วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม 2563 ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง (ศทร.) ให้การต้อนรับท่านอาคม เติมพิทยาไพสิฐ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เยี่ยมชมการดำเนินงานให้บริการทดสอบชิ้นส่วนระบบรางสนับสนุนโครงการก่อสร้างรถไฟของกระทรวงคมนาคม และการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของ วว ในด้านการเฝ้าระวังความปลอดภัยระหว่างการเดินรถและการบำรุงรักษา ของ ศทร.
โดยในส่วนของงานให้บริการทดสอบชิ้นส่วนระบบรางสนับสนุนโครงการก่อสร้างรถไฟของกระทรวงคมนาคมนั้น ตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน วว. ได้สนับสนุนงานทดสอบรับรองคุณภาพและความปลอดภัยชิ้นส่วนระบบรางตามข้อกำหนดขอบเขตงานสัญญาจ้าง (TOR) ให้แก่โครงการก่อสร้างทางรถไฟของกระทรวงคมนาคมแล้วเสร็จจำนวนรวมทั้งสิ้นไม่นัอยกว่า 43 สัญญาโครงการ (TOR) ประกอบด้วย อาทิเช่น
– โครงการเสริมความแข็งแรงโครงสร้างทาง
– โครงการประบปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัยในการเดินรถ
– โครงการรถไฟฟ้าในเมือง
– โครงการรถไฟทางคู่
– โครงการรถไฟรางเดี่ยว และ
– โครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน
วัสดุและชิ้นส่วนระบบรางที่ วว. ทดสอบรับรองคุณภาพ อาทิเช่น ตาข่ายเสริมกำลังดิน (Geo-grid) วัสดุในงานก่อสร้าง (คอนกรีต ยาง วัสดุคอมโพสิต เหล็กเส้น เหล็กข้ออ้อย เหล็กรูปพรรณ ลวดเหล็กอัดแรง ฯลฯ) แผ่นยางรองราง สลักภัณฑ์ หมอนคอนกรีต หมอนประแจ ราง รอยเชื่อมราง ประกับราง เครื่องยึดเหนี่ยวราง แผ่นพื้นทางผ่านเสมอระดับ คันชักประแจกล ท่อร้อยสายไฟ โครงเสาระบบจ่ายไฟเหนือศรีษะ เป็นต้น ปัจจุบันห้องปฎิบัติการทดสอบระบบรางของ วว. ได้รับรองความสามารถทางห้องปฎิบัติตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 และยังได้รับเครื่องหมายห้องปฎิบัติการสากล ILAC อีกด้วย
นอกจากการสนับสนุนงานทดสอบในด้านวัสดุงานทางแล้ว วว. ยังสามารถพัฒนาศักยภาพด้านการทดสอบรับรองชิ้นส่วนล้อเลื่อนให้สามารถดำเนินการทดสอบได้ในประเทศ อาทิเช่น โครงแคร่ ล้อ เพลาล้อ โบกี้บรรทุกตู้สินค้า (บทต) แท่งห้ามล้อ จานห้ามล้อ เป็นต้น
ในส่วนของงานวิจัยและพัฒนเทคโนโลยีสนับสนุนทางระบบรางนั้น วว. เน้นการวิวิจัยและพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ปัญหาและสนับสนุนนโยบายการขนส่งทางที่สำคัญของประเทศโดยเน้นการวิการวิจัยพัฒนาในด้านการเดินรถและการบำรุงรักษารถไฟเมื่อโครงการก่อสร้างรถไฟแล้วเสร็จ เพื่อเสริมความปลอดภัยในการรถไฟและเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งทางราง โดย วว. มี 3 เทคโนโลยีที่วิจัยและพัฒนาต้นแบบแล้วเสร็จให้เอกชนสามารถนำไปใช้ให้บริการแก่ผู้ประกอบการเดินรถไฟได้ ได้แก่
- เทคโนโลยีตรวจสอบและเฝ้าระวังน้ำหนักบรรทุกรถไฟ (RAWLOC, Railway wheel load control)
- เทคโนโลยีตรวจสอบความบกพร่องในรางรถไฟ (RFD, Rail Flaw Detection)
- เทคโนโลยีเฝ้าระวังและตรวจติดตามระหว่างการใช้งานระบบรถไฟ (RSM, Railway Structure Monitoring)