
นักวิจัย วว. สามารถต่อต่อขอรับคู่มือการจัดทำรายงานวิชาการ วว.ได้แล้วตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ที่กองบริการสารสนเทศ ส่วนงานบรรณาธิการ ห้อง 1428 หรือโทร. 9100และสามารถดาวน์โหลด Template ไฟล์แม่แบบรายงานวิชาการ วว.ได้ที่ ระบบเผยแพร่เอกสาร ในระบบ Intranet วว. |
ข้อควรรู้ในการขอรับบริการ งานบรรณาธิการ กบส.
- โปรดส่งต้นฉบับเอกสาร พร้อม CD ไฟล์ดิจิทัลต้นฉบับที่สามารถแก้ไขได้มาด้วย
- กรณีขอรับบริการบรรณาธิกร หนังสือ/สิ่งพิมพ์ ที่มาแทรกระหว่างปี โปรดติดต่อขอรับบริการล่วงหน้าอย่างน้อย 1-3 เดือน ของวันที่คาดจะรับ
- งดรับงานตรวจแทรก ในช่วงระหว่างเดือน กันยายน-พฤศจิกายน ของทุกปี
- ในหนึ่งเรื่อง จะมีทีมบรรณาธิการตรวจอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป
- ในการตรวจบรรณาธิกร กบส.อาจมีการติดต่อกลับเพื่อสอบถาม ขอข้อมูลและคำอธิบายเพิ่มเติมจากผู้เขียนได้
กองบริการสารสนเทศ (กบส.) มีบทบาทในด้านการตรวจบรรณาธิกรและพิสูจน์อักษร รายงานทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์ของ วว. ให้ถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์ทางภาษาศาสตร์ของราชบัณฑิตยสถาน ศัพท์ทางวิชาการ และมาตรฐานทางวิชาการของ วว.
การเขียนรายงานทางวิชาการ วว.
- นักวิจัยสามารถตรวจสอบความหมาย คำสะกดที่ถูกต้อง และศัพท์บัญญัติทางวิชาการ ได้จากลิงก์ทางขวา ซึ่งเป็นระบบออนไลน์ของราชบัณฑิตยสถาน
- รูปภาพและเนื้อหาอ้างอิงประกอบ ที่ได้จากแหล่งภายนอก วว. ควรมีการอ้างอิงถึงแหล่งที่มาด้วย อาจแสดงอยู่ในรูปแบบเชิงอรรถ หรือระบุไว้ในบรรณานุกรมของสื่อสารสนเทศที่จัดทำ โดยใช้รูปแบบการอ้างอิงตาม คู่มือการจัดทำรายงานวิชาการของ วว.
- รูปภาพที่นำมาใช้ประกอบในสื่อสารสนเทศทางวิชาการของ วว. ควรเป็นภาพที่ถ่ายหรือสร้างขึ้นเอง หากเป็นการสแกนหรือหาภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต ต้องเป็นภาพที่เจ้าของอนุญาต หรือการนำมาใช้นั้นอยู่ในข้อยกเว้นทางกฎหมาย หรือเป็นภาพสาธารณะ (Public Domain; PD) หรือใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนต์ (Creative Commons; CC) เงื่อนไขที่ตรงกับงานที่จะจัดทำ. (แหล่งค้นคว้า)
- ใช้แบบอักษร (font) ที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือที่เจ้าของสิทธิ์ในฟอนต์นั้นอนุญาตให้ใช้ได้. ศคร.วว. แนะนำให้เลือกใช้จากชุด 13 ฟอนต์แห่งชาติ ของสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA) เช่น TH Sarabun New (แหล่งค้นคว้า)
- การคัดลอกข้อมูลที่มีลิขสิทธิ์ มาอ้างอิงใช้ในผลงาน ควรใช้ในปริมาณข้อมูลที่เหมาะสม (Fair Use) ตามที่กฎหมายอนุญาต โดยอาจศึกษาเพิ่มเติมได้จากลิ้งค์ด้านล่าง
หลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอน ที่สำคัญ
- มหัพภาค (full stop, period) (.) ใช้เพื่อแสดงว่าจบประโยคหรือจบความ
- จุลภาค (comma) (,) หรือ "จุดลูกน้ำ" ใช้
๑. แยกวลีหรืออนุประโยคเพื่อกันความเข้าใจสับสน
- เช่น นายแดงที่เดินมากับนายดำ, เป็นกำนัน.
๒. ใช้คั่นคำในรายการ ที่เขียนต่อ ๆ กัน ตั้งแต่ ๓ รายการขึ้นไป โดยเขียนคั่นแต่ละรายการ ส่วนหน้าคำ และ หรือ หรือ ที่อยู่หน้ารายการสุดท้ายไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องหมายจุลภาค
- เช่น สินค้าราคาคุม ได้แก่ ข้าวสาร, น้ำตาลทราย และน้ำมันพืช.
๓. ใช้ในการเขียนบรรณานุกรม ดรรชนี และนามานุกรม เป็นต้น
- เช่น ใช้คั่นเมื่อมีการสับที่กันของคำ
๔. ใช้คั่นจำนวนเลขนับจากหลักหน่วยไปทีละ ๓ หลัก เช่น 1,000,000
- วิภัชภาค (:-) ใช้หลังคำ "ดังนี้" หรือ "ดังต่อไปนี้" เพื่อแจกแจงรายการ โดยขึ้นบรรทัดใหม่
- เช่น การสัมมนาครั้งนี้มีผู้แทนจากฝ่ายต่าง ๆ เข้าร่วมประชุมดังต่อไปนี้ :
- ฝ่ายเทคโนโลยีพลังงาน
ฝ่ายเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร
ฝ่ายเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
|
การตรวจทานงานเขียน
คำที่มักใช้ผิดคำที่ถูกต้องตามราชบัณฑิตยสภา คือ
- คลินิก
- คำนวณ
- แคระแกร็น
- โควตา
- จลนศาสตร์
- เซนติเมตร
- เซลล์
- ดิจิทัล
- นวัตกรรม
- น้ำมันก๊าด
- นิเวศวิทยา
- บุคลากร
- เบนซิน
- ปฏิกิริยา
- เปอร์เซ็นต์
| - ฟังก์ชัน
- ฟิล์ม
- มาตรฐาน
- รสชาติ
- ลายเซ็น
- ลูกบาศก์
- สังเกต
- สัณฐาน
- สันนิษฐาน
- สำอาง
- สุญญากาศ
- หลงใหล
- อะไหล่
- อินฟราเรด
- ไอศกรีม
|
|