สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ให้การต้อนรับท่านอาคม เติมพิทยาไพสิฐ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เยี่ยมชมการดำเนินงานให้บริการทดสอบชิ้นส่วนระบบรางสนับสนุนโครงการก่อสร้างรถไฟของกระทรวงคมนาคม และการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของ วว. ในด้านการเฝ้าระวังความปลอดภัยระหว่างการเดินรถและการบำรุงรักษา ของ ศทร.

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม 2563 ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง (ศทร.) ให้การต้อนรับท่านอาคม เติมพิทยาไพสิฐ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เยี่ยมชมการดำเนินงานให้บริการทดสอบชิ้นส่วนระบบรางสนับสนุนโครงการก่อสร้างรถไฟของกระทรวงคมนาคม และการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของ วว ในด้านการเฝ้าระวังความปลอดภัยระหว่างการเดินรถและการบำรุงรักษา ของ ศทร.

โดยในส่วนของงานให้บริการทดสอบชิ้นส่วนระบบรางสนับสนุนโครงการก่อสร้างรถไฟของกระทรวงคมนาคมนั้น ตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน วว. ได้สนับสนุนงานทดสอบรับรองคุณภาพและความปลอดภัยชิ้นส่วนระบบรางตามข้อกำหนดขอบเขตงานสัญญาจ้าง (TOR) ให้แก่โครงการก่อสร้างทางรถไฟของกระทรวงคมนาคมแล้วเสร็จจำนวนรวมทั้งสิ้นไม่นัอยกว่า 43 สัญญาโครงการ (TOR) ประกอบด้วย อาทิเช่น

– โครงการเสริมความแข็งแรงโครงสร้างทาง

– โครงการประบปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัยในการเดินรถ

– โครงการรถไฟฟ้าในเมือง

– โครงการรถไฟทางคู่

– โครงการรถไฟรางเดี่ยว และ

– โครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน

วัสดุและชิ้นส่วนระบบรางที่ วว. ทดสอบรับรองคุณภาพ อาทิเช่น ตาข่ายเสริมกำลังดิน (Geo-grid) วัสดุในงานก่อสร้าง (คอนกรีต ยาง วัสดุคอมโพสิต เหล็กเส้น เหล็กข้ออ้อย เหล็กรูปพรรณ ลวดเหล็กอัดแรง ฯลฯ) แผ่นยางรองราง สลักภัณฑ์ หมอนคอนกรีต หมอนประแจ ราง รอยเชื่อมราง ประกับราง เครื่องยึดเหนี่ยวราง แผ่นพื้นทางผ่านเสมอระดับ คันชักประแจกล ท่อร้อยสายไฟ โครงเสาระบบจ่ายไฟเหนือศรีษะ เป็นต้น ปัจจุบันห้องปฎิบัติการทดสอบระบบรางของ วว. ได้รับรองความสามารถทางห้องปฎิบัติตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 และยังได้รับเครื่องหมายห้องปฎิบัติการสากล ILAC อีกด้วย

นอกจากการสนับสนุนงานทดสอบในด้านวัสดุงานทางแล้ว วว. ยังสามารถพัฒนาศักยภาพด้านการทดสอบรับรองชิ้นส่วนล้อเลื่อนให้สามารถดำเนินการทดสอบได้ในประเทศ อาทิเช่น โครงแคร่ ล้อ เพลาล้อ โบกี้บรรทุกตู้สินค้า (บทต) แท่งห้ามล้อ จานห้ามล้อ เป็นต้น

ในส่วนของงานวิจัยและพัฒนเทคโนโลยีสนับสนุนทางระบบรางนั้น วว. เน้นการวิวิจัยและพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ปัญหาและสนับสนุนนโยบายการขนส่งทางที่สำคัญของประเทศโดยเน้นการวิการวิจัยพัฒนาในด้านการเดินรถและการบำรุงรักษารถไฟเมื่อโครงการก่อสร้างรถไฟแล้วเสร็จ เพื่อเสริมความปลอดภัยในการรถไฟและเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งทางราง โดย วว. มี 3 เทคโนโลยีที่วิจัยและพัฒนาต้นแบบแล้วเสร็จให้เอกชนสามารถนำไปใช้ให้บริการแก่ผู้ประกอบการเดินรถไฟได้ ได้แก่

  1. เทคโนโลยีตรวจสอบและเฝ้าระวังน้ำหนักบรรทุกรถไฟ (RAWLOC, Railway wheel load control)
  2. เทคโนโลยีตรวจสอบความบกพร่องในรางรถไฟ (RFD, Rail Flaw Detection)
  3. เทคโนโลยีเฝ้าระวังและตรวจติดตามระหว่างการใช้งานระบบรถไฟ (RSM, Railway Structure Monitoring)

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้ร่วมประชุมร่วมกับตัวแทนมหาวิทยาลัย 6 มหาวิทยาลัยเพื่อจัดทำสรุปภาพรวมขีดความสามารถ และศักยภาพด้านระบบรางของหน่วยงานกลุ่มมหาวิทยาลัย

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม 2563 เวลา 09:30 – 12:00 ณ ห้องประชุม กวท. ชั้น 8 อาคารวิจัยและพัฒนา 1 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) คลองห้า เทคโนธานี จ.ปทุมธานี

นายวิรัช จันทรา รองผู้ว่าการ วว. บริการอุตสาหกรรม และ ดร.อาณัติ หาทรัพย์ ผอ.ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง ได้ร่วมประชุมร่วมกับตัวแทนมหาวิทยาลัย 6 มหาวิทยาลัยเพื่อจัดทำสรุปภาพรวมขีดความสามารถ และศักยภาพด้านระบบรางของหน่วยงานกลุ่มมหาวิทยาลัย สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

การประชุมดังกล่าวสืบเนื่องจากที่ วว. และ 6 มหาวิทยาลัยได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “พันธมิตรระบบราง สร้างสรรค์อุตสาหกรรมระบบรางไทย” เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 ร่วมกับกรมการขนส่งทางราง (ขร) และอีก 7 หน่วยงาน เพื่อให้การสนับสนุนนโยบายสำคัญของกระทรวงคมนาคมในด้านอุตสาหกรรมราง เช่น การผลิตชิ้นส่วนรถไฟในประเทศ หรือ local content ทดแทนการนำเข้า ให้เกิดสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมโดยการใช้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน) มหาวิทยาลัยใน อว. ที่มาร่วมประชุมประกอบด้วยมหาวิทยาลัยจากในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ได้แก่

1- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

2- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

3- มหาวิทยาลัยนเรศวร,

4- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

5- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และ

6- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “พันธมิตรระบบราง สร้างสรรค์อุตสาหกรรมระบบรางไทย” นี้ วว. ในฐานะเลขานุการร่วมกับ ขร. รับผิดชอบในการดำเนินงานและประสานงานกับ 6 หน่วยงานมหาวิทยาลัย สังกัดกระทรวง อว. เพื่อจัดทำภาพรวมขีดความสามารถและศักยภาพด้านระบบรางของหน่วยงานกลุ่มมหาวิทยาลัยทั้งในปัจจุบันและอนาคตให้มีความชัดเจนและเป็นเอกภาพ ให้สามารถสนับสนุนนโยบายสำคัญด้านคมนาคม ใน 5 กลุ่มงานสำคัญ ได้แก่

1- ยกร่างและร่วมจัดทำร่างมาตรฐานระบบรางของประเทศ

2- สนับสนุนอุตสาหกรรมราง และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง เพื่อพัฒนาชิ้นส่วนระบบรางในประเทศ

3- พัฒนาความพร้อมและศักยภาพด้านการทดสอบระบบรางของประเทศ

4- วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางสนับสนุนอุตสาหกรรมราง การเดินรถและการบำรุงรักษา

5- การพัฒนาทรัพยากรบุคคล การผลิตบุคลกาวิชาชีพ วิศวกร และนักวิจัยด้านระบบราง

ทั้งนี้ วว. จะนำผลการประชุมดังกล่าวรายงานต่อที่ประชุมพันธมิตรฯ ในวันที่ 31 สิงหาคม 2563 นี้ เพื่อจัดทำแผนงานสนับสนุนอุตสาหกรรมรางของพันธมิตรฯ ต่อไป

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ให้การต้อนรับคณะจาก บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด เข้าหารือแนวทางความร่วมมือด้านระบบรางและยานยนต์ขนส่ง

วันพฤหัสที่ 13 สิงหาคม 2563

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดย ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. ให้การต้อนรับคณะจาก บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด นำโดย คุณพนัส วัฒนชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) และทีมผู้บริหารทั้งด้านการตลาดและการวิจัยและพัฒนา เข้าหารือแนวทางความร่วมมือด้านระบบรางและยานยนต์ขนส่งระหว่าง วว. กับ บจ. พนัส แอสเซมบลีย์ ในโอกาสนี้ ดร.อาณัติ หาทรัพย์ (ผอ.ศทร.), นายภณสินธุ์ ไพทีกุล (ร.ผอ.หป.พร.), นายสราวุธ แสงวิเชียร (นักวิชาการ) และนายภานุวัตร หมัดเจริญสุข (นักทดลองวิทยาศาสตร์บริการ) ได้เข้าร่วมหารือ และนำเสนอการดำเนินงานของ ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง (ศทร.) ทั้งด้านการบริการทดสอบ การจัดทำโครงการที่ปรึกษาทางวิศวกรรม และการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางและยานยนต์ของ ศทร. ณ ห้องประชุม กวท. ชั้น 8 อาคารวิจัยและพัฒนา 1 เทคโนธานี คลองห้า จ.ปทุมธานี