สะแกราช..แหล่งเพาะพันธุ์พืชและสัตว
กำไรจากธรรมชาติ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตชุมชน

“การส่งเสรมให้มีการปลูกพืชพันธุ์ท้องถิ่น รอบๆ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชคิดว่าประชาชนจะได้ประโยชน์ และป่าจะได้อยู่กับคนอย่างยั่งยืนป่าคงไม่ใช่
ของฟรีอีกต่อไปเราต้องช่วยกันอนุรักษ์เพื่อให้คงไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์และเป็นแหล่งแม่พันธุ์ ทั้งพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ เพื่อประโยชน์แก่มนุษยชาติต่อไป”

























….ทักษิณ อาชวาคม หัวหน้าสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชกล่าวถึงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นในการส่งเสริมชุมชนโดยรอบสถานีวิจัยฯ ในการปลูกพืชท้องถิ่นกินได้เพื่อการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและส่งเสริมอาชีพให้กับพี่น้องประชาชนพื้นที่ป่าของสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช
ได้รับการยกย่องเป็น แหล่งสงวนชีวมณฑลแห่งหนึ่งของโลก จากองค์การ UNESCO รวมทั้งเป็นสถานที่เพื่อการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยา
ป่าเขตร้อน (ป่าดงดิบแล้ง/ป่าเต็งรัง) ที่สมบูรณ์แบบแก่นิสิตปริญญาตรี โท เอก ทั้งไทยและต่างประเทศ และยังเป็นห้องปฏิบัติการธรรมชาติแก่ผู้สนใจ
และเยาวชนมาอย่างต่อเนื่อง เป็นสถานที่ที่เหมาะแก่การศึกษาธรรมชาติพักผ่อนหย่อนใจ ตลอดจนเป็นศูนย์การประชุมและสัมมนาที่มีสิ่งอำนวยความสะดวก
อย่างสมบูรณ์แบบ พื้นที่ของสถานีวิจัยแห่งนี้ประกอบด้วยป่าดงดิบแล้งและป่าเต็งรังโดยป่าทั้งสองชนิดครอบคลุมเนื้อที่ประมาณร้อยละ 70 ของพื้นที่สถานีวิจัย
ทั้งหมดที่มีประมาณ 48,750 ไร่ และมีความสูงระหว่าง 280-762 เมตร จากน้ำทะเลปานกลาง

สถานีวิจัยแห่งนี้นับเป็นกำไรจากธรรมชาติอีกแหล่งหนึ่งที่มีคุณค่าประโยชน์มหาศาลแก่ชุมชนที่อยู่โดยรอบ อันได้แก่ ตำบลภูหลวง
อำเภอปักธงชัย ตำบลวังน้ำเขียวและตำบลอุดมทรัพย์ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา เนื่องจากเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์สัตว์
นานาชนิด อาทิ เก้ง หมูป่า ไก่ฟ้าพระยาลอ ไก่ป่า ไก่ฟ้าหลังเขียว พระยากระรอกสีดำ กวางป่า เป็นต้นนอกจากนี้ ยังเป็นสถานีวิจัย
ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยผักพื้นบ้านนานาพันธุ์อาทิผักกูด ผักหวาน กระถิน เห็ดนานาชนิด โดยเฉพาะเห็ดโคน เนื่องสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อม
สะแกราชมีจอมปลวกจำนวนมากอันเป็นแหล่งกำเนิดของเห็ดชนิดนี้ (ซึ่ง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
หรือ วว. กำลังทำการศึกษาวิจัยวงจรชีวิตของปลวกที่มีผลต่อการเกิดเห็ดโคน) นอกจากนั้นยังมีพืชยอดฮิตของผู้นิยมรับประทานทั้งหลาย ซึ่งก็คือสะตออีสานนั่นเ

อย่างไรก็ตาม ในการเก็บพืชพันธุ์ต่างๆ ของชุมชนโดยรอบสถานีวิจัยเพื่อการประทังชีวิต หรือแม้กระทั่งประกอบอาชีพอย่างเป็นล่ำเป็นสันนั้น เป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งขาดการปลูกทดแทน และในบางครั้งได้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่การทดลองด้านสิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยาป่าเขตร้อน ห้องปฏิบัติการธรรมชาติ อันเป็นความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของชุมชน จากมูลเหตุดังกล่าวจึงเป็นที่มาของโครงการรณรงค์ปลูกพืชท้องถิ่นกินได้
ของสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช โดยพืชนำร่องของโครงการ ก็คือ “ลูกดิ่งหรือสะตออีสาน”