พัฒนาอุตสาหกรรมระบบราง ทดสอบและทดลอง พัฒนาทรัพยากรบุคคล พร้อมเสริมประสิทธิภาพระบบขนส่งทางรางและความปลอดภัยในการเดินรถไฟ ยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ระบบรางให้เป็นไปตามมาตรฐานของประเทศและสากล ช่วยเพิ่มขีดความสามารถด้านการทดสอบวิเคราะห์ด้านระบบราง สนับสนุนการผลิตชิ้นส่วนในประเทศ (Local Content) ทดแทนการนำเข้าสนับสนุนการผลิตบุคลากรและผู้เชี่ยวชาญวิจัยด้านระบบราง ตลอดจนวิจัยพัฒนาแก้โจทย์ปัญหาด้านระบบรางของประเทศสู่การสร้างความยั่งยืนในการขนส่งระบบราง ภายใต้กรอบความร่วมมือ 5 ด้าน ได้แก่
1. การถ่ายทอดเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา
2. การพัฒนามาตรฐานระบบราง
3. การพัฒนาอุตสาหกรรมระบบราง
4. การทดสอบและการทดลอง
5. การพัฒนาทรัพยากรบุคคล
“พันธมิตรระบบราง สร้างสรรค์อุตสาหกรรมระบบรางไทย”
“Professional in Railway and Transportation Tests and Solutions”
บริการทดสอบและให้คำปรึกษา
ศทร.-วว. ทดสอบรับรองคุณภาพ มาตรฐานความปลอดภัยตามข้อกำหนดทางเทคนิคของสัญญาจ้าง (TOR) และมาตรฐานสากล เช่น ISO, EN, AS, UIC, AAR , AREMA ฯลฯ ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนระบบราง และชิ้นส่วนตัวรถ เช่น หมอนคอนกรีต ชิ้นส่วนระบบอาณัติสัญญาณ รางและข้อต่อราง เครื่องยึดเหนี่ยวราง โครงสร้างเสา ระบบจ่ายไฟเหนือตัวรถ โบกี้ ชิ้นส่วนระบบเบรก ฯลฯ ตลอดจนให้บริการเป็นที่ปรึกษาเพื่อแก้ปัญหาทางวิศวกรรม แก่ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถไฟในประเทศ.
วิจัยและพัฒนางานระบบรางเพื่อการบำรุงรักษา
ศทร.-วว. ดำเนินการวิจัยและพัฒนาชิ้นส่วนระบบราง พัฒนาเทคโนโลยีการบำรุงรักษาพัฒนาเทคโนโลยีการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (PM-RSHM) ให้บริการตรวจสอบ วิเคราะห์ชิ้นส่วนระบบรางเพื่อการวางแผนบำรุงรักษาอย่างมีประสิทธิผล (Effective Maintenance) พัฒนาชิ้นส่วนอุปกรณ์ระบบราง ชิ้นส่วนรถไฟที่มีศักยภาพการผลิตในประเทศ สนับสนุนนโยบาย Local Content ยกระดับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศให้มีความยั่งยืนและความร่วมมือในด้านวิจัยและพัฒนาชิ้นส่วนระบบราง พัฒนาเทคโนโลยีการตรวจสอบในงานบำรุงรักษาระบบรถไฟ.
ศูนย์เรียนรู้ ดูดซับ ถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบราง
วว.มีศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง (ศทร.) ที่มีห้องปฏิบัติการทดสอบระบบรางที่ทันสมัย บุคลากรที่มีประสปการณ์เชี่ยวชาญด้านระบบราง ศทร.-วว. มีศักยภาพในการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนการผลิตบุคลากรให้สามารถต่อยอดไปสูการวิจัยและพัฒนาด้านระบบรางได้ โดยร่วมมือกับสถาบันและมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น การจัดทำหลักสูตรถ่ายทอดเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงร่วมกับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย โดยใช้โครงสร้างพื้นฐานห้องปฏิบัติการทดสอบระบบรางที่ทันสมัยของ ศทร.-วว. ที่สามารถสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านระบบราง รวมถึงให้การฝึกอบรมและส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องในส่วนวิศวกรรมระบบราง เช่น วิศวกรและนักศึกษา คณาจารย์รวมถึงผู้ประกอบการผลิตชิ้นส่วนรถไฟ.