สะตออีสาน (ลูกดิ่ง)…พืชท้องถิ่นที่มีคุณค่า (วิธีการปลูกและการบำรุงรักษา)

ลูกดิ่ง…เป็นพืชที่มีศักยภาพในเรื่องราคาและคนนิยมบริโภคมาก ซึ่งผลผลิตจากป่าที่ชาวบ้านเข้าไปเก็บและนำมาจำหน่ายในท้องตลาดนั้น ยังไม่พอเพียงต่อการบริโภคของคนทั่วไป ประกอบกับจำนวนต้นลูกดิ่ง
ภายในบริเวณป่าของสถานีวิจัย ก็มีเพียงจำนวนจำจัดและมีการขยายพันธุ์
ตามธรรมชาติค่อนข้างช้า เนื่องจากฝักของลูกดิ่งมักถูกชาวบ้านเก็บไปก่อน
ที่ฝักจะแก่ นอกจากการรณรงค์และส่งเสริมการปลูกลูกดิ่งแล้ว เราจะมีการ
ส่งเสริมการปลูกพืชท้องถิ่นชนิดอื่นๆ ตามมาอีกและจะมีการอบรมให้
ความรู้เกี่ยวกับการเพาะเห็ด แก่ชุมชนโดยรอบสถานีวิจัยด้วย..” หัวหน้าสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช…กล่าวถึงความสำคัญของ ลูกดิ่งหรือสะตออีสาน..และโครงการในอนาคต
ลูกดิ่งเป็นพืชในสกุลสะตอ รูปร่างลักษณะฝัก
เหมือนกับสะตอภาคใต้แต่
แตกต่างกันคือ ลูกดิ่ง
มีเมล็ดเรียงตัวตามความยาวของฝัก หรือตาม
แนวดิ่งจึงเรียกว่า ลูกดิ่ง ส่วนสะตอใต้ เมล็ดจะ
เรียงตัวขวางตามความยาวฝัก พืชสกุลสะตอ
จะพบขึ้นอยู่บริเวณเขตร้อนชื้นทั่วไป พบได้ที่ มาเลเซีย บูรไน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ พม่า เวียดนาม ไม้สกุลนี้มีอยู่ประมาณ 40 ชนิด แต่ในประเทศ
ไทยมีอยู่ 4ชนิดคือสะตอเหรียงลูกดิ่งและค้อนก้อง

*สะตอ (Pakia speciosa Hassk.)
ภาษาอังกฤษเรียกว่า Stink beam ชื่อพื้นเมือง
กะตอ สะตอ (ภาคกลาง, ใต้) ปะตา, ปัตเต๊าะ
(มาลายู ยาลา ปัตตานี) ปาไต (มาลายู สตูล
อินโดนีเซีย) พบทั่วไป ตั้งแต่ภาคใต้ มาเลเซีย
อินโดนีเซีย

*เหรียง (Pakia timoriana (D.C.) Merrill.)
ชื่อพื้นเมือง สะเหรียง (ภาคใต้) กะเหรี่ยง นะกิง นะริง (ภาคใต้) มีการกระจายตัวทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่อินเดียถึงนิวกินี ขึ้นตามชายป่าดิบชื้น ที่ระดับความสูง 100-600เมตรจากระดับน้ำทะเล

*ลูกดิ่ง (Pakia sumatrana Miq.)
ชื่อพื้นเมือง ค้อนกลอง (ขอนแก่น) มะขามเฒ่า
อีเฒ่า (ปราจีนบุรี) ชอบขึ้นอยู่บริเวณริมแม่น้ำ
ลำธาร ป่าดงดิบแล้ง ที่ระดับความสูง 100-900
เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นพืชท้องถิ่นของทาง
สุมาตรา บอร์เนียว มาเลเซีย และแถบอินโดจีน
ประเทศไทยพบที่ จ.นครราชสีมา สระบุรี
ปราจีนบุรีและจันทบุรี

*ค้อนก้อง (Pakia leiophylla Kurz.)
ชื่อพื้นเมือง สะตอป่า ค้อนก้อม ผีแปง (เชียงใหม่) สารค้อนก้อง สารเงิน สารผักหละ (ภาคเหนือ) พบกระจายจากอินเดีย พม่า ไทย ชอบขึ้นตามริมน้ำ
ป่าดงดิบชื้น ป่าเบญจพรรณผสม พบที่ระดับความสูง 6001,000เมตรจากระดับ
น้ำทะเลประเทศไทยพบที่จังหวัดเชียงใหม่แม่ฮ่องสอนและสตูล

พื้นที่ป่าดงดิบแล้งของสถานีวิจัยฯ ซึ่งมีประมาณ 29,260 ไร่ มีลูกดิ่งขึ้น
กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณริมน้ำ โดยจะออกผลประมาณ
เดือนมีนาคม-พฤษภาคมของทุกปีซึ่งลูกดิ่งเป็นพืชที่มีศักยภาพในเรื่องราคา
และคนนิยมบริโภคกันมากซึ่งผลผลิตจากป่าที่ชาวบ้านเข้าไปเก็บและนำมา
จำหน่ายในท้องตลาดนั้นยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคนอกจาก
ทางสถานีวิจัยฯจะส่งเสริมให้ปลูกลูกดิ่งด้วยการเพาะกล้าลูกดิ่งเพื่อนำไป
ส่งเสริมให้ชาวบ้านรอบๆสถานีวิจัยฯให้ปลูกลูกดิ่งให้มากขึ้นแล้วยังได้จัด
กิจกรรมร่วมกับชาวบ้านและโรงเรียนรอบๆสถานีวิจัยฯร่วมกันปลูกต้นลูกดิ่ง
ตามสถานที่สาธารณะต่างๆเช่นวัดโรงเรียนร้านค้าชุมชนที่สาธารณะตาม
หมู่บ้านเพื่อให้มีต้นลูกดิ่งซึ่งเป็นต้นไม้ที่ให้ร่มเงาและความร่มรื่นรวมทั้ง
สามารถเก็บฝักของลูกดิ่งเพื่อบริโภคและจำหน่ายอีกด้วย
ลูกดิ่ง 1 ต้น จะใช้เวลาในการปลูกประมาณ 5 ปี ก็จะสามารถเก็บ
ผลผลิตได้ 1 ต้น จะให้ผลผลิตประมาณ 450 กิโลกรัม ซึ่งใน
ปัจจุบันจะมีราคาจำหน่ายอยู่ที่ 20 บาท/กิโลกรัม
“นอกจากจะเป็นพืชที่มีอนาคตทางการค้าแล้ว สะตออีสานยังมีสรรพคุณทางยาที่น่าสนใจคือ ช่วยลดความดันในเลือด ลดเบาหวาน ช่วยให้ลำไส้บีบตัว ลดการตกตะกอน
ของเลือด เป็นยาระบายอ่อนๆ ฆ่าเชื้อราและแบคทีเรียในร่างกายได้ นับเป็นพืชที่มีคุณประโยชน์หลากหลาย ทั้งนี้ หากมีการปลูกกันแพร่หลายจะทำให้มีสะตอรับประทาน
กันทั้งปี และจะมีการใช้สารเคมีลดลง เนื่องจากการปลูกสะตอนั้นไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีในการบำรุงรักษาแต่อย่างใด ซึ่งจะทำให้สิ่งแวดล้อมโดยรวมปลอดภัยด้วย”
**ข้อมูลลูกดิ่ง สำหรับคุณกุลยา  สุวรรณรัตน์**
ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.สงขลานครินทร์