เกี่ยวกับเรา :: About DIO@TISTR
|
language  ประวัติความเป็นมา สทส.
เดิมก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2504 โดยสภาวิจัยแห่งชาติ ตามแผนโครงการพัฒนาการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในชื่อ ศูนย์บริการเอกสารการวิจัยแห่งประเทศไทย (ศบอ.) : Thai National Documentation Centre (TNDC) ซึ่งได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก UNESCO ต่อมาในปี พ.ศ.2507 สภาวิจัยแห่งชาติ ได้โอนการดำเนินงานของ ศบอ. มาเป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงกับ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ปี พ.ศ.2551 วว. มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร และให้เปลี่ยนชื่อ ศบอ. มาเป็น ศูนย์ความรู้ (ศคร.) : Knowledge Centre (KLC) โดยมี 3 หน่วยงานภายใน ได้แก่ 1) กองบริการสารสนเทศ 2) กองจัดการความรู้ 3) กองเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมการดำเนินงานในชื่อ ศบอ. มายาวนานถึง 47 ปี (2504-2551)
จนถึงมกราคม พ.ศ. 2560 มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรอีกครั้ง โดยเปลี่ยนชื่อ ศูนย์ความรู้ มาเป็น สำนักดิจิทัลและสารสนเทศ (สทส.) : Digital and Information Office (DIO) และปรับโครงสร้างเหลือเพียง 2 หน่วยงาน คือ 1) กองพัฒนาระบบดิจิทัล และ 2) กองพัฒนาและจัดการความรู้องค์กร ในปัจจุบัน
สทส. นำระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Library) มาใช้ในงานบริการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกับระบบงานสำคัญๆ ได้แก่ งานวิเคราะห์หมวดหมู่และจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ตามหลักมาตรฐานสากล จัดทำบรรณานุกรม งานยืม-คืน ระบบสืบค้นข้อมูลออนไลน์บนอินเทอร์เน็ต ฯลฯ
สทส.ได้รับการรับรองคุณภาพ ISO9001 จากบริษัท BV ในงานบริการห้องสมุด และงานจัดพิมพ์รายงานวิชาการ ซึ่งเป็นการรับรองการดำเนินงานที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และได้มาตรฐานตามความต้องการของผู้ใช้บริการ
บทบาทของ สทส.
เป็นหน่วยงานให้การสนับสนุนพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และบริการสารสนเทศด้วยข้อมูลที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ รวมทั้งการออกแบบระบบสนับสนุนการดาเนินงานด้วยดิจิทัล
หน่วยงานในสังกัด
กองพัฒนาระบบดิจิทัลDigital System Division
- จัดทาแผนปฏิบัติการดิจิทัลให้สอดคล้องกับแผนแม่บทดิจิทัลของประเทศ เพื่อจัดทาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และโครงสร้างพื้นฐานในการสนับสนุนการดาเนินงานของหน่วยงานต่างๆในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ
- บริการ ออกแบบ พัฒนา ระบบดิจิทัลและสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการดาเนินการภายในองค์กร
- จัดหาฮาร์ดแวร์ ติดตั้งซอฟแวร์รวมทั้งการให้คาปรึกษาด้านการใช้ระบบดิจิทัลสนับสนุนการดาเนินงานขององค์กร
- พัฒนาบุคลากรให้มีทักษะในการใช้ระบบดิจิทัล
- ควบคุม ปรับปรุง และดูแลบารุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์ ระบบสารสนเทศ ระบบฐานข้อมูล และระบบเครือข่ายสื่อสาร
- ดาเนินการพัฒนาระบบโครงข่ายเชื่อมโยง ระบบเครือข่ายสื่อสารขององค์กรให้เกิดความรวดเร็วและทันสมัย
- ดาเนินการพัฒนา และดูแลรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบดิจิทัลและสารสนเทศขององค์กร
กองพัฒนาและจัดการความรู้องค์กร
Organizational Knowledge Management and Development Division
- สนับสนุนความร่วมมือระหว่างหน่วยงานบริการสารสนเทศ ภายใต้เครือข่ายห้องสมุดเฉพาะทางต่างๆ ในนามของ วว. เพื่อเชื่อมโยง แบ่งปันและเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศร่วมกัน ในระดับชาติ
- จัดทาและให้บริการข้อมูลสารสนเทศ ข่าวสารทันสมัย เผยแพร่ผ่านช่องทางสื่อสมัยใหม่ต่างๆ เช่น Website Social media Weblog e-Newsletter e-Commerce เป็นต้น
- ให้บริการบรรณาธิกร (editing) ในการตรวจรายงานการวิจัยและสื่อสิ่งพิมพ์วิชาการของ วว. ให้ถูกต้องได้คุณภาพตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานทางวิชาการ ตรวจสอบการลักลอบทางวิชาการ (Plagiarism) เพื่อป้องกันความเสี่ยงอาจเกิดผลกระทบต่อชื่อเสียงของ วว. จากการละเมิดงานวิชาการของผู้อื่น
- จัดการความรู้ขององค์กรให้พร้อมใช้ประโยชน์ในรูปแบบสื่อดิจิทัล
- สร้างบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วทั้งองค์กรและสร้างนวัตกรรมในองค์กร
- ผลิตสื่อความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการเผยแพร่ความรู้สู่บุคคลภายนอก
|