การจัดการความรู้ในองค์กร วว. และการบริการสารสนเทศ ที่ดำเนินการโดย ศูนย์ความรู้ วว. ปัจจุบันมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและฐานข้อมูล ที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการ ดังนี้
| |
เผยแพร่ภายนอกองค์กร |
KM Website | เว็บไซต์นำร่อง KM เว็บไซต์นำร่องในการรวบรวมข้อมูล ประวัติ และกิจกรรมการเริ่มดำเนินงานด้าน KM ของ วว. |
TISTR BLOG | เว็บบล็อก ภายนอก ชุมชนแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สู่สังคม เป็นเวทีเปิดสำหรับพนักงาน วว.ในการเผยแพร่บทความ สาระความรู้ ให้กับประชาชน บุคคลภายนอก |
เฉพาะบุคลากรภายในองค์กร |
KM IRDB | ระบบการจัดการคลังความรู้ภายใน วว. เป็นระบบสำหรับใช้จัดเก็บ "รายงานการจัดการความรู้" (KM Reports) ของแต่ละหน่วยงาน ลงเป็นรายการบรรณานุกรม พร้อมการดาวน์โหลด full-text files |
KM Intra | เว็บบล็อก ภายใน ชุมชนแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สำหรับพนักงาน วว.ในการเผยแพร่บทความ สาระความรู้แก่กันภายในหน่วยงาน |
Digital Archive | คลังไฟล์ดิจิทัล ศคร. แหล่งเก็บไฟล์ดิจิทัล โดย ศูนย์ความรู้ วว. อาทิ คลิปรายการเสียงตามสาย, คลิปเสียง ผวว.พบพนักงาน, ไฟล์นำเสนอ ไฟล์มัลติมีเดีย ต่างๆ สำหรับเผยแพร่ภายใน |
| |
KM IRDB : ระบบการจัดการคลังความรู้ภายในองค์กร วว.(TISTR KM•IRDB : Knowledge Management • Institutional Repository Database)
ศูนย์ความรู้ วว. ได้นำระบบ CMS (Content Management System) มาติดตั้งเสริมโมดูลทางด้าน Bibliography จัดทำเป็นระบบ IR (Institutional Repository) สำหรับรวบรวม จัดเก็บและบันทึกรายการของตัวเล่ม รายงานการจัดความรู้ภายในองค์กร (KM Reports) ขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกในการเป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้จากการปฏิบัติงาน ที่จัดทำขึ้นในแต่ละหน่วยงานของ วว. อย่างเป็นรนะบบ โดยสามารถเข้าถึงออนไลนได้เฉพาะจากเครือข่ายคอมพิวเตอรภายใน วว. สำหรับบุคลากร วว.เท่านั้น
โดยระบบ TISTR KM•IRDB รองรับกับมาตรฐานการเชื่อมข้อมูล OAI-PMH ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาระบบ IR ที่แนะนำโดย TNRR (Thai National Research Repository; คลังข้อมูลงานวิจัยไทย) ซึ่งในเบื้องต้นจะเป็นการทดสอบใช้รวบรวมเฉพาะกับรายงานการจัดการความรู้ วว.เพียงหมวดเดียวก่อน

หน้าหลักแสดงรายการรายงานการจัดการความรู้ ที่ห้องสมุด ศูนย์ความรู้ ได้รับตัวเล่มมาจัดเก็บ จัดเรียงตามปีที่ดำเนินการ
 |
ค้นตาม ชื่อหน่วยงาน
นอกจากการเรียงตามปีที่จัดทำ KM แล้ว ระบบยังสามารถรวบรวมจัดหมวดตามชื่อหน่วยงาน กลุ่ม / ฝ่าย / ศูนย์ / สำนัก / กอง / หป. ที่จัดทำ ให้โดยอัตโนมัติ จึงสามารถทราบได้ทันทีว่าหน่วยงานนั้นๆทำ KM มาแล้วกี่เรื่อง |
 |
ค้นตาม คำสำคัญ (Keywords)
แต่ละเล่มรายงาน บรรณารักษ์จะทำการลงรายการบรรณานุกรม และให้คำสำคัญของเรื่องนั้นๆไว้ โดยระบบจะรวบรวมจำนวนคำสำคัญที่ตรงกันให้โดยอัตโนมัติ |
 |
หน้าแสดงรายละเอียด
แสดงบรรณานุกรมและรายละเอียดของ รายงานการจัดการความรู้ อาทิ หน่วยงานที่จัดทำ, ประเภทของ KM ที่จัดทำ (Core หรือ Functional), ปีที่จัดทำ, จำนวนหน้า, พร้อมลิงค์สำหรับดาวน์โหลด (Download URL) ถ้ามีการนำส่งไฟล์ดิจิทัลมายัง ศคร. และตรงตามเงื่อนไขการนำเข้าระบบออนไลน์ |
|
ประวัติการทำ KM วว.
เข้าสู่ระบบคลังความรู้ KMIRDB
การดาวน์โหลดรายงาน
 | |  | | KM Reports
รายงานการจัดการความรู้ี
© Copyright by TISTR
พนักงาน วว.สามารถดาวน์โหลดได้ ในหน้าบรรณานุกรมของรายการนั้น ที่มีลิงค์ Download URL ปรากฎ ซึ่งไฟล์ที่ได้จะอยู่ในรูปแบบของ ZIP file ที่เข้ารหัสไว้ สามารถขอรับรหัสผ่านได้ที่ ศคร.
KM reports ที่เปิดให้ดาวน์โหลดนี้ จะไม่รวมถึงไฟล์ที่เป็นการบันทึกวิดีโอ
| |  | |  |
สืบค้นสารสนเทศในห้องสมุด วว.
|