ศทร-วว. ให้การต้อนรับคณะผู้บริหาร TUV Rheinland Thailand Ltd.

วันที่ 1 ธันวาคม 2563 ศทร-วว. ให้การต้อนรับคณะผู้บริหาร TUV Rheinland Thailand Ltd. เข้าพบ ดร.อาณัติ หาทรัพย์ ผอ.ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง และ นายภณสินธ์ ไพทีกุล ผอ.หป. ทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีขนส่งทางรางและยานยนต์ขนส่ง เพื่อร่วมหารือแนวทางการร่วมมือในการให้บริการทดสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และระบบรางในระดับภูมิภาคอาเซี่ยน

ศทร-วว เข้าพบและเยี่ยมชมบริษัท พนัส แอสแซมบลีย์ จำกัด

วันที่ 26 พฤศจิกายน 2563 ศทร-วว เข้าพบและเยี่ยมชมบริษัท พนัส แอสแซมบลีย์ จำกัด เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือในการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ รถ-ราง-การบิน นายวิรัช จันทรา ที่ปรึกษา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วว.) ดร.อาณัติ หาทรัพย์ ผอ.ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง นายภณสินธ์ ไพทีกุล ผอ.หป. ทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีขนส่งทางรางและยานยนต์ขนส่ง และ ทีมงานนักวิชาการ ศทร. ได้เข้าพบ ดร.วิมล แสนอุ้ม ที่ปรึกษาด้านยุทธ์เชิงนวัตกรรม วิศวกรรมและเทคโนโลยี บริษัท พนัส แอสแซมบลีย์ จำกัด เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือในการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ รถ-ราง-การบิน ณ บริษัท พนัส แอสแซมบลีย์ จำกัด อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ในโอกาสนี้ ทปษ. วว. และ คณะ ได้เยี่ยมชมสายการผลิตยานยนต์ขนส่งของ บริษัท พนัส แอสแซมบลีย์ จำกัด

วว. ลงนามความร่วมมือการสนับสนุนการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมขนส่ง กับ บริษัท โชคนำชัย ไฮ-เทค เพรสซิ่ง จำกัด

วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน 2563 วว. ลงนามความร่วมมือการสนับสนุนการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมขนส่ง กับ บริษัท โชคนำชัย ไฮ-เทค เพรสซิ่ง จำกัด พร้อมผนึกกำลังหน่วยงานภาครัฐ/เอกชน ร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมขนส่ง-โลจิสติกส์ รถ-ราง-เรือ ของประเทศ

ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นายนําชัย สกุลฎ์โชคนําชัย ประธานกลุ่ม บริษัท โชคนำชัย ไฮ-เทค เพรสซิ่ง จำกัด และ ดร.จุลเทพ ขจรไชยกูล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ และรองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สายงานออกแบบและวิศวกรรม นายเอกนิติ รมยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ ลงนามความร่วมมือการสนับสนุนการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมขนส่งซึ่งจะเป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐและผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมขนส่งที่มีศักยภาพสูง ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ไทย ให้สามารถพัฒนาชิ้นส่วน/ผลิตภัณฑ์ได้เองในประเทศ ณ ห้องประชุมชั้น 2 โรงประกอบ บริษัท โชคนําชัย ไฮ-เทค เพรสซิ่ง จํากัด จ.สุพรรณบุรี ….ทั้งนี้ทั้ง 4 หน่วยงาน มีเป้าหมายในการดำเนินงานร่วมกัน คือ การร่วมมือในการผลักดันให้เกิดการผลิตรถไฟพร้อมตู้โดยสารที่เป็นแบรนด์ของคนไทยเป็นครั้งแรก โดยจะเป็นรถไฟสำหรับการเดินทางระหว่างเมืองของประชาชนและนักท่องเที่ยว ซึ่งขบวนรถไฟดังกล่าวต้องมีมาตรฐานคุณภาพความปลอดภัยเทียบเท่าระดับสากล ผ่านการทดสอบและการรับรองโดย วว. ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างรากฐานที่สำคัญให้แก่อุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ไทยในการผลิตชิ้นส่วนทดแทนการนำเข้าแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้ระบบขนส่งและโลจิสติกส์ของประเทศไทยมีความยั่งยืนอีกด้วย…ในส่วนของ วว. ในการลงนามความร่วมมือการสนับสนุนการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมขนส่ง ขนส่ง-โลจิสติกส์ รถ-ราง-เรือ ในครั้งนี้ วว. มีเป้าหมายในการสนับสนุนอุตสาหกรรมโดยใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่ วว. มีความพร้อม มาช่วยเสริมความแข็งแกร่ง ทั้งด้านการพัฒนามาตรฐาน การทดสอบและการรับรองวัสดุผลิตภัณฑ์ รวมถึงการต่อยอดการวิจัยพัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์สมัยใหม่ทั้งทางบก ทางราง และทางน้ำ ในโอกาสนี้ ดร.พัชรา มณีสินธ์ รองผู้ว่าการ วว. บริการอุตสาหกรรม นายวิรัช จันทรา ที่ปรึกษา วว. ดร.อาณัติ หาทรัพย์ ผอ.ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง นายภณสินธ์ ไพทีกุล ผอ.หป. ทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีขนส่งทางรางและยานยนต์ขนส่ง และ ทีมงานนักวิชาการ ศทร. ได้เข้าร่วมในพิธีลงนามและเยี่ยมชมสายการผลิตรถบัสไฟฟ้าและเรือไฟฟ้าตัวถังอลูมิเนียม ในโรงงานของบริษัท โชคนำชัย ไฮ-เทค เพรสซิ่ง จำกัด

ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง (ศทร.) ให้การต้อนรับคณะอาจารย์และนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาระบบรางและอุตสาหการ จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง (ศทร.) ให้การต้อนรับคณะอาจารย์และนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาระบบรางและอุตสาหการ จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม จำนวน 50 คน ศึกษาดูงานด้านมาตรฐานและการทดสอบด้านระบบรางและยานยนต์ ในโอกาสนี้ ดร.อาณัติ หาทรัพย์ ผอ.ศทร. ได้กล่าวต้อนรับ และทีมงานนักวิชาการ ศทร. ได้บรรยายสรุปการดำเนินงานและนำนักศึกษา เยี่ยมชมห้องปฎิบัติการทดสอบและวิจัยพัฒนาด้านระบบรางและยานยนต์ไฟฟ้าของ ศทร.

ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง (ศทร.) ให้การต้อนรับ คณะผู้บริหารและคณาจารย์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง (ศทร.) ให้การต้อนรับ ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พร้อมด้วย คณะผู้บริหารและคณาจารย์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย หารือและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อผลักดันงานวิจัย ไปสู่เชิงธุรกิจ และ Re skill Upskill บุคลากรร่วมกัน ในวันที่ 27 ตุลาคม 2563 ณ วว. เทคโนธานี

ในโอกาสนี้คุณนลินธรณ์ สุวพรจารุวัชร์ นักวิชาการอาวุโส และทีมนักวิชาการ ศทร. ได้นำเยี่ยมชมและบรรยายสรุปการดำเนินงานด้านการทดสอบและการวิจัยพัฒนาทางระบบรางและยานยนต์ไฟฟ้าของ ศทร-วว.

อนึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งภายใต้การลงนามความร่วมมือระหว่าง วว.และ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยในการพัฒนาทักษะบุคลากรและการพัฒนาบัณฑิต เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาขีดความสามารถของประเทศไทย

ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตรวจติดตามการดำเนินงาน วว. กรอบนโยบาย BCG การทดสอบระบบมาตรฐานทางราง การตอบโจทย์เสริมแกร่งเกษตรกร ผู้ประกอบการ

ในวันที่ 16 กันยายน 2563 ณ วว. เทคโนธานี คลองห้า จังหวัดปทุมธานี ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และคณะ ตรวจติดตามการดำเนินงาน วว. และมอบนโยบายการดำเนินงานให้มุ่งเน้นการจัดทำโครงการเป็นแพคเกจด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งการแก้ไขปัญหาความยากจน แก้ปัญหาความห่างไกลทุรกันดาร แก้ปัญหาการขาดโอกาสของแต่ละพื้นที่ รวมทั้งให้มีการเชื่อมโยงการดำเนินงานกับกระทรวงอื่นๆให้มากขึ้น ก็จะมีการใช้ประโยชน์จากผลงานของ วว. หลากหลายขึ้นและเป็นที่ต้องการของกลุ่มต่างๆ

โอกาสนี้ ดร.พสุ โลหารชุน ประธานคณะกรรมการบริหาร วว. คณะกรรมการบริหาร ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. พร้อมทั้งคณะผู้บริหารและบุคลากร ร่วมให้การต้อนรับและรายงานความสำเร็จ ความก้าวหน้าการดำเนินงาน พร้อมโชว์นิทรรศการความสำเร็จตามนโยบาย BCG การตอบโจทย์/ เสริมศักยภาพเกษตรกร ผู้ประกอบการ ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้แก่ ฐานข้อมูลจุลินทรีย์และการนำไปใช้ประโยชน์ โพรไบโอติก สารชีวภัณฑ์ ห้องปฏิบัติการทดสอบการสลายตัวทางชีวภาพของวัสดุ เห็ดเพื่อชุมชน ลำตะคองโมเดลเมืองน่าอยู่และฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ Success case นวัตอัตลักษณ์ บรรจุภัณฑ์เพื่อการจำหน่ายผลไม้สดออนไลน์ Success case การจัดการขยะชุมชนด้วย วทน. อบต.ตาลเดี่ยว จ.สระบุรี พลังงานชีวมวล การวิจัยพัฒนาเซรามิก ยางพารา และบล็อกประสาน คลัสเตอร์ไม้ดอก ไม้ประดับ รวมทั้งเยี่ยมชมศูนย์นวัตกรรมการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรม (ICPIM) และศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางของประเทศด้านการทดสอบรับรองคุณภาพระบบขนส่ง

 

คณะผู้บริหารจาก ZECK TSE International Ltd. หารือแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมเทคโนโลยีและการสนับสนุนการผลิต local content ระบบราง

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน 2563 ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง (ศทร.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดย ดร.อาณัติ หาทรัพย์ ผอ.ศทร. คุณประยงค์ อรัญญะ นักวิชาการ ห้องปฏิบัติการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีขนส่งทางรางและยานยนต์ ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารจาก ZECK TSE International Ltd. เพื่อหารือแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมเทคโนโลยีและการสนับสนุนการผลิต local content ระบบราง ในด้านชิ้นส่วนระบบจ่ายไฟฟ้ารถไฟและเครื่องจักรอุปกรณ์ประกอบติดตั้งระบบจ่ายไฟฟ้ารถไฟ ซึ่ง บริษัทฯ มีความพร้อมในการผลิตได้ในประเทศไทยทั้งหมด โดยใช้สายการผลิต วัตถุดิบ เครื่องจักรและคนงานในไทย โดยใช้เทคโนโลยีและองค์ความรู้จากประเทศเยอรมันนี รวมทั้งได้หารือ เรื่องการรับรองผลิตภัณฑ์ระบบรางของ วว. ในโอกาสนี้ คุณประยงค์ อนัญญะ ได้นำคณะฯ เยี่ยมชมการดำเนินงานทดสอบและพัฒนาทางระบบราง ในส่วนงานทางและล้อเลื่อนของ ศทร.

คณะอนุกรรมาธิการส่งเสริมอุตสาหกรรมขนส่งระบบราง ในคณะกรรมาธิการอุตสาหกรรม สภาผู้สภาผู้แทนราษฎร เข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานด้านการทดสอบรับรองและการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีตรวจสอบระบบรางของ ศทร.

วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม 2563  ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง (ศทร.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดย นายภณสินธ์ ไพธีกุล ร.ผอ.หป.ทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีขนส่งทางรางและยานยนต์ขนส่ง ให้การต้อนรับคณะอนุกรรมาธิการส่งเสริมอุตสาหกรรมขนส่งระบบราง ในคณะกรรมาธิการอุตสาหกรรม สภาผู้สภาผู้แทนราษฎร เข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานด้านการทดสอบรับรองและการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีตรวจสอบระบบรางของ ศทร. ในโอกาสนี้คณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้เข้าร่วมชมการดำเนินงานของ ศทร. ด้วย

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ให้การต้อนรับท่านอาคม เติมพิทยาไพสิฐ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เยี่ยมชมการดำเนินงานให้บริการทดสอบชิ้นส่วนระบบรางสนับสนุนโครงการก่อสร้างรถไฟของกระทรวงคมนาคม และการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของ วว. ในด้านการเฝ้าระวังความปลอดภัยระหว่างการเดินรถและการบำรุงรักษา ของ ศทร.

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม 2563 ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง (ศทร.) ให้การต้อนรับท่านอาคม เติมพิทยาไพสิฐ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เยี่ยมชมการดำเนินงานให้บริการทดสอบชิ้นส่วนระบบรางสนับสนุนโครงการก่อสร้างรถไฟของกระทรวงคมนาคม และการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของ วว ในด้านการเฝ้าระวังความปลอดภัยระหว่างการเดินรถและการบำรุงรักษา ของ ศทร.

โดยในส่วนของงานให้บริการทดสอบชิ้นส่วนระบบรางสนับสนุนโครงการก่อสร้างรถไฟของกระทรวงคมนาคมนั้น ตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน วว. ได้สนับสนุนงานทดสอบรับรองคุณภาพและความปลอดภัยชิ้นส่วนระบบรางตามข้อกำหนดขอบเขตงานสัญญาจ้าง (TOR) ให้แก่โครงการก่อสร้างทางรถไฟของกระทรวงคมนาคมแล้วเสร็จจำนวนรวมทั้งสิ้นไม่นัอยกว่า 43 สัญญาโครงการ (TOR) ประกอบด้วย อาทิเช่น

– โครงการเสริมความแข็งแรงโครงสร้างทาง

– โครงการประบปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัยในการเดินรถ

– โครงการรถไฟฟ้าในเมือง

– โครงการรถไฟทางคู่

– โครงการรถไฟรางเดี่ยว และ

– โครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน

วัสดุและชิ้นส่วนระบบรางที่ วว. ทดสอบรับรองคุณภาพ อาทิเช่น ตาข่ายเสริมกำลังดิน (Geo-grid) วัสดุในงานก่อสร้าง (คอนกรีต ยาง วัสดุคอมโพสิต เหล็กเส้น เหล็กข้ออ้อย เหล็กรูปพรรณ ลวดเหล็กอัดแรง ฯลฯ) แผ่นยางรองราง สลักภัณฑ์ หมอนคอนกรีต หมอนประแจ ราง รอยเชื่อมราง ประกับราง เครื่องยึดเหนี่ยวราง แผ่นพื้นทางผ่านเสมอระดับ คันชักประแจกล ท่อร้อยสายไฟ โครงเสาระบบจ่ายไฟเหนือศรีษะ เป็นต้น ปัจจุบันห้องปฎิบัติการทดสอบระบบรางของ วว. ได้รับรองความสามารถทางห้องปฎิบัติตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 และยังได้รับเครื่องหมายห้องปฎิบัติการสากล ILAC อีกด้วย

นอกจากการสนับสนุนงานทดสอบในด้านวัสดุงานทางแล้ว วว. ยังสามารถพัฒนาศักยภาพด้านการทดสอบรับรองชิ้นส่วนล้อเลื่อนให้สามารถดำเนินการทดสอบได้ในประเทศ อาทิเช่น โครงแคร่ ล้อ เพลาล้อ โบกี้บรรทุกตู้สินค้า (บทต) แท่งห้ามล้อ จานห้ามล้อ เป็นต้น

ในส่วนของงานวิจัยและพัฒนเทคโนโลยีสนับสนุนทางระบบรางนั้น วว. เน้นการวิวิจัยและพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ปัญหาและสนับสนุนนโยบายการขนส่งทางที่สำคัญของประเทศโดยเน้นการวิการวิจัยพัฒนาในด้านการเดินรถและการบำรุงรักษารถไฟเมื่อโครงการก่อสร้างรถไฟแล้วเสร็จ เพื่อเสริมความปลอดภัยในการรถไฟและเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งทางราง โดย วว. มี 3 เทคโนโลยีที่วิจัยและพัฒนาต้นแบบแล้วเสร็จให้เอกชนสามารถนำไปใช้ให้บริการแก่ผู้ประกอบการเดินรถไฟได้ ได้แก่

  1. เทคโนโลยีตรวจสอบและเฝ้าระวังน้ำหนักบรรทุกรถไฟ (RAWLOC, Railway wheel load control)
  2. เทคโนโลยีตรวจสอบความบกพร่องในรางรถไฟ (RFD, Rail Flaw Detection)
  3. เทคโนโลยีเฝ้าระวังและตรวจติดตามระหว่างการใช้งานระบบรถไฟ (RSM, Railway Structure Monitoring)

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้ร่วมประชุมร่วมกับตัวแทนมหาวิทยาลัย 6 มหาวิทยาลัยเพื่อจัดทำสรุปภาพรวมขีดความสามารถ และศักยภาพด้านระบบรางของหน่วยงานกลุ่มมหาวิทยาลัย

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม 2563 เวลา 09:30 – 12:00 ณ ห้องประชุม กวท. ชั้น 8 อาคารวิจัยและพัฒนา 1 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) คลองห้า เทคโนธานี จ.ปทุมธานี

นายวิรัช จันทรา รองผู้ว่าการ วว. บริการอุตสาหกรรม และ ดร.อาณัติ หาทรัพย์ ผอ.ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง ได้ร่วมประชุมร่วมกับตัวแทนมหาวิทยาลัย 6 มหาวิทยาลัยเพื่อจัดทำสรุปภาพรวมขีดความสามารถ และศักยภาพด้านระบบรางของหน่วยงานกลุ่มมหาวิทยาลัย สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

การประชุมดังกล่าวสืบเนื่องจากที่ วว. และ 6 มหาวิทยาลัยได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “พันธมิตรระบบราง สร้างสรรค์อุตสาหกรรมระบบรางไทย” เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 ร่วมกับกรมการขนส่งทางราง (ขร) และอีก 7 หน่วยงาน เพื่อให้การสนับสนุนนโยบายสำคัญของกระทรวงคมนาคมในด้านอุตสาหกรรมราง เช่น การผลิตชิ้นส่วนรถไฟในประเทศ หรือ local content ทดแทนการนำเข้า ให้เกิดสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมโดยการใช้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน) มหาวิทยาลัยใน อว. ที่มาร่วมประชุมประกอบด้วยมหาวิทยาลัยจากในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ได้แก่

1- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

2- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

3- มหาวิทยาลัยนเรศวร,

4- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

5- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และ

6- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “พันธมิตรระบบราง สร้างสรรค์อุตสาหกรรมระบบรางไทย” นี้ วว. ในฐานะเลขานุการร่วมกับ ขร. รับผิดชอบในการดำเนินงานและประสานงานกับ 6 หน่วยงานมหาวิทยาลัย สังกัดกระทรวง อว. เพื่อจัดทำภาพรวมขีดความสามารถและศักยภาพด้านระบบรางของหน่วยงานกลุ่มมหาวิทยาลัยทั้งในปัจจุบันและอนาคตให้มีความชัดเจนและเป็นเอกภาพ ให้สามารถสนับสนุนนโยบายสำคัญด้านคมนาคม ใน 5 กลุ่มงานสำคัญ ได้แก่

1- ยกร่างและร่วมจัดทำร่างมาตรฐานระบบรางของประเทศ

2- สนับสนุนอุตสาหกรรมราง และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง เพื่อพัฒนาชิ้นส่วนระบบรางในประเทศ

3- พัฒนาความพร้อมและศักยภาพด้านการทดสอบระบบรางของประเทศ

4- วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางสนับสนุนอุตสาหกรรมราง การเดินรถและการบำรุงรักษา

5- การพัฒนาทรัพยากรบุคคล การผลิตบุคลกาวิชาชีพ วิศวกร และนักวิจัยด้านระบบราง

ทั้งนี้ วว. จะนำผลการประชุมดังกล่าวรายงานต่อที่ประชุมพันธมิตรฯ ในวันที่ 31 สิงหาคม 2563 นี้ เพื่อจัดทำแผนงานสนับสนุนอุตสาหกรรมรางของพันธมิตรฯ ต่อไป