คำถามเกี่ยวกับการรับบริการ

1. ต้องการส่งเครื่องมือมาสอบเทียบหรือส่งตัวอย่างมาวิเคราะห์ ทดสอบ กับ วว. มีสถานที่รับงานที่ไหนบ้าง ?
ตอบ: วว. มีสถานที่รับงาน ดังนี้
1) ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา (บางปู)
นิคมอุตสาหกรรมบางปู ซอย 1ซี ถ.สุขุมวิท ต.บางปูใหม่ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
โทรศัพท์ 0 2323 1672-80 โทรสาร 0 2323 9165 Email : mtc@tistr.or.th
2) ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา (บางเขน)
196 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ 0 2579 1121-30 ต่อ 5217, 5219 โทรสาร 0 2579 8592 Email : sumalee@tistr.or.th
3) ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา (เทคโนธานี) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
35 หมู่ 3 เทคโนธานี ถ.เลียบคลองห้า ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0 2577 9344, 0 2577 9301 โทรสาร 0 2577 9344 Email : rumpai@tistr.or.th
4) ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา อมตะซิตี้
อาคารสำนักงานการนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี ชั้น 2
700/2 หมู่ 1 ถ.บางนา-ตราด กม.57 ต.คลองตำหรุ อ.เมือง จ.ชลบุรี 20000
โทรศัพท์ 038 457098 มือถือ 098 905 9141 Email: chatcharee@tistr.or.th

2. ขอบข่ายใดบ้างที่ วว. ได้รับการรับรอง ISO/IEC 17025
ตอบ: เข้าหน้าเว็บ https://www.tistr.or.th/mtc/?page_id=2726

3. วว. มีบริการรับ-ส่งเครื่องมือ-ตัวอย่าง หรือไม่ ?
ตอบ: วว. มีบริการบริการรับ-ส่ง ตัวอย่าง และ เครื่องมือในพื้นบริการโดยสามารถติดต่อนัดหมายเจ้าหน้าที่ได้ที่สถานที่รับงานทั้ง 4 แห่ง

4. อยากทราบอัตราค่าบริการของ วว. สามารถดูได้อย่างไร ?
ตอบ: https://www.tistr.or.th/mtc/?page_id=1030

5. วว. มีบริการแบบเร่งด่วนหรือไม่ ?
ตอบ: วว. มีบริการแบบเร่งด่วน โดยมีอัตราค่าบริการ 2 เท่าของอัตราค่าบริการปกติ กรุณาสอบถามเพิ่มเติม

6. วว. มีบริการแจ้งเตือนครบรอบเวลาที่จะต้องทำการสอบเทียบเครื่องมือหรือไม่ ?
ตอบ: วว. มีบริการแจ้งเตือนล่วงหน้า ก่อนครบกำหนดการสอบเทียบ 1 เดือน

7. การบริการสอบเทียบนอกสถานที่ จะต้องทำอย่างไร ?
ตอบ: ยื่นคำขอบริการ และ เจ้าหน้าที่จะติดต่อนัดหมายวันสอบเทียบ

8. การวิเคราะห์นมเปรี้ยว ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 289) ใช้ตัวอย่างปริมาณเท่าไร ?
ตอบ: ตัวอย่างเป็น ผง ขนาดปริมาณ 200 g จำนวน 5 แพ็ค และขอให้ระบุ อัตราส่วนการละลาย
ตัวอย่างเป็น น้ำ (พาสเจอร์ไรส์) ขนาด 200 ml จำนวน 12 ขวด
การส่งตัวอย่างขอให้ส่ง วันจันทร์-วันอังคาร กรณี สเตอริไลด์ ส่งตัวอย่างตามปกติ

9. การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 293) ใช้ตัวอย่างปริมาณเท่าไร ?
ตอบ: 100 กรัม จำนวน 5 แพ็ค

10. การวิเคราะห์ไอศกรีม ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 222) ใช้ตัวอย่างปริมาณเท่าไร ?
ตอบ: ปริมาณที่ใช้ 12 แพ็ค/ตัวอย่าง

11. การวิเคราะห์นมโค ตามประกาศประทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 265), นมปรุงแต่ง ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 266), ผลิตภัณฑ์ของนม ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 267) ใช้ต้วอย่างปริมาณเท่าไร ?
ตอบ: ตัวอย่างเป็น ผง ขนาดปริมาณ 200 g จำนวน 5 แพ็ค และขอให้ระบุ อัตราส่วนการละลาย
ตัวอย่างเป็น น้ำ (พาสเจอร์ไรส์) ขนาด 200 ml จำนวน 12 ขวด
การส่งตัวอย่างขอให้ส่ง วันจันทร์-วันอังคาร กรณี สเตอริไลด์ ส่งตัวอย่างตามปกติ

12. การวิเคราะห์ประกาศอาหารในภาชนะปิดสนิท ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 144) ใช้ตัวอย่างปริมาณเท่าไร ?
ตอบ: ตัวอย่างเป็น ชิ้น/ผง จำนวนตัวอย่าง 12 กระป๋อง/ขวด
ตัวอย่างเป็นผง ปริมาตร 200 กรัม จำนวน 5 แพ็ค

13. การวิเคราะห์เครื่องดื่มในภาชนะปิดสนิทตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 214) ใช้ตัวอย่างปริมาณเท่าไร ?
ตอบ: ตัวอย่างเป็น ผง ขนาด 200 g จำนวน 5 แพ็ค และขอให้ระบุ อัตราส่วนการละลายด้วย
ตัวอย่างเป็น น้ำ (พาสเจอร์ไรส์) ขนาด 200 ml จำนวน 12 ขวด
การส่งตัวอย่างขอให้ส่งวันจันทร์-วันอังคาร กรณี สเตอไรด์ ส่งตัวอย่างตามปกติ

14. ต้องการทราบว่าในตัวอย่างมีส่วนผสมของสารอะไรบ้าง ทำได้หรือไม่ ?
ตอบ: ทำได้ กรณีวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (เมื่อต้องการทราบว่าในตัวอย่างหรือผลิตภัณฑ์ประเภทหรือชนิดหนึ่งๆ มีธาตุหรือสารประกอบที่เป็นส่วนผสมทางเคมีหลักๆ อะไรบ้าง จะใช้วิธีวิเคราะห์เชิงคุณภาพตรวจวิเคราะห์)
หากเป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ลูกค้าจำเป็นต้องระบุว่าต้องการวิเคราะห์หาสารอะไรบ้าง(เมื่อต้องการทราบว่ามีธาตุหรือสารประกอบที่เป็นส่วนผสมทางเคมีหลักๆ อยู่เท่าใดในตัวอย่างประเภทหรือชนิดหนึ่งๆ จะใช้วิเคราะห์เชิงปริมาณตรวจวิเคราะห์)

15. สอบถามการวิเคราะห์ Intrinsic viscosity ในพลาสติก PET ค่ะ
ตอบ: เป็นการวัดค่าความหนืดของพอลิเมอร์ โดยนำพอลิเมอร์ไปเจือจางในตัวทำละลาย จากนั้นปล่อยให้สารละลายพอลิเมอร์ไหลผ่านอุปกรณ์วัดความหนืดที่มี capillary tube ขนาดแน่นอน จับเวลาการไหลจากระยะทางเริ่มต้นถึงระยะสิ้นสุดภายใน capillary tube ณ อุณหภูมิทดสอบที่กำหนด จากนั้นนำมาคำนวณในสมการที่กำหนดไว้ ค่านี้อาจนำไปหาความสัมพันธ์กับน้ำหนักโมเลกุลของพอลิเมอร์ได้ ขณะนี้ทาง ศทม.ไม่มีการให้บริการทดสอบนี้ค่ะ

16. ขออนุญาติสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับ อัตราการไหลของพลาสติก หน่อยครับ
1) เวลาในการตัดพลาสติกเพื่อไปชั่งน้ำหนัก กรัมต่อ 10 นาที มีมาตรฐานในการตัดไหมครับ ว่าเราควรจะเลือกตัดที่กี่วินาที
2) ค่าอัตราการไหลของพลาสติกแต่ชนิด มีค่าอัตราการไหลที่ใช้เป็นมาตรฐานไหมครับ ขอบคุณครับ
ตอบ:
1) มีมาตรฐานวิธีทดสอบแนะนำเรื่องเวลาในการตัด ขึ้นอยู่กับ melt flow rate ของพลาสติกค่ะ ได้แก่ ISO1133-1 หรือ ASTM D1238
จัดหาได้ที่ห้องสมุดสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ ห้องสมุดกรมวิทยาศาสตร์บริการ
2) โดยทั่วไปค่าอัตราการไหลของพลาสติกจะขึ้นอยู่กับการขึ้นรูป และการใช้งานของผลิตภัณฑ์พลาสติกนั้น ๆ ค่ะ เช่น ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้กระบวนการขึ้นรูปแบบฉีด ต้องการค่าอัตราการไหลช่วงหนึ่ง
ผลิตภัณฑ์ท่อพลาสติกขึ้นรูปด้วยกระบวนการ extrusion ต้องการค่าอัตราการไหลช่วงหนึ่ง เป็นต้น ขอแนะนำให้สืบค้นข้อมูลเรื่อง กระบวนการขึ้นรูปพลาสติก หรือ Processing of plastics

17. อยากสอบถามเรื่องการทดสอบ OZONE TEST เกี่ยวกับ Condition
ตรงเอกสาร วิธีการ ใช้โอโซน 50 mpa partial ozone pressure กับ 50 pphm
มันเป็นหน่วยเดียวกันไหมคะ อธิบายความหมายให้ทีได้ไหมคะ
ตอบ:
MPa (Mega Pascal) partial ozone pressure คือ หน่วยความดันของโอโซน
pphm (part per hundred million parts) คือ หน่วยความเข้มข้นโดยปริมาตรของโอโซน
โดย ภายใต้ความดันบรรยากาศมาตรฐานนั้น ที่ค่าความดันเฉพาะของโอโซนเท่ากับ 1 MPa โดยประมาณ จะมีค่าเทียบเท่ากับความเข้มข้นของโอโซน 1 pphm โดยปริมาตร
ดังนั้น 50 MPa partial ozone pressure จะเท่ากับ 50 pphm ซึ่งทั้งสองมีค่าเท่ากัน แต่หน่วยต่างกัน

18. ขอสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานการทดสอบกระเบื้องยางปูพื้นค่ะ
เนื่องจากเสียค่าขึ้นรูปและทดสอบไปกับทางหน่วยงานอื่นแล้ว จึงอยากขอความรู้เพิ่มเติมว่า ค่าสมบัติการคงรูปของยางปูพื้น ควรจะเป็นเท่าไหร่คะ เนื่องจากได้ลองหาข้อมูลแล้ว แต่ไม่พบค่ะ
(หากจะทดสอบกระเบื้องยางกับทางศูนย์ฯ มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่คะ) ขอบพระคุณค่ะ
ตอบ: ขอให้ข้อมูล ดังนี้ ครับ
1) ความรู้เกี่ยวกับค่าสมบัติการคงรูปของยางปูพื้น แนะนำติดต่อสอบถามสถาบันวิจัยยาง ตั้งอยู่ใน ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน
2) ทางศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา (ศทม.) ให้บริการทดสอบยางปูพื้นตาม มอก. 2377 ราคาค่าบริการประมาณ 6,000-7,000 บาท ขอบคุณครับ

19. พอดีสนใจจะวิเคราะห์ ปริมาณ Acetaldehyde ในขวด PET อยากทราบว่า
1) การเก็บตัวอย่างต้องทำอย่างไร เป็นขวดเปล่า,ขวดที่ใส่น้ำ,หรือพรีฟอร์มสามารถวิเคราะห์ได้หรือไม่
2) ระยะเวลาในการตรวจวิเคราะห์
3) ราคาต่อตัวอย่าง
ตอบ: วิเคราะห์ในขวดเปล่าและน้ำที่อยู่ในขวดค่ะ พรีฟอร์มไม่รับค่ะ ระยะเวลา 30 วันทำการ ราคา 4,500 ต่อตัวอย่างค่ะ
ขวดขนาด 100-250 ml ไม่ต่ำกว่า 30 ขวดค่ะ ขนาดใหญ่ 20 ขวด

10 thoughts on “Q&A”

  1. การสอบเทียบเครื่องมือวัด Residual Ozone มีที่ไหนที่ได้รับการรับรอง 17025 บ้างมั๊ยครับ
    -วัดค่าในกระบวนการผลิตน้ำดื่ม

    1. เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบรับทราบแล้ว และจะติดต่อกลับเพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม

  2. มีบริการทดสอบ การทดสอบความต้านทานลม ASTM D7158 ไหมคะ

    1. วว. โดย ศทม. ไม่สามารถให้ทดสอบความต้านลาม ASTM D7158 ครับ

  3. ขอเอกสารวิธีการทดสอบยางและพลาสติกได้มั้ยครับ พอดีจะเอาไปใช้ในการทำโครงงานหน่ะครับ

    1. เนื่องจากเอกสารวิธีทดสอบกว้างมากค่ะ ขอแนะนำจัดหาจากศูนย์หนังสือตามหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีการจำหน่าย หรือให้สืบค้นได้ที่ ห้องสมุด มหาวิทยาลัย หรือ กรมวิทยาศาสตร์บริการ หรือ หากเป็นวิธีทดสอบตามมาตรฐาน จะเป็นห้องสมุด สมอ.ค่ะ ขอบคุณค่ะ

  4. สอบถามเกี่ยวกับการทดสอบแรงปิดของฝาพลาสติก เพื่อทดสอบแรงปิด-เปิด ของฝา

    1. แจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องแล้ว จะดำเนินการติดต่อกลับ ขอบคุณครับ

  5. สวัสดีค่ะ
    สอบถามเกี่ยวกับการวิเคราะห์ปริมาณการเติมก๊าซไนโตรเจนในบรรจุภัณฑ์ กับการยืดอายุการเก็บรักษาอาหารในเรื่องกลิ่นหืนในอาหาร

    มีวิธีการทดสอบ หรือคำแนะนำในการทดสอบเรื่องนี้อย่างไรบ้างมั๊ยค่ะ

    ขอบคุณค่ะ

    1. ได้ประสานงานกับ ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย (ศบท.) เพื่อติดต่อกันโดยตรงแล้วครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *