ระบบการปลูกและการบำรุงรักษาสะตอ, สะตออีสานหรือลูกดิ่ง

  1. ระบบการปลูก
  2. เนื่องจากสะตอเป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดพื้นเพเดิมอยู่ในป่าดงดิบชื้น จึงต้องการความชื้นมาก
    เป็นพิเศษ แหล่งที่ปลูกสะตอจึงควรมีฝนตกอย่างน้อยปีละ 1,500 – 2,000 มิลลิลิตร สะตอจะขึ้นได้ดีในดินเหนียวปนทรายหรือดินร่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในป่าเปิดใหม่ หรือดินที่มีความชื้นสูงไม่ว่าจะเป็นที่ราบหรือที่เนินสะตอก็สามารถขึ้นได้ทั้งนั้น โดยสามารถขึ้นได้ดีในที่สูงถึง 2,000 ฟุต จากระดับน้ำทะเล อุณหภูมิ 20 – 30 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75 – 80%

    ดังนั้นในการเลือกพื้นที่ที่จะปลูกสะตอจะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสะตอเป็นสำคัญ คือลักษณะของดิน ปริมาณน้ำฝน และความชื้นในอากาศ นอกจากนี้จะต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ด้วยคือ พื้นที่ที่จะปลูกควรมีการคมนาคมที่สะดวก สามารถเคลื่อนย้ายผลผลิตได้รวดเร็ว และอยู่ใกล้กับแหล่งตลาดไม่ว่าตลาดจำหน่ายผลผลิตหรือตลาดที่จะติดต่อเพื่อซื้ออุปกรณ์หรือวัสดุทางเกษตร

    ระยะปลูก เนื่องจากสะตอเป็นพื้นที่มีลักษณะพุ่มกว้างพอสมควร ดังนั้นระยะปลูกที่เหมาะสมควรจะเป็น 10 x 10 เมตร หรือ 12 x 12 เมตร จำนวนต้นที่ปลูกประมาณ 16 หรือ 11 ต้น ต่อไร่ การปลูกนั้นเนื่องจากมีระยะปลูกที่ห่างมาก จึงสามารถปลูกพืชชนิดอื่นแซม หรือไม้บังร่ม ในลักษณะวนเกษตร ( Agroforesty ) โดยสะตอมีลักษณะเรือนยอดที่โปร่ง สามารถปลูกพืชที่ไม่ต้องการแสงมากภายใต้ร่มเงาได้ดี เช่น กาแฟ ( Coffee canephora ) กล้วย ( Musa sp. ) มังคุด ( Garcinia mangostana ) เงาะ ( Nephelium lappaceum ) และยังสามารถเจริญเติบโตพร้อมกับไม้ที่มีระดับความสูงของเรือนยอดใกล้เคียงกัน เช่น ขนุน ( Artocarpus heterophyllus ) ทุเรียน ( Durio zibethinus ) และมะพร้าว ( Cocos nucifera ) นอกจากนี้ยังสามารถปลูกสะตอโดยมีพืชแซมหลายชนิดอยู่ด้วยกัน เช่น การปลูกสะตอโดยมี ลองกอง ส้ม มะละกอ หรือ กล้วยเป็นพืชแซมไปพร้อม ๆ กัน

    หลุมปลูก ใช้ขนาด 1 x 1 x 1 เมตร ใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟตรองก้นหลุมๆ ละ 1 กระป๋องนม พร้อมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 1 บุ้งกี๋ คลุกเคล้าแล้วกลบหลุมให้เต็ม

    ฤดูปลูก ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝนคือประมาณเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน

    วิธีปลูก ใช้จอบขุดดินในหลุมให้กว้างลึกมีขนาดพอดีเท่ากับถุงที่ใช้เพาะต้นกล้า แล้วทำการปลูกใช้ไม้ปักแนบลำต้นผูกเชือกยึดกันลมโชก รดน้ำให้ชุมชื้น ทำร่มเงาให้โดยอาจใช้ทางมะพร้าวมามุงหลังคาบังแดดทิ้งไว้ประมาณ 1 ปี ( ทั้งต้นปลูกจากต้นเพาะเมล็ดและไว้สำหรับทำต้นตอ )

     

     

    รูปแบบของการปลูกสะตอพอจะแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

    1. การปลูกลักษณะผสมกับไม้หลายชนิด หรือลักษณะ Home Gardens

การปลูกลักษณะนี้เป็นการปลูกร่วมกับผลไม้ หรือพืชเกษตรอื่นๆ ในลักษณะ

สวนหลังบ้าน โดยจุดประสงค์หลักมุ่งเน้นทั้งผลผลิตไม้ผลหลายชนิดในเนื้อที่เดียวกัน เช่น มะพร้าว ทุเรียน มังคุด เงาะ ขนุน และกล้วย โดยสะตอจะเป็นไม้อยู่ในระดับเรือนยอดเด่น คือมีความสูงประมาณ 15 – 20 เมตร ดังลักษณะโครงสร้างการปลูกผสมไม้อื่น

1.2 การปลูกเพื่อผลผลิตทางธุรกิจโดยตรง

การปลูกสะตอในลักษณะพืชเศรษฐกิจแทนการปลูกเพื่อการบริโภคภายในครัว

เรือนเหมือนอย่างแต่ก่อน พื้นที่ปลูกสะตอจึงมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นแนวโน้มของการปลูกสะตอเพื่อ อุตสาหกรรม จึงมีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูง เนื่องจากตลาดมีความต้องการสะตอค่อนข้างสูงและลู่ทางการขยายการตลาดยังมีความเป็นไปได้มากทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ

การปลูกไม้สะตอในเชิงธุรกิจ ปลูกเป็นแถวใช้ระยะปลูก 10 x 10 หรือ 12 x 12 เมตร ในระหว่างแถวมีการปลูกพืชเกษตรทั้งในระยะสั้น เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง ด้วยระยะปลูกเดียวกันแทรกระหว่างแถวก็ได้

2. การบำรุงรักษา

หลังจากปลูกสะตอแล้วจะต้องทำการดูแลเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยเร่งการเจริญ

เติบโตของต้นพืช และให้ต้นพืชมีความสมบูรณ์สูง

การให้น้ำ รดน้ำให้ชุมชื่นเสมอ สะตอที่ปลูกใหม่ในปีแรก ควรให้น้ำวันเว้นวันในช่วง

หน้าแล้ง เมื่อ อายุ 2 – 3 ปี ควรใช้น้ำ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ในช่วงหน้าแล้งควรหาเศษพืชคลุมโคนเพื่อรักษาความชื้น สำหรับต้นสะตอที่ให้ผลแล้วระยะที่ต้องการน้ำมากคือช่วงระยะออกดอกถึงติดฝักจนเก็บเกี่ยวได้ ในช่วงฤดูฝนควรเตรียมร่องระบายน้ำด้วย

การพรวนดิน ควรทำตั้งแต่เริ่มปลูกต้นไป ปีละประมาณ 3 ครั้ง เพื่อช่วยกำจัดวัชพืช

และถ่ายเทอากาศในดิน หลังจากให้ผลแล้วควรทำการพรวนดินในช่วงก่อนออกดอก และหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว

การให้ปุ๋ยสะตอ แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ในช่วงระยะที่ต้นสะตอยังไม่ให้ผลผลิต ปุ๋ยที่ใช้

สำหรับใส่ให้ต้นสะตอในช่วงนี้คือ ปุ๋ยเคมีสูตร 16 – 20 – 0 โดยใส่อัตรา (กิโลกรัม) ครึ่งหนึ่งของอายุต้นสะตอ ใน 1 ปี ให้ใส่ 2 ครั้ง คือ พฤษภาคมและตุลาคม และควรใส่ปุ๋ยคอกลงไปด้วยประมาณ 1 – 2 บุ้งกี๋

ในช่วงระยะที่ต้นสะตอให้ฝักแล้ว ปุ๋ยที่จะใช้ใส่ในช่วงนี้คือปุ๋ยเคมีสูตร 12 – 24 –12 ใน

อัตราครึ่งหนึ่งของอายุต้นพืช ในแต่ละปีจะให้ปุ๋ย 2 ครั้ง โดยให้ช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝนแรกและในระหว่างใส่ปุ๋ยเคมีควรผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไปด้วย เมื่อสะตออายุ 5-6 ปี และต้นมีความสมบูรณ์ได้เต็มที่ก็จะให้ผลผลิต