 70 เล่ม ซึ่งคัดเลือกโดยพิจารณาจากหนังสือที่มีเนื้อหาวิทยาศาสตร์โดยตรง, มุ่งส่งเสริมวิทยาศาสตร์ หรือแสดงภูมิปัญญาเชิงวิทยาศาสตร์ของผู้เขียน ยกเว้นหนังสือแปล หนังสือคู่มือ ตำราเรียน และแบบเรียน

ประเภทบันเทิงคดี จำนวน 30 เล่ม ได้แก่

       1. กาลเวลา โดย จุฑารัตน์
       2. ใครทำร้ายโลก โดย อัมพร คมลักษณ์ (บรรณาธิการ)
       3. จรูญจรัสรัศมีพราว พร่างพร้อย โดย วินทร์ เลียววาริณ
       4. จักรวาลอนันต์ การเดินทางไม่สิ้นสุด โดย วรากิจ เพชรน้ำเอก
       5. จินตนาการอนาคต โดย ฉัตรเฉลิม ตันติสุข
       6. แจ็ค ณ ขอบฟ้า โดย เชษฐา สุวรรณสา
       7. ชิทแตก! โดย ปราบดา หยุ่น
       8. ชีวิตแลกไฟฟ้า โดย อัมพร คมลักษณ์ (บรรณาธิการ)
       9. เด็กชายลิ้นชัก โดย วันทนีย์ วิบูลกีรติ
       10. ใต้ดาวมฤตยู โดย เสนีย์ เสาวพงศ์
       11. ปราสาทรัตติกาล โดย แม่บรรเทา
       12. ปลายทางที่ ∞ โดย พิพัฒน์ พสุธารชาติ
       13. โปรเจกต์ เอกซ์ โดย ชัยคุปต์
       14. ผู้พิชิต โดย อัมพร คงลักษณ์ (บรรณาธิการ)
       15. ผู้มาเยือน โดย กิ๊ตตี้
       16. พีระมิดทะเลเย็น โดย วิภาพ คัญทัพ
       17. มนุษย์พันธุ์ใหม่ โดย ติ๋ว
       18. เมืองไทยปี พ.ศ.2600 (Dare To Dream The Impossible) โดย โมน สวัสดิ์ศรี
       19. เร้นพลบ โดย วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์
       20. เรือนเวลา โดย ชลนิล
       21. ฤดูดาว โดย พงศกร
       22. วันที่โลกไร้แมว โดย สุริยัน สุดศรีวงศ์
       23. สงคราม ความรัก และจักรวาล โดย จรัลพัฒน์
       24. สมการสุริยะ โดย วิธิต อุตสาหจิต (บรรณาธิการ)
       25. สายฝนกลางพายุที่แล้งร้อน โดย นิรันศักดิ์ บุญจันทร์
       26. หัวใจใยสังเคราะห์ โดย เพ็ญศิริ
       27. หิมพานต์นิรมิต โดย สิริกาญจน์
       28. อมตะ โดย วิมล ไทรนิ่มนวล
       29. อิสระนอกกรอบ โดย สมภพ นิลกำแหง
       30. โอบกอดความรักมาจากฟ้า โดย หอมไกล

ประเภทสารคดีและความรู้ทั่วไป จำนวน 70 เล่ม ได้แก่

       31. 2000 : สหัสวรรษรหัสอันตราย โดย วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์
       32. การเขียนเรื่องวิทยาศาสตร์สำหรับประชาชน โดย คณะวิทยากร นจวท.
       33. การจัดการความรู้ (ฉบับนักปฏิวัติ) โดย วิจารณ์ พานิช

Read more »