เรียบเรียงโดย :สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
ลักษณะ :

ลำตัวยาว 32 ซม. ตัวเพรียวมีขนสีดำมันตลอดทั้งตัว มีขนหงอนเป็นกระจุกสีดำ หางยาวปลายหางแฉกเล็กน้อย มีแกนขนหางเส้นเล็ก ๆ 2 เส้น ยื่นยาวออกไป ตรงปลายแกนหางมีขนเป็นแผงยื่นออกมาเพียงด้านเดียว นกวัยอ่อนมีหงอนสั้นและไม่มีแกนหางยื่นยาวออกมา

เขตแพร่กระจาย :

อินเดีย จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกาะไหหลำ หมู่เกาะซุนดา ในประเทศไทย พบได้ทั่วประเทศ

ที่อยู่อาศัย :

ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ป่าไผ่ จากพื้นราบถึงระดับความสูง 1,700 เมตร

อุปนิสัย :

ชอบเกาะอยู่บนต้นไม้สูงเด่น เพื่อมองหาเหยื่อ บางครั้ง ลงมาหากินตามไม้พุ่ม กินแมลง และสัตว์ขนาดเล็ก ผสมพันธุ์ระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน วางไข่ครั้งละ 3-4 ฟอง

สถานภาพ :

นกประจำถิ่น ที่พบได้บ่อย ที่สะแกราชพบมากในฤดูฝน

Characteristics :

Size 32 cm. Body slim covered with glossy black plumage; a distinctive tuft of erect feathers present at bill base; tail long, slightly forked apically, with a pair of long shafts with only one side of vane at the tip. Immature has short crest and lacking long shafts.

Distribution :

India, China, SE Asia, Hainan, the Greater Sundas. Found throughout Thailand.

Habitat :

Dipterocarp forest, dry evergreen forest, bamboo forest, from the lowland up to the elevation of 1,700 m.

Habit :

Usually observed perching at exposed spots to keep its eyes on passing preys. Sometimes descending to forage among the shrubbery for insects and small animals. The breeding time is from March-June; when it lays a clutch of 3-4 eggs

Status :

Ubiquitous resident. At Sakaerat this bird is remarkably common in the rainy season.