สิทธิบัตร (Patent) หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention) การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) หรือผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ (Utility Model) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด โดยสิทธินี้เจ้าของมีสิทธิเด็ดขาดหรือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการแสวงหาประโยชน์ทั้งจากการผลิตหรือจำหน่ายการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธินั้นและจะมีสิทธิอยู่เพียงช่วงระยะเวลาที่จำกัดช่วงหนึ่งเท่านั้น

ซึ่งความหมายของการประดิษฐ์ และ การออกแบบผลิตภัณฑ์ มีดังนี้

  • การประดิษฐ์ (Invention) คือ ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับลักษณะ องค์ประกอบ โครงสร้างหรือกลไกของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิต การรักษา หรือปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้นหรือทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ ขึ้นใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม
  • การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ ที่แตกต่างไปจากเดิม

ผลงานหรือสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถยื่นขอรับความคุ้มครองได้จะต้องมีลักษณะดังนี้

  • เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่
  • เป็นการประดิษฐ์มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น
  • เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม เกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรือหัตถกรรมได้

การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สามารถยื่นขอรับความคุ้มครองได้จะต้องมีลักษณะดังนี้

  • เป็นการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรมหรือหัตถกรรม คือ เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่มีใช้แพร่หลายในประเทศ ซึ่งรวมถึงการขายด้วยหรือยังไม่่เคยเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ ก่อนวันขอรับสิทธิบัตร หรือไม่คล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้ว

สิ่งที่จดสิทธิบัตรไม่ได้ ได้แก่

  • จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มี ตามธรรมชาติ สัตว์ พืช หรือสารสกัดที่ได้จากสัตว์และพืช ซึ่งถือเป็นการค้นพบเท่านั้น แต่ในกรณีที่นำไปผสมกับสารหรือส่วนประกอบอื่นสามารถที่จะขอจดสิทธิบัตรได้
  • กฎเกณฑ์และทฤษฏีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
  • ระบบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์
  • วิธีการวินิจฉัย บำบัด หรือรักษาโรคมนุษย์หรือสัตว์
  • การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี อนามัยหรือสวัสดิภาพของประชาชน
  • การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่
  • การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
  • การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่กำหนดโดยพระราชกฏษฏีกา (ยังไม่มีกำหนด)

อนุสิทธิบัตร (Petty patent) คือ หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์

ความแตกต่างระหว่าง สิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตร

  • อนุสิทธิบัตรและสิทธิบัตรการประดิษฐ์ต่างก็ มีขอบเขตให้ความคุ้มครองการประดิษฐ์เช่นเดียวกันแต่อนุสิทธิบัตรเป็นการประดิษฐ์ที่มีเทคนิคที่ไม่สูงมากนัก อาจจะเป็นการปรับปรุงเพียงเล็กน้อย  ส่วนสิทธิบัตรการประดิษฐ์จะต้องมีการแก้ไขปัญหาทางเทคนิคของสิ่งที่มีมาก่อนหรือที่เรียก ว่ามีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น
  • ขั้นตอนการขอรับอนุสิทธิบัตรจะใช้ระยะเวลาสั้นกว่าสิทธิบัตรการประดิษฐ์มาก เนื่องจากใช้ระบบจดทะเบียนแทนการใช้ระบบที่ต้องมีการตรวจสอบก่อนการรับจดทะเบียน
  • ผู้ประดิษฐ์คิดค้นสามารถที่จะเลือกว่าจะยื่นขอความคุ้มครองสิทธิบัตร หรือ อนุสิทธิบัตรอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่จะขอความคุ้มครองทั้งสองอย่างพร้อมกันไม่ได้

ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้นโดยการแสดงออกตามประเภทงานลิขสิทธิ์ต่าง ๆ ถือเป็นผลงานที่เกิดจากการใช้สติปัญญา ความรู้ ความสามารถและความวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์งานให้เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าเป็น “ ทรัพย์สินทางปัญญา ” ประเภทหนึ่งที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ดังนั้น เจ้าของผลงานทางลิขสิทธิ์จึงควรได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย รวมทั้งเป็นทรัพย์สินประเภทที่สามารถ ซื้อ ขาย ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกโฆษณา หรือโอนสิทธิกันได้ ทั้งทางมรดก หรือโดยวิธีอื่น ๆ การโอนสิทธิ์ควรที่จะทำเป็นลายลักษณ์อักษร หรือทำเป็นสัญญาให้ชัดเจน จะโอนสิทธิทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนก็ได้

งานสร้างสรรค์ที่มีลิขสิทธิ์ ประกอบด้วยประเภทงานต่าง ๆ ดังนี้