เอกสารการแถลงข่าวเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 4/2552 ทั้งปี 2552 และแนวโน้มปี 2553

1. Economic Outlook : ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่ ทั้งปี 2552 และแนวโน้มปี 2553 [ภาษาไทย] [ภาษาอังกฤษ]

2. การประมวลผลสถิติผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไตรมาส 4/2552 [ภาษาไทย] [ภาษาอังกฤษ]

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

เว็บไซต์ : www.nesdb.go.th

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2553

เนื่องจากชีวิตประจำวันถ้าไม่ประชุม ไม่ขับรถเดินทาง ก็มักจะนั่งอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์เสมอ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาช่องทางในการติดต่อสื่อสารที่สามารถติดต่อได้สะดวกทุกที่ทุกเวลา และสามารถสื่อสารได้พร้อม ๆ กันหลายคน ก่อนหน้านี้นิยมใช้งานเอ็มเอสเอ็น (MSN Messenger) หรือ ไลฟ์แมสเซนเจอร์ (Windows Live Messenger) เป็นอันมาก จนกระทั่งช่วงปีที่แล้วประสบปัญหาไม่สามารถใช้งานได้ทุกที่อันเป็นผลมาจากระบบเครือข่ายสื่อสาร (Network) ทำให้ต้องหาทางติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายด้วยสื่ออื่น ๆ ครั้นจะไปใช้สไคพ์ (Skype) หรือไอซีคิว (ICQ) ก็ติดตรงที่เพื่อนฝูงไม่นิยมใช้ ประกอบกับกระแสของการใช้ทวิตเตอร์ (Twitter) และเฟสบุค (Facebook) ที่มาแรง ทำให้ผู้เขียนเปลี่ยนวิธีการติดต่อสื่อสารหันไปใช้ทวิตเตอร์ (Twitter) และเฟสบุค (Facebook) แทน

สำหรับ สไคฟ์ นั้นเป็น โปรแกรมที่มีลักษณะการใช้งานเหมือนเอ็มเอสเอ็น และเด่นในเรื่องการใช้เว็บคอนเฟอเรนซ์ (Web Conference) เนื่องจากกินทรัพยากรเครื่อง (resource) น้อย

ทวิตเตอร์  มีลักษณะการทำงานเหมือนการส่งเอสเอ็มเอส (SMS) ออนไลน์ เราสามารถพิมพ์ข้อความ แนบรูปภาพ หรือ แนบ URL ที่เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ต่าง ๆ ให้คนที่เราให้สิทธิในการเข้าถึงได้รับรู้ รวมทั้งเปิดโอกาสให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ร่วมกับเรา ซึ่งในแต่ละครั้งจะสามารถพิมพ์ข้อความได้ความยาวไม่เกิน 140 ตัวอักษร

ส่วน เฟสบุค นั้น จะมีลักษณะการทำงานเหมือนกับพวกไฮไฟว์ (Hi5) หรือ มายสเปซ (mySpace) เพียงแต่หน้าตาสะอาดสะอ้าน และเด่นในเรื่องของแอพพลิเคชั่นและเกมส์ออนไลน์ ซึ่งถือว่าเป็นกลยุทธ์สำคัญที่สร้างความเติบโตอย่างรวดเร็วของสังคมเครือข่ายเฟสบุค นั่นคือ ยิ่งเพื่อนมาก ก็ยิ่งทำให้ระดับในการเล่นเกมส์สูงขึ้น ได้เงินและสิ่งของที่ใช้ในเกมส์เพิ่มขึ้น

ซึ่งหลังจากลองเล่นได้สักพัก ก็ประสบปัญหาความไม่สะดวกในการใช้ทวิตเตอร์และเฟสบุคผ่านทางหน้าเว็บ ก็ได้คำแนะนำจากกูรูต่าง ๆ ผ่านทวิตเตอร์ ให้ลองใช้โปรแกรมหรือเครื่องมือช่วยอื่น ๆ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งาน ซึ่งหลังจากการทดสอบการใช้งานสามารถสรุปจุดเด่นและจุดด้อยได้ดังนี้

เครื่องมือ

จุดเด่น

จุดด้อย

Tweetdeck

http://www.tweetdeck.com/

สะดวกในการใช้งานและเรียกดูข้อมูล เพราะแสดงผลในลักษณะของคอลัมน์ ทำให้สามารถเรียกดูและปรับปรุงข้อมูลจากทวิตเตอร์ เฟสบุค และมายสเปซ ได้ในเวลาเดียวกัน รองรับการ Retweet การปรับแต่งแก้ไขข้อมูลเวลา Retweet และการเรียกดู DM (Direct Message) และ List ของทวิตเตอร์ ใช้ทรัพยากรในการประมวลผลเยอะ เพราะต้องเปิดหน้าต่างเต็มหน้าจอ
Twhirl

http://www.twhirl.org/

สามารถเปิดใช้งานทวิตเตอร์ได้พร้อม ๆ กันหลายบัญชีรายชื่อ โดยแต่ละรายชื่อจะแสดงผลในลักษณะหน้าต่างเล็ก ๆ แยกจากกัน ไม่รองรับการเรียกดู  List ของทวิตเตอร์
Echofon

http://echofon.com/(ทำงานบนเว็บเบราว์เซอร์ไฟร์ฟอกซ์ (Firefox))

สามารถเรียกดูและปรับปรุงข้อมูลจากทวิตเตอร์ ได้หลายบัญชีรายชื่อ แต่ทำงานในลักษณะสลับไปมา ไม่รองรับการ Retweet และการเรียกดู DM (Direct Message) และ List ของทวิตเตอร์
Yoono

http://yoono.com/(ทำงานบนเว็บเบราว์เซอร์ไฟร์ฟอกซ์ (Firefox))

สามารถเรียกดูและปรับปรุงข้อมูลจากทวิตเตอร์ เฟสบุค มายสเปซ เอ็มเอสเอ็น และอื่น ๆ ได้ในเวลาเดียวกัน รองรับการ Retweet และการเรียกดู DM (Direct Message) และ List ของทวิตเตอร์ การทำงานจะช้ากว่าการทำงานโดยใช้โปรแกรม Echofon ไม่รองรับการใช้งานหลายบัญชีรายชื่อ และไม่รองรับการปรับแต่งแก้ไขข้อมูลเวลา Retweet

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้ใช้ต้องตระหนักถึงในการใช้พวกเครือข่ายสังคม (Social Network) ก็คือ สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลนั้น หากเราไม่กำหนดให้เป็นส่วนตัว หรือ private แล้ว ทุกคนจากทุกมุมโลกที่เข้าใจภาษาที่เราพิมพ์จะสามารถเห็น รับทราบ และนำข้อมูลของเราที่ได้เผยแพร่ออกไปนั้น ไปใช้หรืออ้างอิงได้ตามความต้องการของเขาได้โดยที่เราไม่รู้ตัว

ได้มีโอกาสเข้าร่วมฟังการบรรยายพิเศษเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการจัดทำนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระดับประเทศกรณีศึกษาของประเทศญี่ปุ่น : i-Japan Strategy 2015 ที่จัดโดย NECTEC ACADEMY เมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2552 ซึ่งได้เชิญ Prof. Toshio Obi ผู้เชี่ยวชาญจาก Waseda University ประเทศญี่ปุ่น อดีตประธานในการจัดทำนโยบาย i-Japan Strategy 2015 มาให้ความรู้และประสบการณ์ในการจัดทำนโยบายด้าน ICT ทำให้เราสามารถเห็นแนวทาง วิธีการ และกระบวนการในการจัดทำนโยบายด้าน ICT จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถือว่าเป็นประเทศหนึ่งที่มีการพัฒนา ICT อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง

เราได้พบว่าในมุมมองของประเทศญี่ปุ่น หากมองงานที่เกี่ยวกับบริหารจัดการแล้ว เขาได้ให้ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ในส่วนต่าง ๆ ดังนี้

  • E-Gov : Electronic Government (การบริหารจัดการภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์)
  • U-Gov : Ubiquitous Government (การบริหารจัดการภาครัฐที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง)
  • M-Gov : Mobile Government (การบริหารจัดการภาครัฐผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่)
  • TV-Gov : TV Government (การบริหารจัดการภาครัฐผ่านสื่อโทรทัศน์)
  • Gov.20 : Government 2.0 (การบริหารจัดการภาครัฐโดยใช้เทคโนโลยี Web 2.0 นั่นคือ สามารถสื่อสารโต้ตอบ 2 ทาง)
  • Smart Gov : Smart Government (การบริหารจัดการภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ชาญฉลาด)
  • i-Gov : Innovation + Inclusion Government (การบริหารจัดการภาครัฐเพื่อเกิดนวัตกรรมและการผนวกรวมไว้ด้วยกัน)

รวมทั้งมีการตระหนักถึงรูปแบบการจัดการองค์กรสมัยใหม่ที่มีการนำ ICT มาประยุกต์ใช้เพื่อตอบสนองสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้

  • ความต้องการของประชาชนเป็นศูนย์กลาง
  • ความสามารถในการเป็นผู้นำ
  • ความร่วมมือและเครือข่ายความร่วมมือ
  • การเตรียมพร้อมเพื่อมุ่งไปสู่การเปลี่ยนแปลง
  • การมุ่งไปสู่ผลสัมฤทธิ์
  • การบริหารจัดการที่ไม่อิงรูปแบบของหน่วยงาน
  • กระจายอำนาจจากจุดศูนย์กลาง
  • การขับเคลื่อนโดยรายได้มากกว่างบประมาณ
  • การแข่งขัน

เนื่องจากผู้บริหารถือว่าเป็นกุญแจสำคัญที่จะผลักดันและสนับสนุนให้การพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประสบผลสำเร็จ เขาจึงได้มอง สมรรถนะหลัก หรือ Core Competences สำหรับ ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง หรือ Chief Information Officer (CIO) ไว้ว่าต้องสามารถมองภาพรวมของงานต่อไปนี้เพื่อนำมาบูรณาการและจัดทำยุทธศาสตร์ด้าน ICT ให้สอดคล้องและสนับสนุน

  • ในมุมมองของ CFO : Cheif Financial Officer ด้าน
  1. Procurement Management (การบริหารการจัดซื้อจัดจ้าง)
  2. System Architecture (สถาปัตยกรรมระบบ)
  3. IT Investment (การลงทุนด้าน IT)
  • ในมุมมองของ CTO : Cheif Technology Officer ด้าน
  1. Management Strategy (การบริหารกลยุทธ์)
  2. Intellectual Property (ทรัพย์สินทางปัญญา)
  3. MOT/R&D (วิจัยและพัฒนา)
  • ในมุมมองของ CKO : Cheif Knowledge Officer ด้าน
  1. Policy (นโยบาย)
  2. Decision-making process (กระบวนการตัดสินใจ)
  3. Knowledge Management (การบริหารจัดการความรู้)
  • ในมุมมองของ CRO : Cheif Risk Officer ด้าน
  1. Project Management (การบริหารจัดการโครงการ)
  2. Risk Management (การบริหารจัดการความเสี่ยง)

ด้วยเหตุนี้จึงนำมาซึ่งยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ชื่อว่า i-Japan Strategy 2015 (2010-2015)

Striving to Create a Citizen-Driven, Reassuring & Vibrant Digital Society ( I = Innovation + Inclusion )

มุ่งไปสู่การสร้างสังคมดิจิตอลแห่งความเชื่อมั่น มีชีวิตชีวา และขับเคลื่อนสังคม เพื่อให้เกิดนวัตกรรมและการผนวกรวม เชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกัน

หากเรามาพิจารณาดู i-Japan Strategy 2015 จะเห็นว่าญี่ปุ่นได้ให้ความสำคัญในประเด็นต่อไปนี้

  • การสร้างสังคมที่เทคโนโลยีดิจิตอลเปรียบเสมือนปัจจัยในการดำรงชีวิตที่แทรกซึมเป็นเนื้อเดียวกับเศรษฐกิจและสังคม นั่นคือ คุ้นเคยในการใช้งาน ง่ายในการใช้งาน มีความมั่นคงเชื่อถือได้ ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวาง และขาดไม่ได้ เหมือนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน โดยเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้นและเชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกัน
  • การนำเทคโนโลยีดิจิตอลและสารสนเทศไปสนับสนุนการเกิดนวัตกรรมดิจิตอลและการสร้างมูลค่าใหม่ ๆ ให้กับเศรษฐกิจและสังคม
  • สร้างโครงสร้างที่รองรับการบริหารจัดการภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ชาญฉลาด
  • นำเทคโนโลยีดิจิตอลมารองรับและสนับสนุนการดำเนินงานด้านการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนให้มีข้อมูลที่ถูกต้อง มีการดำเนินงานดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง สะดวก รวดเร็ว  ทั่วถึง และเสมอภาค ครอบคลุมทั้งในเมืองและชนบท
  • กระตุ้นการนำเทคโนโลยีดิจิตอลไปใช้ในห้องเรียน สร้างความปรารถนาในการเรียนรู้ ความสามารถด้านวิชาการ และความสามารถในการใช้สารสนเทศ รวมทั้งพัฒนาทักษะด้านดิจิตอลของทรัพยากรมนุษย์อย่างมั่นคงและต่อเนื่อง
  • นำเทคโนโลยีดิจิตอลมาเปลี่ยนโครงสร้างเพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมและชุมชนท้องถิ่น และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับนานาชาติ
  • สนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสะอาด (Green IT และ ITS)
  • สร้างตลาดใหม่ที่เต็มไปด้วยการสร้างสรรค์ และเพิ่มจำนวนพนักงานที่ทำงานทางไกลนอกสถานที่ทำงาน
  • พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิตอล

ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่าวิสัยทัศน์ในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของญี่ปุ่นและไทยจะมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน เพียงแต่ว่าการก้าวย่างของไทยจะเชื่องช้ากว่า และมุ่งการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT เพื่อสร้างรายได้ให้กับเศรษฐกิจประเทศ ในขณะที่ญี่ปุ่นได้ก้าวผ่านและมองการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยเน้นไปที่ความต้องการและความจำเป็นของผู้ใช้หรือประชาชนเป็นหลัก

ที่มา :

  • Prof. Dr. Toshio Obi, “Japanese Lessons on formulating national ICT Strategies”, NECTEC-IAC Thailand Forum, November 30, 2009.

ที่มา :  บทบาทของวัสดุก่อสร้างกับการประหยัดพลังงาน โดย ดร.บริสุทธิ์  จันทรวงศ์ไพศาล

จากกระแสตื่นตัวภาวะโลกร้อน และ การออกกฎกระทรวงเกี่ยวกับ ข้อกำหนด การใช้พลังงานในอาคารที่จะขออนุญาตก่อสร้างใหม่ เพื่อควบคุมค่าการถ่ายเทพลังงานความร้อนเข้าสู่ตัวอาคาร ทำให้วัสดุประหยัดพลังงานมีแนวโน้นสูงต่อความต้องการในตลาดวัสดุก่อสร้าง

อีกทั้งด้วยสภาพอากาศที่ร้อนจัดตลอดทั้งปีในประเทศไทย ทำให้แนวโน้มของวัสดุประหยัดพลังงานในประเทศไทยมาแรง เจ้าของบ้านส่วนใหญ่ได้ให้ความสำคัญต่ออุณหภูมิภายในบ้านที่ส่งผลโดยตรงต่อความรู้สึกสบายของผู้ที่อาศัยอยู่ภายในบ้าน ทำให้ผู้ออกแบบบ้านต้องหาวิธีการออกแบบให้ความร้อนเข้าในบ้านน้อยที่สุดเท่าความจำเป็นที่ต้องใช้ แต่ทว่าบางส่วนของบ้านไม่อาจหลีกเลี่ยงการสัมผัสความร้อนโดยตรง เช่น หลังคาบ้าน และผนังด้านทิศตะวันออกและตก จึงจำเป็นต้องใช้วัสดุชนิดประหยัดพลังงาน เช่น วัสดุจำพวกแผ่นเส้นใยซีเมนต์ อิฐมวลเบา แผ่นอลูมิเนียม หรือ สีทาบ้านชนิดสะท้อนแสง ซึ่งจะได้รับความนิยมมากขึ้น

วว. ได้เห็นความสำคัญของการใช้วัสดุก่อสร้างประหยัดพลังงานเพื่อลดหรือหน่วงการถ่ายเทความร้อนเข้าในบ้าน ซึ่งจะมีบทบาทมากขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคต จึงได้วิจัยพัฒนาเทคโนโลยี แผ่นเส้นใยซีเมนต์ ขึ้น

แผ่นเส้นใยซีเมนต์ คือ แผ่นวัสดุที่ทำมาจากเส้นใยจากธรรมชาติผสมกับซีเมนต์  แล้วขึ้นรูปเป็นแผ่นผนังและแผ่นหลังคา  เนื่องจากเส้นจากธรรมชาติมีค่าการนำความร้อนต่ำ ดังนั้นเมื่อนำมาทำเป็นส่วนผสมในวัสดุก่อสร้างจึงมีคุณสมบัติต้านทานความร้อนเพื่อป้องกันไม่ให้ความร้อนส่งผ่านเข้าในบ้าน  นอกจากนี้เส้นใยธรรมชาติยังมีค่าแรงดึงเพียงพอต่อการเสริมแรงจึงทำให้แผ่น วัสดุก่อสร้างที่ทำมาจากเส้นใยธรรมชาติทนต่อแรงดัด  และไม่เปราะ

ด้วยเทคโนโลยีดังกล่าว จึงสามารถสร้างผนังเส้นใยซีเมนต์ และหลังคาแผ่นเส้นใยซีเมนต์ ซึ่งมีค่าการนำความร้อนต่ำ จึงทำหน้าที่เหมือนเป็นฉนวนกันความร้อน ป้องกันและหน่วงความร้อนให้ผ่านเข้าในบ้านได้น้อยลงเมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุที่ใช้ทั่วไปในท้องตลาด แต่ในขณะเดียวกันคุณสมบัติทางกลและทางกายภาพก็ยังอยู่ในมาตรฐานเส้นใยซีเมนต์แผ่นเรียบ เพื่อใช้กับงานก่อสร้างผนัง และหลังคา