ห้องปฏิบัติการชีวเคมีและจุลชีววิทยา ทำหน้าที่ให้บริการทดสอบและวิเคราะห์อาหารปลอดภัยทางชีวเคมีและจุลชีววิทยา การวิเคราะห์ส่วนประกอบและคุณค่าทางโภชนาการของอาหารและผลิตภัณฑ์อาหาร อาหารใหม่ รวมทั้งให้บริการที่ปรึกษาในเรื่องต่างๆ เช่น วิธีวิเคราะห์และการจัดทำระบบบริหารงานคุณภาพห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 เป็นต้น

1) งานทดสอบและวิเคราะห์
1.1 บริการทดสอบและวิเคราะห์ทางชีวเคมี ได้แก่
– อาหารและผลิตภัณฑ์อาหาร สารอาหาร อาหารใหม่ อาหารฟังก์ชั่น
– สารในกลุ่มไฟโตนิวเทรียนท์-สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ
– ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
– ยาและสารพิษตกค้างในอาหารและผลิตภัณฑ์อาหาร
– วัตถุเจือปนและสารปนเปื้อน
– สารก่อภูมิแพ้ในอาหาร เช่น ถั่วลิสง ถั่วเปลือกแข็ง (อัลมอนด์ วอลนัท เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เฮเซลนัท) ไข่ นม ปลา ถั่วเหลือง ช้าวสาลี สัตว์ทะเลเปลือกแข็ง
– สารพันธุกรรม (GMOs)
– การปนเปื้อนดีเอ็นเอจากสัตว์
– สารอินทรีย์
– เคมี
1.2 บริการทดสอบและวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา ได้แก่
– จุลินทรีย์ทั้งหมด
– ยีสต์และรา
– โคลิฟอร์ม
– เอสเชอริเชีย โคไล
– เชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค เช่น ซัลโมเนลลา คลอสทริเดียม เปอร์ฟริงเจนส์ บาซิลลัส ซีเรียส แสตปฟิลโลคอคคัส ออเรียส ลิสทีเรีย โมโนซัยโตจิเนส
– แบคทีเรียผลิตกรดแลกติก
– โปรไบโอติกส์
– การวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาอื่นๆ ในอาหารและผลิตภัณฑ์อาหาร
– ทดสอบความทนทานต่อเชื้อราในสี, แผ่นสะท้อนแสง
– ทดสอบความทนทานต่อตะไคร่ในสี

1.3 บริการ ทดสอบและวิเคราะห์ส่วนประกอบและคุณค่าทางโภชนาการของอาหารและผลิตภัณฑ์อาหาร
เพื่อขอขึ้นทะเบียนอาหารและยาและเพื่อจัดทำฉลากโภชนาการ

2) งานบริการที่ปรึกษา
• บริการที่ปรึกษาในการจัดทำระบบบริหารงานคุณภาพห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025
บริการที่ปรึกษาด้านการทดสอบและวิเคราะห์ รวมทั้งการควบคุมคุณภาพของการทดสอบ

3) งานฝึกอบรม
• จัดฝึกอบรมทางวิชาการด้านระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025
เทคนิคการทดสอบ/วิเคราะห์ การควบคุมคุณภาพ ฯลฯ ให้กับบุคลาการทั้งภายนอกและภายใน

4) งานพัฒนาห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025
ห้องปฏิบัติการชีวเคมีและจุลชีววิทยาได้รับการรับรองความสามารถของห้องปฏิบัติการตามข้อกำหนด ISO/IEC 17025 ซึ่งได้รับการรับรองในการตรวจวิเคราะห์ ดังรายการต่อไปนี้
• การวิเคราะห์ชนิดและปริมาณของกรดไขมันในน้ำมันพืช
• การวิเคราะห์ปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (10-1000 ไมโครกรัมต่อกรัม) ในผลไม้อบแห้งและผลไม้ดอง น้ำผลไม้และเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท แป้งและแป้งดัดแปร ผลิตภัณฑ์จากอาหารทะเลและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ปีก
• การทดสอบปริมาณเถ้าในนมผง
• การทดสอบปริมาณโปรตีนในนมผง
• การทดสอบปริมาณไขมันในนมผง
• การวิเคราะห์ปริมาณของโคเลสเตอรอลในอาหารและผลิตภัณฑ์อาหาร
• การวิเคราะห์ปริมาณแลคโทสในนมและผลิตภัณฑ์นม
• การวิเคราะห์ปริมาณวิตามินเอ (all-trans-retinol) วิตามินอี (-Tocopherol) และวิตามินดี3 (Cholecalciferol) ในตัวอย่างนมและผลิตภัณฑ์นม
• การวิเคราะห์ปริมาณกรดอะมิโน (อาร์จินีน ฮีสทิดีน ลิวซีน ไลซีน เมไทโอนีน ฟีนิลอะลานีน ธรีโอนีน ธอรีน ในนมและผลิตภัณฑ์นม
• การวิเคราะห์กลูโคส ฟรุกโตส ซูโครส และปริมาณน้ำตาลทั้งหมดในเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุปิดสนิท
• การวิเคราะห์ปริมาณของสารพิษตกค้างกลุ่มออร์กาโนคลอรีน ในตัวอย่างผักและผลไม้สด โดยวิธี QuEChERS ด้วย Gas chromatography/Mass Spectrometry (GC/MS)
• การปริมาณคลอไรด์ในอาหาร
• การวิเคราะห์ปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด (Aerobic Plate Count/Bacteria)ในนมและผลิตภัณฑ์นม เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุปิดสนิท ในอาหารทารกและอาหารเสริมสำหรับทารกและในแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง
• การวิเคราะห์ปริมาณโคลิฟอร์มในอาหาร,เครื่องดื่มและน้ำดื่ม
• การวิเคราะห์ปริมาณเอสเชอริเชีย โคไล ในอาหาร น้ำดื่มและเครื่องดื่ม วัตถุเจือปนอาหาร
• การตรวจนับจำนวนยีสต์และราในอาหารและเครื่องดื่ม (Enumeration of Yeasts and Molds)
• การวิเคราะห์ปริมาณซูคราโลสในเครื่องดื่มภาชนะบรรจุปิดสนิท
• การวิเคราะห์ไขมันอิ่มตัวในนมผง
• การทดสอบความทนทานต่อเชื้อราในสีอิมัลชันใช้งานทั่วไป (มอก.272-2549)
• การทดสอบความทนทานต่อเชื้อราในสีอิมัลชันทนสภาวะอากาศ (มอก.2321-2549)
• การทดสอบความทนทานต่อเชื้อราในสีรองพื้นงานปูน (มอก.1123-2553)